ชื่นชม = พลัง
การดึงความรู้สึกนึกคิดของลูกออกมาอีกครั้งรวมถึงความชื่นชมภูมิใจที่คุณพ่อคุณแม่มีให้แก่ลูกนั้นจะกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ช่วยผลักดันให้ลูกมีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปเพราะนอกจากจะช่วยทำให้ลูกมองเห็นภาพรวมของความมีน้ำใจได้ชัดเจนขึ้นแล้วยังทำให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและความมีน้ำใจอีกด้วย
ตัวอย่างการสร้างความตระหนักในตัวตน
- เมื่อเดือนก่อนที่หนูไม่สบายแล้วหนูต้องการให้แม่อยู่ใกล้ๆ ไม่อยากให้แม่ไปทำงาน เป็นเพราะหนูรู้สึกอย่างไร
- แล้วหนูรู้สึกอย่างไรเมื่อแม่หยุดงานแล้วอยู่ใกล้ๆ คอยดูแลหนู
- หนูว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นมีคุณค่ามากไหม
- เป็นความรู้สึกที่สำคัญสำหรับหนูไหม
- แม่ภูมิใจที่หนูมีความตั้งใจช่วยแม่ทำอาหารแล้วนำไปให้ญาติของเราเพื่อทำให้เขารู้สึกดีขึ้น หนูเป็นเด็กมีน้ำใจมากค่ะ
อันที่จริงแล้วเด็กๆ ทุกคนเกิดขึ้นมาพร้อมกับความปรารถนาที่จะทำให้ผู้อื่นมีความสุข แต่บางครั้งสิ่งแวดล้อมและวิธีการเลี้ยงดูทำให้เด็กๆ ขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และฝึกฝน วิธีการสอนลูกให้มีน้ำใจทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ จะช่วยปลูกฝังให้ลูกรู้ว่าความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่เขาทำได้และจำเป็นต้องกระทำ เพราะลูกมองเห็นได้ชัดเจนว่าคุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จากการที่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ชวนลูกให้ร่วมทำ สนับสนุนให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีการชื่นชมและพูดคุยถึงเรื่องนี้อีกครั้ง จนกระทั่งความมีน้ำใจนั้นเกิดความกระจ่างในใจของลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะพบว่า ความมีน้ำใจของลูกเรานั้นเกิดขึ้นได้ทันทีในพริบตา!
เรื่อง : ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพ : Shutterstock