8.ฟังเพลงกับลูกอย่างไรให้สร้างสรรค์
- เล่นทายชื่อเพลง เพลงอะไรต่อจากเพลงนี้
o เอ๊ เพลงแมงมุมลายร้องยังไงน๊า (ให้เด็กร้องเป็นทำนอง ถ้าเด็กไม่รู้ชื่อเพลง แม่ต้องหัด ร้องทำนอง เล่นๆให้เด็กสนุกด้วย)
o นี่ไงเพลงช้างๆ คุณแม่ชอบ (แกล้งพูดผิดชื่อ เพื่อฝึกหัดให้ลูกโต้แย้ง)
o ถามลูกว่าอยากฟังเพลงอะไร แล้วแกล้งทำผิด ทำเป็นงง ฝึกการสื่อสารโต้ตอบกลับไป มาให้ได้นานขึ้น
- แข่งกันฮัมเพลง ร้องเพลง แข่งกันทำเสียงดัง เสียงเบา ทำเสียงเลียนแบบ เช่น เสียงแมว เสียง นกร้อง เสียงแตรรถ
- การฝึกหัดฟังเพลงหลากหลายรูปแบบ เป็นการฝึกฟังเสียงที่มีโทน ความถี่แตกต่างกัน ช่วยฝึก ประสาทสัมผัสการฟัง การประมวลความแตกต่างของเสียง เช่น เพลงไทยเดิม เพลงลูกทุ่ง (ที่มี เนื้อหาเหมาะสมกับเด็ก) เพลง Jazz เพลงบรรเลง เพลงเสียงธรรมชาติ หัวเราะ เสียงเพลง และให้อารมณ์ที่หลากหลาย ทั้งสนุก ตื่นเต้น แข่งขัน เด็กๆชอบ มาก)
- คุณอาจหยุดเทป เพื่อถามคำถาม จะเกิดอะไรขึ้นถ้า เช่น ถ้าเจ้าชายไม่มาช่วย จะเป็นยังไงเนี่ย ถามความคิดของเด็ก ให้หัดคิด หัดคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า
9.เกมไปจ่ายตลาด
วิธีเล่นเกมนี้คือสมมติว่าเราไปจ่ายตลาด ไปซื้อของที่ขึ้นต้นด้วยตัว พ ให้ลูกทายว่าเป็นอะไร เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า เป็นต้น เกมนี้ช่วยฝึกสมองด้านภาษา การทบทวนข้อมูลการจากไปสถานที่ๆคุ้นเคย และการสังเกต
หากติดดินสอสี นิทานสนุกๆ กระดาษแข็งๆ โทรศัพท์เก่าๆ ที่ตีไข่ กระดาษแม่เหล็ก และของเล่นที่ฝึกการพัฒนากล้ามเนื้อมือ เช่น แป้งปั้น ดินน้ำมัน ไว้ข้างหลังเบาะรถก็จะช่วยให้ลูกมีกิจกรรมไว้เล่นในรถได้อย่างไม่รู้จักเบื่อ ที่สำคัญอย่าลืมให้ลูกคาดเข็มขัดนิรภัยหรือนั่งในคาร์ซีท(car seat) เพื่อความปลอดภัยของลูกรักด้วยนะคะ
10.เด็กที่ยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนหรือเพิ่งเริ่มมีภาษา
- เปลี่ยนกิจกรรมที่เด็กทำอยู่ให้เป็นการทำด้วยกัน กิจกรรมอะไรก็ได้ที่เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ทุกอย่างถือเป็นสิ่งดีทั้งนั้น ถ้าลูกชอบมองออกไปนอกรถ ทำตามลูก ชี้ชวนกันดูสิ่งต่างๆที่มองเห็นข้างนอก หรือทำเป็นเอามือไปขวางกระจกไม่ให้ดู เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์
- ในเด็กที่ยังไม่มีภาษา เตรียมของเล่นที่เด็กชอบ เช่น ของเล่นกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายๆชิ้น ใส่ถุง ให้เด็กเลือก เอาอันไหน อันนี้ดีกว่า แกลัง ตื้อ ยื้อ แกล้งงง หยิบผิดหยิบถูก
- เด็กที่ชอบเส้นทางเดิมๆและมักร้องโวยวาย ถ้าเปลี่ยนเส้นทาง เด็กกลุ่มนี้มักจะมีความสามารถ ทางสายตาดีมาก อาจเล่นเกมที่เกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ชี้ให้ดูป้ายรถที่แตกต่างกัน ชี้ให้ดู สัญญาณไฟจราจร
ข้อแนะนำ
เด็กที่มีปัญหาการประมวลข้อมูลได้ไม่ดี เด็กอาจจะไม่สามารถ สังเกตตอบคำถามหรือทำสิ่งที่ ซับซ้อนได้ทันที่ แต่ ถ้าทำบ่อยๆ ฝึกการสังเกต ตั้งคำถามให้เด็กชวนสงสัย และพูดถึง ประสบการณ์ต่างๆบ่อยๆ ทุกวันทุกวัน (อย่างสร้างสรรค์ สนุกสนานและไม่น่าเบื่อ) เด็กจะ ค่อยๆเรียนรู้และซึมซับไปเอง วันหนึ่งคุณจะแปลกใจที่เห็นลูกทำได้
การเลือกเล่นเกม ถามคำถาม ใช้ตัวอย่างที่เด็กรู้จักดี (สิ่งของ สถานที่ หรือคน) หรือเคยมี ประสบการณ์มาก่อน ใส่อารมณ์ความรู้สึกลงไปในเกมนั้นๆ
สิ่งทีสำคัญที่สุด คือ ความรู้สึกสนุก ชอบและ ดีใจที่ได้อยู่กับลูกเล่นกับลูก สามารถมีปฏิสัมพันธ์ และส่งเสริมพัฒนาการลูกได้ในทุกอารมณ์ ทุกโอกาสและทุกสถานการณ์
ข้อมูลอ้างอิง : www.manager.co.th
คลินิคพัฒนาการเด็ก : สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
www. floortimerepository.com
Greenspan, S. Wieder, S. 2006. Engaging Autism. United States of America: DA Capo Press.
พุทธิตา. 2550. บูรณาการเพื่อลูกออทิสติก. กรุงเทพฯ: แฮปปี้ แฟมิลี่.