ความผูกพัน เรื่องที่คุณแม่ต้องเข้าใจเพราะ คือจุดเริ่มต้นให้เด็กเชื่อมั่นใจตัวเองตั้งแต่แรกเกิด

Alternative Textaccount_circle
event

 

ความผูกพันจากบุคลิกภาพของแม่ที่อบอุ่น เยือกเย็น อารมณ์ดี เป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส ปรับตัวง่าย สังคมดี ไม่มีปัญหาทางจิตใจ คือไม่ขี้กังวลหรือมีอารมณ์ซึมเศร้า จะเลี้ยงดูเด็กให้เกิดความรัก ความผูกพันได้ง่าย ในทางตรงข้าม แม่ที่เครียด เศร้าโศก วิตกกังวล จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกได้เหมาะสม ส่งผลทำให้เด็กเฉื่อยชา ซึมเศร้า มีความกังวลและส่งผลกระทบต่อระบบการกิน การนอน ทำให้พัฒนาการล่าช้าไปได้

ความผูกพันจากท่าอุ้มคือจุดเริ่มต้นทักษะการติดต่อสื่อสารกับผู้คนในด้านภาษาและการพูด

shutterstock_104324327
ในท่าที่แม่อุ้มลูกอยู่ในอ้อมแขน ทำให้ทารกมีโอกาสที่จะได้เห็นหน้าของแม่อย่างใกล้ชิด เด็กจะจ้องมองตา มองปากที่แม่พูด พยายามที่จะขยับปาก จะส่งเสียงออกมาเลียนแบบพฤติกรรมที่แม่คุยด้วย เริ่มที่จะเล่นน้ำลาย รู้จักส่งเสียงอยู่ในคอเวลาที่ตนพอใจ ยิ้มรับแม่ พยายามที่จะ “คุย” กับผู้คน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการที่เด็กพยายามจะสื่อสารกับคนอื่น

ดังนั้นเราควรพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะกำลังอาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม ให้นม ควรร้องเพลงให้ลูกฟังด้วยโทนเสียงที่นุ่มนวลสูงๆ ต่ำๆ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่เร็วขึ้น
เมื่อเด็กอายุ 4-5 เดือนเด็กจะชอบเล่นน้ำลายและเริ่มส่งเสียงคล้ายเสียงพูดมีเสียงสูงๆต่ำๆโต้ตอบกับเรา ส่งเสียงแหลมรัวแสดงความดีใจ ส่งเสียงอ้อแอ้ในลำคอได้นานขึ้น และเริ่มหันหาเสียงได้ เมื่อเด็กอายุ 5-6 เดือนเด็กจะเริ่มออกเสียงพยัญชนะแบบสั้นๆได้ ชอบที่จะจ้องมองปากเวลาคนพูดด้วยและพยายามส่งเสียงตามเสียงพูด การหันหาเสียงจะหันแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

shutterstock_125008100
เด็กอายุ6-8 เดือนจะออกเสียงพยัญชนะและสระได้ เช่น บา ดา กา ต่อมาเด็กจะออกเสียงพยัญชนะและสระแบบซ้ำๆได้ เช่น บาบา กากา เมื่ออายุ8-9เดือน เมื่ออายุ1 ขวบขึ้นไป เด็กจะพูดคำที่มีความหมายแบบเฉพาะเจาะจงได้ เช่น ปาป๊ะ มาม้ะ

อ่านเรื่อง “ความผูกพัน เรื่องที่คุณแม่ต้องเข้าใจเพราะ คือจุดเริ่มต้นให้เด็กเชื่อมั่นใจตัวเองตั้งแต่แรกเกิด” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up