สำหรับบทความนี้ แม่น้องเล็กขอหยิบยกประสบการณ์หนึ่งมาจากในพันทิป เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับคุณพ่อ คุณแม่ที่ จดทะเบียนสมรส และไม่จดทะเบียนสมรสมาให้ได้อ่านกันค่ะ เรื่องราวนี้เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับลูกชายคนหนึ่ง เมื่อเขาเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ และส่งผลต่อชีวิตของเขา
จดทะเบียนสมรส ทำให้ลูกมีสิทธิ์ทางกฎหมาย
ประเด็นที่ 1 คุณพ่อ คุณแม่แต่งงานกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อคุณพ่ออายุ 50 ปี คุณพ่อทำงานเป็นลูกจ้างใช้สิทธิ์ประกันสังคม ลูกชายบรรจุเข้ารับราชการ หลังจากนั้นเพียง 2 ปี คุณแม่ก็เสียชีวิต คุณพ่อจึงออกจากงานมาเลี้ยงหลาน และใช้สิทธิ์ข้าราชการของลูกชายแทนประกันสังคม แต่ปัญหาคือต้องเป็นบุตรโดยชอบธรรม แต่ถูกปฏิเสธไม่สามารถออกหนังสือรับรองบุตรได้ ต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชน ต้องมีหลักฐาน พยาน คือพี่น้อง และคุณยาย เพื่อยืนยันว่าเป็นลูก ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะได้ใบรับรองว่าเป็นพ่อลูกกัน ทั้งๆ ที่ใบเกิด ใบทะเบียนบ้านถูกระบุเอาไว้ชัดเจน แต่ก็ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากใช้สิทธิ์ได้ปีกว่า คุณพ่อก็เสียชีวิต
ประเด็นที่ 2 หลังจากที่คุณพ่อเสียชีวิต มีหนังสือจากประกันสังคมให้ยื่นคำร้องขอเงินบำเหน็จชราภาพของคุณพ่อที่สะสมเอาไว้คืน ลูกชายจึงไปยื่นคำร้องในฐานะบุตร แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากเอกสารไม่เพียงพอ ต้องคัดสำเนามรณะบัตรของคุณปู่ คุณย่า ซึ่งเสียชีวิตไปนานแล้ว และอยู่กันคนละภาคจังหวัด
ประเด็นที่ 3 คุณพ่อมีลูกชาย 2 คน ลูกชายคนเล็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ลูกชายคนโตไม่ใช่ แต่ก็มีสิทธิ์ จึงไม่ยอมให้น้องชายทำเรื่องคนเดียว จึงต้องให้พี่ชายที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ เดินทางมาเซ็นเอกสารยืนยันว่าจะไม่ขอรับเงิน น้องชายจึงจะได้เบิกเงินได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากในการเดินทาง และใช้เวลานานไม่คุ้มค่ากับการรับเงินหลักพัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่