เด็กๆ มักจะมีคำถามมากมายพรั่งพรูออกมาไม่หยุด โดยเฉพาะในช่วงวัย 3-4 ขวบ บางคำถาม ก็เป็นคำถามง่าย แบบเด็กๆ บางคำถาม ก็ยากเกินจินตนาการผู้ใหญ่จะตามทัน และ บางคำถาม ก็หืมมม ตอบยากจัง เราจะมีวิธี “ตอบคำถามลูก” รับมือ “ลูกช่างถาม” ได้อย่างไร
บางครั้ง คำถามถูกยิงมาในเวลาที่เรากำลังยุ่ง มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ปะป๊าหม่ามี๊จะจัดการกับอารมณ์ แต่ช้าก่อน หากคุณพ่อคุณแม่คิดจะให้เขาหยุดถาม ด้วยการดุลูก หรือ หยุดการถามด้วยการอ้างว่ากำลังยุ่ง หรือ ทำอย่างไรก็ตามแต่ให้เขาหยุดถาม
ลองคิดดูดีๆ สักนิดนะฮะ …
การที่ ลูกช่างถาม เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ เด็กจะช่างสังเกต และได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากคำตอบของพ่อแม่ ยิ่งตั้งใจตอบ ยิ่งให้ความใส่ใจ ลูกก็สนุก เรียนรู้ได้เยอะ แล้วเด็กก็จะอยากเรียนรู้ อยากถามมากขึ้นไปอีก
“ลูกช่างถาม” รับมืออย่างไรดี
ลองนึกภาพสิครับ ว่าเด็กจะสนุกกับการเรียนรู้แบบไหนมากกว่ากัน
ระหว่างแบบแรก เป็นแบบที่คุณพ่อคุณแม่ ตอบให้จบและเสร็จๆ
หรือ
แบบที่สอง คุณพ่อคุณแม่ที่สนุกสนานไปด้วย ยิ้มแย้มกับทุกคำถาม พร้อมตอบพร้อมอธิบาย
คำตอบต้องเป็นแบบที่สอง แหงแซะ …
แม้กระทั่งคำถามที่เราตอบลูกไม่ได้ เราก็ควรบอกลูกว่าติดการบ้านไว้ แล้วปะป๊าหม่ามี๊จะกลับมาตอบ
ส่วนคำถามที่ตอบได้ ก็พยายามต่อยอดออกไป เช่น อาจจะวาดรูปด้วยกันตามจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องที่พูดคุย หรือ เพิ่มเติมศัพท์ภาษาอังกฤษเข้าไป หรือ ถ้าคุยภาษาอังกฤษอยู่แล้วก็เพิ่มเติมคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือตรงข้ามกัน พยายามทำให้การตอบคำถามลูก เป็นเรื่องสนุก เหมือนการเล่นเกมส์ แล้วเด็กจะอยากพูดคุยต่อยอด เพราะเด็กเรียนรู้ด้วยการเล่น ดังนั้นแม้การถามตอบความรู้หากเราทำให้เขาได้รู้สึกเหมือนเล่นเกมส์ การเรียนรู้จะไม่จบง่ายๆ
เมื่อเป็นเช่นนั้น และเราก็เชื่อเช่นนั้น เราจึงชอบพูดกับลูกว่า
‘นั่นเป็นคำถามที่ดี’ เวลาที่เขาตั้งคำถามดีๆ
และเราก็ยังชอบบอกลูกว่า
‘นั่นเป็นคำถามที่ดี’ เวลาที่เขาตั้งคำถามที่อาจจะดูไม่มีสาระอันใดสำหรับผู้ใหญ่
ยิ่งไปกว่านั้นเราชอบบอกลูกว่า
‘เราชอบที่เขาตั้งคำถาม เพราะเราจะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน’
แต่บางคำถาม ที่เราคิดว่าเขาน่าจะตอบได้ เราก็เลือกจะถามกลับว่า
‘แล้วคิดว่าอย่างไรล่ะ บอกปะป๊าหม่ามี๊หน่อยซิ’
ถ้าเราสนุกไปกับลูก ไม่ว่าคำถามจะเยอะแยะขนาดไหน
ก็จัดการให้สนุกไปด้วยกันได้สบายสบายฮะ
>>แวะไปดู รอยยิ้มหวานฉ่ำ ที่มีแจกฟรีทุกวันได้ที่เฟซบุ๊ค
หมุนรอบลูก – พี่ปูนปั้น กับ น้องปั้นแป้ง นะครับ<<
บทความน่าสนใจอื่นๆ
4 คาถาเลี้ยงลูกไม่ให้เป็น โรคซึมเศร้า
แชร์ประสบการณ์ ฝึกวินัยการกินให้ลูก กินข้าวตรงเวลา
“สุภาษิตสอนพ่อแม่” รับมือ ลูกต่อต้าน โดย พ่อเอก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่