หมอแนะ! วิธีชมลูก ไม่มากไป และเหมาะสมกับวัย - amarinbabyandkids

ชมลูกอย่างไรให้ถูกวิธี?

Alternative Textaccount_circle
event

วิธีชมลูก เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่พ่อแม่ต้องเรียนรู้ ชมอย่างไรให้เหมาะสม ไม่ให้น้อยจนรู้สึกขาด ไม่ให้มากจนเกินพอดี ทั้งนี้การชมลูกมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างสำหรับแต่ละช่วงวัยด้วย เพราะทุกคำพูดของพ่อแม่มีผลต่อความรู้สึกของลูก รวมถึงการไม่พูดไม่ชมก็มีผลด้วยกันทั้งนั้น

Amarin Baby & Kids จึงขอหยิบยกบทความ ที่เขียนโดย พ.ญ.สาริณี จุฬาลักษณ์ศิริบุญ เจ้าของเพจเฟสบุ๊คชื่อดัง Dad Mom and Kids มาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ คุณหมอเขียนไว้ดีมากๆ

เพราะคนไทยสมัยโบราณไม่ชมเด็ก โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน พวกเขาคิดว่าชมมาก เดี๋ยวเด็กเหลิง ทุกวันนี้คนจีนในประเทศจีนก็ยังยึดถือคตินี้กันอยู่

คนไทยปัจจุบันชมลูกมากขึ้นมาก เลียนแบบชาวตะวันตก พวกเขามีงานวิจัยออกมามากมายว่า “ชมดีกว่าไม่ชม”

งานวิจัยบอกว่าการชมทำให้เด็กรู้สึกดีกับตัวเอง มั่นใจในตัวเอง กล้าหาญ กล้าลองสิ่งใหม่ๆ

แต่ในชีวิตจริงกลับพบว่า เด็กที่ได้รับคำชมบางคนก็มีปัญหา

1. ถ้าไปอยู่ในที่ที่ไม่มีใครชม จะรู้สึกแย่ และไม่มั่นใจเลย

2. รู้สึกสงสัยในคำชมว่าตัวฉันดีอย่างนั้นจริงหรือ

3. คิดว่าที่คนอื่นชม เพราะต้องการอะไรบางอย่างจากตัวเขา ไม่ใช่คำชมที่จริงใจหรอก

ใครที่มีประสบการณ์ตรงว่าลูกเรามีปัญหาอย่างนี้ คงไม่ค่อยประทับใจกับการชมสักเท่าไหร่

วิธีชมลูก

หมออยากให้ความรู้ที่ถูกต้อง 2 เรื่องก่อน

1. ในเด็กเล็กถึงวัยอนุบาล ให้พ่อแม่ชมลูกให้มากที่สุด ไม่ต้องกลัวว่าจะเยอะเกิน ไม่ต้องกลัวอันตรายจากการชมลูกแต่อย่างใด

2. ในวัยประถมขึ้นไป คำชมที่ “มีคุณภาพ” สำคัญกว่า “ปริมาณ” คำชม

แล้วอย่างไรคือ วิธีชมลูก ที่ถูกต้อง เหมาะสม

1. ต้องเป็นคำชมที่ “จริงใจ” และ “เจาะจง”

เด็กที่รู้เรื่องพอสมควรแล้วจะเริ่มไม่แน่ใจว่าพ่อแม่ชมเขาอย่างจริงใจหรือเปล่า ถ้าพ่อแม่ชม “บ่อยไป” และชมเรื่อยเปื่อย ไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับอะไรสักอย่าง รวมถึงคำชมที่ “เว่อร์เกิน”

ขอให้หลีกเลี่ยงการชมลักษณะนี้ ถ้าคิดอะไรไม่ออกจริงๆ ไม่พูดอะไรเลยเสียยังจะดีกว่า

2. ชมสิ่งที่ “พยายามทำให้ดีขึ้นได้” ดีกว่าการชมสิ่งที่ติดตัวเด็กมา และ “เปลี่ยนแปลงไม่ได้”

เช่น ชมว่าลูก “ขยัน” ฝึกซ้อมร้องเพลง และมีความ “มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ” ทำให้ลูกร้องเพลงเก่งขึ้นอย่างมากจริงๆ ดีกว่าการชมลูกว่า เสียงของลูกไพเราะอย่างกับเสียงนางฟ้า เสียงสวรรค์

คำชมอย่างหลังไม่ทำให้ลูกรู้สึกดีได้เต็มที่ และกลับจะกลัวว่าถ้าวันหนึ่งเสียงของเขาเป็นอะไรไป คงไม่มีใครชื่นชมเขาอีกแล้ว

อ่านต่อ >> “วิธีชมลูกที่ถูกต้องเหมาะสม” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up