[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 16] Play Date เพื่อนเล่น (ที่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ) ของลูกน้อย

อยู่ที่โน่นเลี้ยงลูกเอง ไม่มีพี่เลี้ยง แล้วไม่เหนื่อยแย่หรือ วันๆ อยู่บ้านทำอะไรกันบ้าง เป็นคำถามที่คุณแม่ฟูลไทม์ต่างถิ่นอย่างผู้เขียนต้องคอยตอบญาติสนิทมิตรสหายอยู่บ่อยๆ

สมดุลแห่งชีวิตในลูก “สมาธิสั้น”

ผมเป็นคนที่เชื่อในเรื่องความสมดุล ที่จริงสมดุลที่จะสร้างความสุขให้ครอบครัวนั้นมีหลายแบบ แต่แบบหนึ่งที่จะขอพูดถึงวันนี้คือสมดุลทางพัฒนาการของลูก

[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] ลงโทษลูกด้วยการ “ตี” ได้หรือไม่

ตั้งแต่ทำงานเป็นจิตแพทย์เด็กมา หนึ่งในคำถามที่คุณพ่อคุณแม่ถามกันมากที่สุด คงเป็นคำถามที่ว่า.. “เราจะลงโทษเด็กด้วยการตีได้หรือไม่”

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 15] College Savings (529) Plan ลูกได้เข้ามหาวิทยาลัย พ่อแม่ได้ลดหย่อนภาษี

ไม่ว่าจะเป็นการออมหรือลงทุนใดๆ ยิ่งเริ่มต้นไวเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น และการลงทุนทางการศึกษาสำหรับลูก ก็เป็นเรื่องใหญ่เป็นอันดับสองรองจากการซื้อบ้าน

[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] พ่อแม่อย่าเห็นลูก “ร้าย” เป็นเรื่องเล่นๆ จนกลายเป็น “ให้ท้าย” ลูก!

เราต้องระวังไม่ให้ “ความเอ็นดู” กลายเป็น “การให้ท้าย” พฤติกรรมร้าย ๆ ของเด็กไปโดยไม่ตั้งใจ เพราะพฤติกรรมเหล่านั้นอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตก็ได้

[Blogger พ่อเอก-60] ปูนปั้นกับเพื่อนบนกำแพง .. เปลี่ยนความกลัวเป็นโอกาสเรียนรู้

เราได้ยินเสมอๆที่กับประโยคที่คุณพ่อ คุณแม่ หรือ อาจจะเป็นปู่ย่าตายายที่มักใช้หลอกเจ้าตัวเล็ก (ถ้าใช้คำตรงๆ คงใช้คำว่า ขู่ น่าจะถูกต้องกว่า) ประมาณว่า ถ้าไม่ทำโน่นทำนี่แล้วจะมีตัวนั้นตัวนี้มาทำอะไรกับเจ้าตัวเล็ก เช่นถ้าไม่รีบนอนจะเรียกตุ๊กแกมากินตับ (เขาขู่กันอย่างนี้ใช่มั้ยฮะ) หรือ ถ้าไม่กินข้าวเดี๋ยวจะเรียกตำรวจมาจับไปเลยนะเป็นต้น สำหรับครอบครัวเราแล้ว เราพยายามหลีกเลี่ยงการขู่เด็กในลักษณะนี้ฮะ เพราะจะเป็นการสร้างให้เด็กเกิดความกลัวที่ผิดๆ เกิดมุมมองที่ผิดเข้าไปในความคิดยกตัวอย่างหนึ่งใกล้ๆตัวของครอบครัวเรา (และครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ที่แวะมาอ่านก็คงเจอเหมือนกัน) คือ เจ้าปูนปั้นเคยรู้สึกกลัวจิ้งจกโดยที่เราเองไม่รู้มาก่อน แล้วมีอยู่วันหนึ่ง หลังกลับมาจากโรงเรียนเจ้าปูนปั้นเห็นจิ้งจกเกาะอยู่เหนือประตูเข้าบ้าน จึงทำท่าจะไม่ยอมเข้าบ้าน บอกว่า “ปูนปั้นกลัวอะ” ต้องเรียกให้คุณยายมาพาเข้าบ้าน ปัญหาคือบ้านเราก็จิ้งจกเยอะเสียด้วย บางทีแปรงฟันอยู่ก็เจอจิ้งจกในห้องน้ำ เจ้าปูนปั้นก็จะทำท่าวิตกกังวลแล้วมีอยู่ช่วงหนึ่ง คุณยายก็เลยเผลอใช้จิ้งจกเป็นเครื่องมือในการจัดการเจ้าตัวป่วน เช่น ไม่ไปอาบน้ำเดี๋ยวจิ้งจกมานะ หรือ ไม่กินนมเดี๋ยวเอาจิ้งจกมาเลย เป็นต้น หม่าม๊าและปะป๊าก็รู้สึกว่าการจะปล่อยให้เขากลัวอะไร อย่างนี้ไม่น่าจะดี หม่าม๊าเลยเป็นคนบอกคุณยายว่าอย่าไปหลอกเจ้าปูนปั้นให้กลัวเรื่องพวกนี้ แล้วปะป๊า หม่าม๊า ก็สอนปูนปั้นให้รู้ว่า ‘จิ้งจกไม่ใช่สัตว์อันตรายอะไร จิ้งจกไม่ทำร้ายเรา และจิ้งจกก็มีประโยชน์ด้วย เพราะจิ้งจกจะมาคอยกินแมลงที่บินไปบินมา’ และเราก็อธิบายให้เขาฟังเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ปูนปั้นเจอเจ้าจิ้งจกและทำท่าไม่ค่อยจะถูกใจเท่าไหร่ สิ่งที่เปลี่ยนไปทั้งที่ใช้เวลาไม่นานคือ ‘เจ้าปูนปั้นเริ่มถามถึงจิ้งจกในวันที่ไม่เจอเจ้าจิ้งจก’ยกตัวอย่าง เวลาแปรงฟันก่อนเข้านอนเจ้าปูนปั้นก็จะถาม “ปะป๊า จิ้งจกไปไหน” เราก็จะบอกว่า “จิ้งจกเขาก็ต้องกลับบ้านเหมือนกัน […]

[Blogger พ่อเอก-59] คุณพ่อนักเล่ากับเจ้าปูนปั้นนักฝัน

ผมคิดไว้ตั้งแต่สมัยยังไม่มีแฟนเสียด้วยซ้ำ ว่าอยากเป็นคุณพ่อที่แต่งนิทานของตัวเองมาเล่าให้ลูกฟังทุกคืน ผมว่าช่วงเวลาที่เราได้เล่าเรื่องราวต่างๆ แล้วเห็นเจ้าตัวเล็กทำตาโต มองมาด้วยความทึ่งและสนุกสนาน มันเป็นความรู้สึกที่ดีมากทีเดียว แม้ตอนนี้ผมจะเป็นคุณพ่อของเจ้าปูนปั้นที่วัยใกล้ 3 ขวบและมีโอกาสได้เล่านิทานก่อนนอนให้ปูนปั้นฟังเสมอๆ แต่จนแล้วจนรอด ผมก็ยังไม่มีนิทานแต่งเองสักเรื่องมาเล่าให้เจ้าตัวป่วนฟัง มีคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนเป็นเหมือนผมมั้ยฮะ ที่อยากเป็นนักเล่านิทาน (แต่งเอง) ให้ลูกฟัง แม้ผมจะยังไม่มีนิทานแต่งเองให้ลูกฟังสักเรื่อง ผมก็มีทางออกให้ตัวเอง (และคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นๆที่อยากเป็นแบบผม) มานำเสนอฮะ เราไม่ต้องเล่านิทานแต่เราก็เป็นนักเล่าเรื่องได้ คำถามหนึ่งที่ผมมักจะถูกถามอยู่เสมอคือ “คาดหวังอะไรจากลูก เมื่อเขาโตขึ้น” ผมเคยตอบไปว่า “ผมไม่คาดหวังอะไรจากเขาเลย” ในการเสวนาครั้งหนึ่ง ท่านผู้ใหญ่ที่ร่วมเป็นแขกในงานนั้นก็เสริมขึ้นมาว่า “ไม่คาดหวังเลยก็คงไม่ดี เพราะความคาดหวัง ทำให้เราพยายามสอนลูกให้ดี แต่อย่าให้ความคาดหวังไปกดดันลูก อย่าเอาความฝันเราไปยัดเยียดให้ลูก” ผมยอมรับว่าคำแนะนำนั้นถูกต้อง เพราะจริงๆคำว่าไม่คาดหวัง คือ ผม ‘ไม่คาดหวัง’ ว่าเจ้าปูนปั้นจะต้องโตไปเป็นอะไร แต่ ‘ผมคาดหวัง’ให้ปูนปั้นได้ประกอบอาชีพที่เขาอยากทำ เพื่อที่ว่าเขาจะทำมันให้ได้ดี และเขาจะอยู่กับมันอย่างมีความสุข ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะเป็นคุณพ่อที่ทำหน้าที่เป็นผู้แนะแนวทางมากกว่ากำหนดเส้นทาง ซึ่งวิธีที่ดีวิธีหนึ่งก็คือ การเป็นคุณพ่อนักเล่าเรื่องอาชีพต่างๆ ให้ลูกฟัง (เข้าเรื่องจนได้ว่า ทำไมผมจึงได้เป็นนักเล่าอย่างใจหวัง) เวลาปูนปั้นไปพบเจอใครใหม่ๆ แทนที่เราจะเพียงแนะนำว่านั่นคือใคร ทำอาชีพอะไรแล้วจบ ซึ่งแค่นั้นปูนปั้นซึ่งยังตัวกะเปี๊ยกก็คงไม่เข้าใจหรอกว่า อาชีพซึ่งในวัยของปูนปั้นยังไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทำหน้าที่อะไร สถาปนิกคืออะไร ตำรวจคือใคร […]

[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] พ่อแม่อย่าหวังแค่ ‘แก้ปัญหาเฉพาะหน้า’!

คำสัญญา ของรางวัล และการติดสินบน พ่อแม่อย่าหวังแค่ ‘แก้ปัญหาเฉพาะหน้า’! วันก่อน หมอตรวจเคสเด็กผู้ชายคนนึงอายุ 4 ปี ค่ะ ตอนที่ตรวจเสร็จและคุณยายกำลังจะชวนเด็กออกนอกห้อง อยู่ๆเด็กคนนั้นก็ลุกขึ้นร้องโวยวายเป็นการใหญ่ว่า “จะเอาตังค์ จะเอาตังค์ที่หมอ!!!” หืมม….แปลกใช่มั้ยคะ หมอเองก็ตกใจมาก ที่อยู่ๆก็ถูกเด็กตัวเล็กๆขู่กรรโชกทรัพย์ (??) เอาแบบนี้ แต่พอถามถึงที่มาที่ไปถึงได้เข้าใจ ว่าที่แท้คุณยายไปให้สัญญากับเด็กไว้ ตอนที่เด็กเริ่มโยเยอยู่หน้าห้อง ไม่ยอมรอคิวตรวจ โดยบอกว่า “ถ้ายอมเป็นเด็กดี เดี๋ยวหมอจะให้เงินไปซื้อไอติม” แหม…สัญญาลอยๆแบบนี้ เด็กๆจำแม่นนักล่ะค่ะ แต่ถ้าเราให้สัญญาที่ไม่ได้ตั้งใจจะรักษากันบ่อยๆ นอกจากจะมีปัญหาเอาตอนที่เด็กทวงแล้ว จะกลายเป็นว่าคำพูดเราจะไม่ศักดิ์สิทธิ์นะคะ หมอเข้าใจค่ะว่าเรื่องแบบนี้มีกันบ่อยๆ และถ้าจะดูกันให้ลึกถึงสาเหตุของปัญหา เราจะเห็นว่า ที่มาของคำสัญญาเหล่านั้นมักมาจากความพยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อเด็กๆโยเยหรือทำพฤติกรรมไม่น่ารักนั่นเองค่ะ ซึ่งความร้อนใจที่จะเอาของมาล่อ มา “ติดสินบน” เด็กให้หยุดโยเยตอนที่ปัญหามันเกิดขึ้นแล้วนั้น จะเปิดช่องให้เด็กเอาพฤติกรรมไม่ดีมาต่อรองกับเรา.. กลายเป็นว่าเราจะต้องยอมเสนอโน่นนี่จนกว่าเด็กจะพอใจ เรียกว่าสถานการณ์เป็นรองเด็กไปโดยปริยาย แต่ความจริงเรื่องนี้ป้องกันได้นะคะ แค่ต้องอาศัยการวางแผน และมองให้ไกลกว่าเด็กหนึ่งก้าวเสมอค่ะ เช่น ตื่นเช้ามาเราก็นึกไว้ก่อนเลยว่า เดี๋ยวจะต้องไปทำอะไร แล้วเจ้าตัวเล็กอาจจะก่อเรื่องอะไรได้บ้าง จากนั้นก็นั่งคุยกับเขาก่อนเพื่อสร้างข้อตกลงกันไว้ (“วันนี้แม่จะพาหนูไปซื้อของ แม่อยากให้หนูคอยเดินอยู่ข้างๆ คอยเป็นผู้ช่วย ไม่วิ่งออกห่างจากแม่และไม่ส่งเสียงดังรบกวนคนอื่น.. […]

[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] จะชมลูกทั้งทีต้องมี ‘เทคนิค’ ชมยังไงให้เขามีแรงใจทำเรื่องดีๆ ยิ่งขึ้น!?

  คราวก่อนหมอเล่าถึงการใช้คำชมเพื่อช่วยเสริมพฤติกรรมดีๆให้กับเด็ก มาวันนี้หมอก็คิดว่าจะขอลงรายละเอียดอีกซักหน่อย เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ใช้เทคนิคการชมอย่างถูกวิธีค่ะ เพราะการให้คำชมนี่ก็มีเทคนิคการใช้และข้อควรระวังที่น่าสนใจมากนะคะ หลักการง่ายๆของการให้คำชมก็คือ ชมไปตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงของเด็ก ด้วยความจริงใจของคนชมค่ะ นั่นคือถ้าเรา เห็นเด็กทำเรื่องดีๆอะไร เห็นเด็กมีข้อดีอะไร แล้วเรารู้สึกยังไง เราก็อธิบายไปให้ชัดเจนตามนั้นเลยค่ะ เช่น “น้องดรีมช่วยแม่ถือของด้วย มีน้ำใจจังค่ะ แม่ดีใจจัง” สังเกตดูนะคะ..  เราจะระบุชัดเลยว่า   เราชมเรื่องอะไร — (พฤติกรรมดีๆคือ “ช่วยแม่ถือของ”) เราเห็นเด็กมีข้อดีอะไร – (ข้อดีของเด็กคือ “มีน้ำใจ”) แถมท้ายด้วย         คนชมรู้สึกยังไง – (ความรู้สึกของคนชมคือ “ดีใจ”)   การชมแบบมีรายละเอียดแบบนี้ เราจะเป็นเหมือนกระจก สะท้อนภาพดีๆของเด็กให้เขาเห็น ให้เขารู้ว่าสิ่งดีที่เขาทำมีคนมองเห็นและชื่นชม เพื่อให้เขาเกิดความภูมิใจในตนเองและมีกำลังใจทำเรื่องดีๆต่อไปค่ะ จะเห็นได้ว่าการชมแบบมีรายละเอียดนี้จะต่างกันมากนะคะกับคำชมประเภทที่ชมไปลอยๆ หรือคำชมที่โอเว่อร์เกินจริง อย่าง “เก่งที่สุดเลย ดีที่หนึ่งเลย” เพราะการให้คำชมกว้างๆ นี้ ถ้าใช้บ่อยเกินไป ก็สร้างผลข้างเคียงได้หลายอย่างค่ะ เช่น เด็กเล็กๆก็อาจจะหลงไปกับคำชม เด็กที่โตหน่อยก็อาจจะไม่รู้สึกดี มองว่าเราพูดเกินจริง หรือดีไม่ดีก็อาจจะไปสร้างแรงกดดันให้เด็กโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ค่ะ คำชมแบบมีรายละเอียดที่หมอแนะนำ ถ้าฝึกบ่อยๆจะรู้ว่าใช้ไม่ยากค่ะ […]

[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] ตำหนินิสัยไม่น่ารักของลูก..ไม่ช่วยอะไร ‘คำชม’ ต่างหาก เปลี่ยนลูกอยู่หมัด!

หลายๆครั้งที่หมอพูดคุยกับคุณผู้ปกครอง หมอจะพบว่าหลายท่านมีความเข้าใจผิดว่า.. การแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็ก คือการคิดหาวิธีลงโทษเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พอเวลาเด็กเกิดปัญหาพฤติกรรมขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับการจับจุดที่เด็กทำผิดเพื่อคอยตักเตือนและลงโทษ แต่ความจริงแล้วการปรับพฤติกรรมเด็กประกอบด้วย 2 องค์ประกอบใหญ่ๆค่ะ นอกจาก การปรับลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา แล้ว อีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญพอๆกัน ก็คือ การส่งเสริมเพื่อเพิ่มพฤติกรรมดีๆของเด็ก เช่นการให้คำชม และให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดีของเด็กค่ะ หมอพูดแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะงงนะคะ ว่าการชมจะช่วยแก้ปัญหาพฤติกรรมของเด็กได้อย่างไร.. แต่หมอยืนยันค่ะว่าทำได้จริงๆ เพราะหลายๆครั้ง การให้คำชมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความสุขกับการทำดี จะไปป้องกันการเกิดพฤติกรรมแย่ๆที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกันได้อัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องไปเสียเวลารบกับเด็กให้มากความค่ะ เช่น เวลาที่เด็กทำท่าหวงของอยู่นานแต่สุดท้ายก็ยอมแบ่งของบางอย่างให้น้อง แทนที่เราจะตำหนิเด็กที่อิดออด แต่เปลี่ยนเป็นให้คำชมความมีน้ำใจของเขาแทน เมื่อเด็กรู้สึกดีที่ได้เป็นคนมีน้ำใจและแบ่งปัน ก็จะลดพฤติกรรมหวงของ (ซึ่งเป็นพฤติกรรมตรงข้ามกับการแบ่งปัน) ไปได้เองค่ะ เพราะข้อสำคัญที่หมออยากฝากก็คือ เด็กทุกคนมีพฤติกรรมดีและไม่ดีปะปนสลับกันไป ฉะนั้นแล้วจากเดิมที่เราอาจจะเผลอมองแต่ส่วนที่เขายังทำไม่ดีเพื่อคอยตักเตือน จากนี้ไป เราอย่าลืมจับจุดพฤติกรรมดีๆของเด็กเพื่อคอยบอกให้เขารู้ว่าเรามองเห็นและอยากส่งเสริมให้เขาทำต่อไปด้วยนะคะ เพราะการปรับพฤติกรรมที่ได้ผลจะต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งสองส่วนให้มีความสมดุลกันค่ะ     เรื่องโดย : พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พหลพลพยุหเสนา ภาพ : ShutterStock    

Kidchen ครัวตัวจิ๋ว โดย คุณแม่อุ้ม สิริยากร พุกกะเวส (สูตรที่ 3) Oishii Kare Raisu ข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นแสนอร่อย

ลองถามเด็กญี่ปุ่นว่าชอบอาหารจานไหนมากที่สุด รับรองว่าต้องได้ยินชื่อ “คาเหระ ไรสึ!” มากเป็นอันดับต้นๆ เป็นแน่ค่ะ คงเพราะความเข้มข้นนุ่มนวลของน้ำซอส และรสชาติกลมกล่อมหวานอร่อย ที่ทำให้ข้าวหน้าแกงกะหรี่แบบญี่ปุ่น (Japanese Curry Rice) ถูกใจเด็กๆ นัก และไม่ใช่แต่เฉพาะเด็กญี่ปุ่นเท่านั้นนะคะ เด็กไทยหรือเด็กชาติไหนๆ พอได้ ลองชิมก็เป็นอันต้องติดใจขอหม่ำจนเกลี้ยงจาน ยิ่งถ้าเสิร์ฟกับหมูทอดหรือปลาชุบขนมปังทอด ยิ่งเพิ่มคุณค่าและความ อร่อยให้เจ้าตัวน้อยต้องร้อง “โออิชิ… อร่อยจังเล้ย!” ให้คุณพ่อคุณแม่ได้อมยิ้มกันเป็นแถวเลยล่ะค่ะ ส่วนผสม หอมใหญ่สับละเอียด 1 หัว มันฝรั่งปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นๆ* 2-3 หัว แครอทปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นๆ 2-3 หัว เนื้อหมูหรือไก่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ½-1 กก. น้ำเปล่า 4 ถ้วย แอ๊ปเปิ้ลปอกเปลือก 1 ลูก น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 2 ช้อนชา ซุปแกงกะหรี่ญี่ปุ่นแบบก้อน 1-2 ก้อน (200 กรัม) ซีอิ๊วญี่ปุ่น […]

[Blogger พ่อเอก-58] เกร็ดดี จากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก

เกร็ดดี จากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก             ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสขึ้นเวทีเสวนาเรื่องการเลี้ยงลูกคู่กับคุณหมอจิราภรณ์ อรุณากูร (หรือหมอโอ๋เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน) และคุณหมอธีรชัย บุญยะลีพรรณ ส่วนผมไปในฐานะคุณพ่อรุ่นใหม่ที่เลี้ยงลูกด้วยความเข้าใจ จึงได้มีโอกาสสนทนาเรื่องลูก กับคุณหมอทั้ง 2 ท่าน ซึ่งก็ได้ให้เคล็ดลับดีๆ ที่น่าสนใจในการเลี้ยงลูก ที่น่าสนุก และอยากเอามาแบ่งปันให้อ่านกันฮะ ความสม่ำเสมอ คุณหมอธี แนะนำว่า การสอนอะไรขอให้ทำให้สม่ำเสมอ ไม่ใช่อารมณ์ดีสอนอย่างหนึ่ง อารมณ์เสียสอนอย่างหนึ่ง เด็กจะไม่รู้ว่าที่ถูกคืออะไร นอกจากนั้นต้องตกลงกันให้ดีระหว่างพ่อและแม่ด้วย เช่น การรื้อกระเป๋า หากคุณแม่ดุ แต่คุณพ่อไม่ดุ เด็กจะเรียนรู้ว่าต่อหน้าคุณพ่อรื้อได้ แต่ถ้าคุณแม่อยู่ห้ามรื้อ ดังนั้นเด็กไม่ได้เรียนรู้ว่าการรื้อกระเป๋าไม่ดี ซึ่งหากไปรื้อกระเป๋าคุณครูที่โรงเรียนอาจจะกลายเป็นขโมยไป การให้รางวัลต่างกับการให้สินบน เด็กๆ ต้องการคำชมเมื่อเขาทำในสิ่งที่ดีดังนั้นถ้าเด็กทำดีต้องให้รางวัล ซึ่งก็คือคำชม เช่น ถ้าเจ้าตัวเล็กทานข้าวเอง ก็ให้ชมเชยเขาด้วย ถือเป็นการให้รางวัล แต่ในอีกกรณีถ้าเจ้าตัวลงไปนอนดิ้นกลางห้างสรรพสินค้าแล้วเราบอกว่าหยุดดิ้นเดี๋ยวซื้อของเล่นให้ ในกรณีหลังเข้าข่ายให้สินบนนะฮะ ซึ่งเจ้าตัวเล็กเรียนรู้เร็วซะด้วยนะ ตีลูกได้เฉพาะเวลาฉุกเฉินเท่านั้น เด็กกำลังเล่นปลั๊กไฟอาจจะรีบตีมือจะมามัวพูดดีๆ คงไม่ทัน และคุณหมอไม่ได้มองว่าการตีเป็นสิ่งที่ผิด (ตรงนี้ปะป๊าเอกเสริมคุณหมอว่าผมก็ตีนะฮะ แต่ไม่ได้ตีให้เจ็บ แต่ตีด้วยความเมตตา ตีเชิงสัญลักษณ์ให้รู้ว่าถูกตำหนิ) คุณหมอเสริมว่า เพราะหลายๆ […]

[Blogger – พลอย ชิดจันทร์] ตอนที่ 5 พลอยเลี้ยงลูกให้พี่น้องรักกันก่อนอย่างอื่น

ตอนนี้ “ทาชิโน่” 5 ขวบ “ชิลี่” 3 ขวบ “‘ชีต้าร์'” 2 ขวบ และ “‘ชิลิน'” เพิ่ง 5 เดือน (คนสุดท้องเกิดเดือนมีนาคม 2558) พลอยมีความสุขที่ได้เห็นลูกๆเล่นกันสนุก พี่น้องรักกัน อยากเก็บเวลาแบบนี้ไปนานๆ

[Blogger พลอย ชิดจันทร์] ตอนที่ 4 เป็นแม่ลูก 4 ทำไมยังหุ่นดี

ชีวิตเราจะมีความสุขมากขึ้น เพราะจริงๆแล้วผู้หญิงหยุดสวยไม่ได้หรอกค่ะ

[Blogger-ซาร่า คาซิงกินี] ตอนที่ 6 ถ้าในอนาคตลูกถามถึงพ่อของเขา

ตอนที่ 6 “ถ้าในอนาคตลูกถามถึงพ่อของเขา..”             มีหลายสื่อถามซาร่าเกี่ยวกับพ่อของลูก และคำถามหนึ่งที่ซาร่าต้องตอบกับแม็กซ์เวลล์เมื่อเขาเติบโตก็คือ “พ่อของเขาเป็นใคร?” ซาร่าเป็นคนที่ใช้ชีวิตบนพื้นฐานอยู่กับปัจจุบันและความเป็นจริงค่ะ เราต้องอยู่กับความเป็นจริง ตอนนี้แม็กซ์เวลล์ยังเล็กเกินกว่าจะเข้าใจ ซึ่งถ้าลูกเกิดถามคำถามนี้ในเร็วๆ นี้ ซาร่าก็จะอธิบายให้เขาเข้าใจแบบค่อยเป็นค่อยไปตามวัยของเขาที่เขาควรรู้ แล้วเมื่อวันหนึ่เขาโตขึ้นพร้อมที่จะเข้าใจ แม้ในบางครั้งความจริงจะเป็นสิ่งเจ็บปวด ซาร่าเชื่อว่าแม็กซ์เวลล์รับได้แน่นอนค่ะ เพราะซาร่าได้ชดเชยทุกสิ่งทุกอย่างให้เขา เป็นทั้งพ่อและแม่           ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราจะมีกันและกัน เขาจะไม่รู้สึกว่าเขาขาดแน่นอน    

[Blogger พลอย ชิดจันทร์] ตอนที่ 3 พลอยกับสามีแบ่งหน้าที่ดูแลลูกกันอย่างไร

ตอนนี้เราทั้งคู่ต่างทำงานค่ะ เเต่ทำงานอยู่ที่บ้าน ซึ่งน่าจะเป็นข้อได้เปรียบที่โชคดีมากๆ เราจะพยายามหาเวลาอยู่กับลูกให้มากที่สุด

[Blogger-ซาร่า คาซิงกินี] ตอนที่ 5 – 4 ข้อคิดดีๆ เพื่อเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว

“4 ข้อคิดดีๆ เพื่อเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว”   วันนี้ซาร่ามีข้อคิดสั้นๆ เพื่อเป็นข้อคิดดีๆ เป็นแบบอย่างให้กับคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวทุกคนค่ะ คุณไม่ได้เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวคนเดียวบนโลก ในสังคมก็ยังมีพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวคนอื่นๆ ที่เลี้ยงลูกคนเดียวเหมือนคุณ เป็นเรื่องธรรมดาที่ชีวิตจะมีผิดหวัง หรือสมหวังบ้าง คุณไม่ได้เป็นคนที่โชคร้ายที่สุดในโลกนะคะ ลูกไม่ใช่ปัญหา แต่ลูกคือความสุข ถ้าคุณตั้งต้นว่าลูกคือปัญหา ไม่ว่าลูกจะทำอะรก็จะผิดในสายตาคุณไปเสียหมด ให้คิดใหม่ว่าลูกคือของขวัญของคุณ แล้วคุณจะรู้ว่ามีหลายอย่างที่เป็นความสุขระหว่างวันสำหรับคุณ มองหน้าลูกให้บ่อยๆ ในแต่ละวันพัฒนาการของเด็กเติบโตไปอย่างรวดเร็ว ลูกอาจจะทำอะไรทะเล้นๆ น่ารัก ให้คุณได้ชื่นใจ แค่เขายิ้ม คุณก็จะมีความสุขหายท้อแท้แล้วค่ะ คุณไม่ได้อยู่คนเดียว คุณเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของลูก ในสายตาของลูก คุณคือทุกสิ่งทุกอย่างของเขา ไม่ว่าคุณจะดุ หรือแสดงความรัก ลูกจะนึกถึงแต่คุณ เขามีเราเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง   เมื่อไหร่ที่เราท้อแท้คิดถึงหน้าลูกเข้าไว้ค่ะ กำลังใจมาเต็มเลยค่ะ ถึงเราจะไม่ได้มีอีกฝ่ายที่ช่วยเหลือเรา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราตัวคนเดียว เรายังมีลูกตัวน้อยๆ ที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเรา และมีเราเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเขาด้วยค่ะ

[Blogger พลอย ชิดจันทร์] ตอนที่ 2 ดูแลลูกทุกคนอย่างไรให้รักกัน

ลูกทั้ง 4 คนเลี้ยงเหมือนกัน เเต่กับลูกคนต่อๆมาจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าลูกคนแรก เพราะเริ่มมีประสบการณ์ ความเครียดและความกังวลลดลง

keyboard_arrow_up