ลูกจะรู้สึกอย่างไร? เมื่อพ่อแม่ เปรียบเทียบลูก กับคนอื่น - amarinbabyandkids

ลูกจะรู้สึกอย่างไร เมื่อพ่อแม่เปรียบเทียบกับลูกคนอื่น?

Alternative Textaccount_circle
event

บางทีคุณพ่อคุณแม่อย่างเราก็เผลอพูดคำแสลงใจเด็กไปบ้าง โดยลืมคิดไปว่าลูกจะรู้สึกอย่างไร เมื่อได้ยินคำพูดเปรียบเทียบเขา กับเด็กคนอื่น แม้ว่าเราจะทำไปด้วยความปรารถนาดี แต่มาดูกันว่า คำพูด “ เปรียบเทียบลูก ” ส่งผลอะไรกับเด็กบ้าง?

เปรียบเทียบลูก รู้หรือไม่? พ่อแม่รู้สึกอะไรอยู่ ในขณะที่พูด

ตัวอย่างคำเปรียบเทียบ ที่มักหลุดปากพูดกับเด็กๆ

เรียนเก่งๆ ให้ได้อย่างพี่เขาสิ”

“ทำแต่เรื่องปวดหัวไม่เว้นแต่ละวัน.. ทำไมไม่ทำตัวน่ารักแบบน้องบ้าง”

“ลูกบ้านโน้นเก่งจัง เก่งกว่าลูกอีก

  •    การเปรียบเทียบ     อาจมาพร้อมกับความรู้สึกปรารถนาดี อยากให้ลูกเห็นต้นแบบดีๆ บ้าง
  •    การเปรียบเทียบ     อาจมาพร้อมกับความคาดหวังอยู่ลึกๆ ต่อลูกหลาน อยากให้มีพฤติกรรมดีๆ
  •    การเปรียบเทียบ     อาจมาพร้อมกับความรู้สึกโกรธ โมโห เพราะลูกหลานไม่ได้ดั่งใจ

แม้จะเป็นความหวังดีของพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ลึกๆ แต่ผลกระทบกับยิ่งใหญ่ยิ่งนัก..ต่อหัวใจเด็กๆ

เปรียบเทียบลูก

ผลกระทบที่สำคัญคือ เด็กจะรู้สึกแย่กับตนเองเพราะคำพูดของผู้ใหญ่ เปรียบเหมือนกระจกสะท้อน เมื่อเด็กได้รับฟังอยู่ทุกวัน เขาก็จะรู้สึกว่าตนเองเป็นเด็กไม่ดี ไม่มีความสามารถทำได้เหมือนคนอื่น ทำให้รู้สึกด้อยค่า มองไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก ไม่มั่นใจในตนเอง นานวันเข้าจะไม่กล้าลงมือทำอะไร เพราะขาดความมั่นใจว่า ตนเองจะทำสำเร็จ

เคยบ้างไหม ที่พูดเปรียบเทียบลูกเรากับลูกคนอื่น?

ในทางตรงข้าม เด็กอาจจะรู้สึกโกรธ อิจฉา หรือแสดงพฤติกรรมต่อต้านรุนแรง ก้าวร้าวตอบโต้กลับไป  มีน้อยมากที่อาจจะฮึดสู้กับคำพูดเปรียบเทียบของผู้ใหญ่ และกลายเป็นแรงผลักดันให้ทำสิ่งดีๆ เพราะส่วนใหญ่เด็กๆ มักจะทำในทางตรงข้าม คือทำสิ่งที่ไม่ดีตรงกันข้ามกับที่ผู้ใหญ่บอกให้ทำ เพื่อให้เกิดความรู้สึกสะใจที่พ่อแม่มักเปรียบเทียบกับตนเองกับผู้อื่น

banner300x250

สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรมองเห็นในตัวเด็ก คือ ศักยภาพและความสามารถซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่น

สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรทำ  คือ

  1. เลิกเปรียบเทียบลูกกับพี่น้อง หรือเด็กคนอื่น
  2. ค้นหาศักยภาพในตัวลูกแต่ละคน และเปิดโอกาสให้ศักยภาพเหล่านั้นแสดงออกอย่างเต็มที่ เช่น  ลูกคนสุดท้องชอบทำอาหาร แต่ลูกคนโตชอบการทดลองวิทยาศาสตร์
  3. ให้กำลังใจในสิ่งที่เด็กพยายามทำ “แม่ภูมิใจมากเลยที่ลูกพยายามทำการบ้าน แม้มันจะยากอยู่บ้างนะ..แต่ลูกก็ยังไม่ท้อถอย”  เด็กจะมีกำลังใจดีขึ้นและเห็นคุณค่าในตนเองสูง  มีความเด็มใจที่จะให้ความร่วมมือ เชื่อฟัง  มีความพยายามทำสิ่งใหม่ๆ และมีความรับผิดชอบ
  4. ชื่นชมในสิ่งที่เด็กเป็น แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เด็กทำได้  แต่พ่อแม่ไม่สามารถหยิบังสิ่งเหล่านั้นมาพูดได้ เช่น “ดีมากเลยลูกที่ลูกเป็นเพื่อนเล่นกับน้อง  หนูเป็นพี่สาวที่น่ารักมากๆ เลย”

 รู้อย่างนี้แล้ว! ..วันนี้คุณเลิกเปรียบเทียบลูกหลานของคุณแล้วหรือยัง?

 

อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก

5 วิธีเลี้ยงลูกที่ทำให้ลูกเสียคนโดยไม่รู้ตัว

รวมพฤติกรรมยอดแย่ที่พ่อแม่ไม่ควรทำต่อหน้าลูก


ที่มาจาก : www.thaichildrights.org

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up