เจ้าของมรดกทำพินัยกรรมยกมรดกให้ แล้วยังมีสิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมอีกหรือไม่?
ถ้าเจ้าของมรดกทำพินัยกรรมยกมรดกให้ แต่ยังมีทรัพย์สินอื่นๆ ที่ไม่ได้สั่งเสียไว้ ทรัพย์สินดังกล่าวจะตกทอดให้กับทายาทโดยชอบธรรม แล้วถ้าทายาทนั้นได้รับมรดกตามพินัยกรรมแล้ว ก็ยังมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมอีกฐานะหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น เจ้าของมรดกมีลูกชาย 2 คน คือ นาย ก และ นาย ข โดยมีที่ดินอยู่ 2 แปลง เจ้าของมรดกเขียนพินัยกรรมไว้ว่ายกที่ดินแปลงหนึ่งให้นาย ก และที่ดินอีกแปลงไม่ได้ระบุไว้ ที่ดินแปลงนั้นจะตกเป็นของทั้งนาย ก และ นาย ข คนละครึ่งหนึ่ง
สิทธิโดยธรรมในการรับมรดกแทน
โดยปกติผู้ที่ได้รับมรดก คือผู้ที่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ซึ่งต้องมีฐานะตามมาตรา 1629 ที่ระบุเอาไว้ บุคคลอื่นที่ไม่มีฐานะดังกล่าว เช่น ลูกพี่ลูกน้อง หรือลูกของลุง ลูกของอา ไม่ได้เป็นทายาทในลำดับกฎหมาย แต่อาจมีสิทธิรับมรดกได้โดยอาศัยสิทธิการเข้ารับมรดกแทนลุง หรืออาได้ โดยเกิดจากทายาทที่มีฐานะตามมาตรา 1629 ถึงแก่ความตาย หรือถูกจำกัดไม่ให้ได้รับมรดก
มรดกที่จะแบ่งให้ทายาทมีอะไรบ้าง?
1.ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีรูปร่าง เช่น รถ บ้าน ที่ดิน เครื่องประดับ เงิน ฯลฯ และทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิผูกพันกับสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ภาระจำยอม สิทธิในการครอบครอง
2.สิทธิต่างๆ ของผู้ตาย ได้แก่ สิทธิในการเรียกร้องให้บุคคลกระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สิน เช่น เรียกร้องเงินคืนจากผู้กู้ที่เคยกู้ไว้กับผู้ตาย เรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินที่ผู้ตายซื้อให้กับตนเอง หรือเรียกร้องให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าที่ผู้ตายขายเอาไว้
3.หน้าที่ของผู้ตาย ได้แก่ สิ่งที่ผู้ตายจะต้องทำ งดเว้นการชำระหนี้ให้แก่บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้
4.ความรับผิดของผู้ตาย ได้แก่ สิ่งที่ผู้ตายจะต้องชดใช้ด้วยทรัพย์สินของตนเอง เพราะไม่ได้ชำระหนี้ ผิดสัญญา หรือการทำละเมิด เช่น ก่อนผู้ตายเสียชีวิตได้ขับรถชนคนโดยประมาท ทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ย่อมมีความรับผิดชอบชดใช้สินไหมทดแทน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกอบการงานของบุคคลนั้น ความรับผิดชอบทั้งหมดจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตาย
เครดิต: http://www.law.cmu.ac.th/law2011/journal/e1288326033.pdf