วัคซีนพื้นฐาน ตารางวัคซีน 2563 จาก กระทรวงสาธารณสุข กำหนดการให้วัคซีน 2020 เด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจึงถึงอายุ 12 (ชั้นป.6) ต้องได้รับวัคซีนตัวไหน กี่ครั้ง อย่างไรบ้าง พ่อแม่เช็กเลย
อัปเดต ตารางวัคซีน 2563 จาก กระทรวงสาธารณสุข
ลูกต้องฉีดตัวไหนบ้าง..เช็กเลย
วัคซีน (Vaccine) คือ สารที่มีคุณสมบัติบางประการเหมือนเชื้อโรค เมื่อวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจึงเกิดการตอบสนองต่อสารนั้นเหมือนตอนที่ร่างกายเราได้รับเชื้อ นั่นคือมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อนั้นๆ ขึ้นทำให้เมื่อถึงเวลารับเชื้อโรคจริงๆ ร่างกายก็จะหลั่งภูมิคุ้มกันออกมาได้รวดเร็ว วัคซีนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อของร่างกายได้เป็นอย่างดี
สำหรับ กำหนดการให้วัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ โดยทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกกำหนดการให้วัคซีน 2563 ซึ่งเน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันนี้ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วย วัคซีนพื้นฐาน 11 โรค ประกอบด้วย
- วัณโรค
- ตับอักเสบชนิดบี
- ไอกรน
- คอตีบ
- บาดทะยัก
- โปลีโอ
- ไข้สมองอักเสบเจอี
- หัด
- หัดเยอรมัน
- คางทูม
- มะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี
- วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อฮีโมฟิลุสอินฟลูเอ็นเช่ ทัยป์บี หรือฮิบ (Hib)
โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบบริการเพื่อให้เด็กทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนตามกำหนด ซึ่ง ตารางวัคซีน ปี 2020 ที่เป็น วัคซีนพื้นฐาน กระทรวงสาธารณสุข 2563 ตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้อัปเดตล่าสุดแล้ว พร้อมกำหนดการให้วัคซีนแก่เด็กที่มารับวัคซีนล่าช้า จะมีวัคซีนอะไรบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมมาบ้าง ไปเช็กกันเลย
คลิกที่นี่ >> เพื่อดาวน์โหลด ตารางวัคซีน 2563 กระทรวงสาธารณสุข pdf (ขนาดใหม่ไม่แตก)
หมายเหตุ
- วัคซีนทุกชนิดถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มให้ทันทีที่พบครั้งแรก
- วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัด ให้วัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันทีเมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
- กรณีการให้วัคซีนแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วน หรือล่าช้า เด็กจะได้รับวัคซีนตามกำหนดครบภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่องตามที่กำหนดในกำหนดการให้วัคซีนปกติ
สถานที่ขอรับวัคซีนเด็ก
การรับการฉีด วัคซีนพื้นฐาน 2563 คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกหลานไปรับได้ที่คลินิกเด็กทั่วไป เทศบาลในท้องถิ่นบางแห่ง และโรงพยาบาล ถึงแม้ว่าเด็กจะมีอาการน้ำมูกไหล หรือเป็นหวัดเล็กน้อยก็ยังสามารถรับวัคซีนได้ โดยผลข้างเคียงจากวัคซีนอาจมีบ้าง แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อยและใช้เวลาไม่นานก็จะหายไป หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือสอบถามแพทย์ผู้ให้บริการเพิ่มเติม
การปฏิบัติตัวสำหรับการรับวัคซีน
- ควรนำสมุดบันทึกวัคซีนมาด้วยทุกครั้ง
- ไม่ควรรับวัคซีนขณะที่มีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ยกเว้นเป็นหวัด ท้องเสียโดยไม่มีไข้สามารถรับ วัคซีนได้
- หลังรับวัคซีนควรอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อดูปฏิกิริยาแพ้ยา
- หากเคยฉีดยาแล้วมีอาการแพ้ยา แพ้อาหาร เช่น มีอาการแพ้ไข่แบบรุนแรง กรุณาแจ้งกุมารแพทย์หรือพยาบาล
อย่างไรก็ดีปัจจุบันการให้วัคซีนถือได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคติดเชื้อร้ายแรง เนื่องจากเป็นวัคซีนป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง วัคซีนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมป้องกัน กำจัด กวาดล้าง โรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและประสบผลสำเร็จอย่างสูงจึงนับได้ว่าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพและคุ้มทุนอย่างมากในการป้องกันควบคุมโรค
การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กอย่างมาก และเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ได้วิจัยมาเป็นอย่างดีแล้วว่า เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี ควรได้รับวัคซีนตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้จึงจะได้ผลสูงสุด ดังนั้น ถ้าเด็กไม่ได้ฉีดวัคซีนตามกำหนด อาจทำให้ลูกได้รับวัคซีนไม่ครบและเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงจนไม่อาจรักษาได้
ฉะนั้นผู้ปกครองจึงไม่ควรเลื่อนนัดแพทย์ หากไม่ติดเหตุจำเป็นสุดวิสัยจริงๆ นอกจากนี้ ผู้ปกครองอาจพิจารณาให้วัคซีนอื่นๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในโปรแกรมมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขด้วย เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า มะเร็งปากมดลูก ไข้นิวโมคอคคัส ไข้ฮิบ เป็นต้น
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก :
- หัดลามไม่หยุด!! รณรงค์ฉีด วัคซีนหัด ฟรีถึงมีนา 63 นี้
- ไขข้อสงสัย? ทำไมคุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกวัยรุ่นไปฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งจากไวรัส HPV
- วัคซีนผู้ใหญ่ ใครว่าไม่สำคัญ พ่อแม่ควรฉีดถ้าอยากอยู่กับลูกไปนานๆ
- วัคซีนพื้นฐาน 6 ชนิดที่ลูกน้อยต้องได้รับ
- เตือนแม่! ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีนผิดวิธี เสี่ยงติดเชื้อรุนแรง
- ลูกจำเป็นต้องรับวัคซีนเสริมหรือไม่?
- แม่เตือนแม่! วัคซีนเสริม สำคัญ ยอมเสียเพื่อแลกกับชีวิตลูก
ที่มา แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กองป้องกันโรคด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ddc.moph.go.th , https://www.honestdocs.co/vaccination-schedules-of-newly-born-and-children
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่