สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่ทำงานเป็นพนักงานประจำ และต้องจ่ายเงินประกันสังคมกันทุกเดือน หลายคนอาจจะเคยเบิกเงินประกันสังคม กรณีคลอดบุตรกันมาบ้างแล้ว สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึง เงินสงเคราะห์บุตร กันบ้างว่ามีรายละเอียดอย่างไร และตอบข้อสงสัยที่ทุกคนอยากรู้
ผู้มีสิทธิ์รับ เงินสงเคราะห์บุตร มีหลักเกณฑ์อย่างไร?
1.คุณพ่อ คุณแม่ต้องจ่ายเงินสบทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ ซึ่งสิทธิเงินสงเคราะห์บุตรที่ได้รับเป็นแบบเหมาจ่าย เดือนละ 400 บาท ต่อลูก 1 คน
2.ต้องเป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ลูกบุญธรรม หรือลูกที่ยกให้เป็นลูกบุญธรรมของคนอื่น และต้องมีอายุตั้งแต่แรกเกิด – 6 ขวบ จำนวนครั้งละไม่เกิน 2 คน
3.คุณพ่อ คุณแม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสงเคราะห์บุตร ที่อายุไม่เกิน 6 ขวบ ยกเว้นคุณพ่อ คุณแม่เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ในขณะที่ลูกน้อย จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ต่อจนถึงอายุ 6 ขวบ
หมดสิทธิรับเงินทดแทน เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้
1.เมื่อลูกน้อยมีอายุครบ 6 ขวบ
2.ลูกน้อยเสียชีวิต
3.ยกลูกให้เป็นลูกบุญธรรมของคนอื่น
4.ความเป็นผู้ประกันตนของคุณพ่อ คุณแม่สิ้นสุดลง
หลักฐานที่ต้องใช้ในการรับ เงินสงเคราะห์บุตร
1.กรณีผู้ประกันตนเป็นคุณแม่
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01)
- สูติบัตรต้นฉบับของลูกพร้อมสำเนา 1 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนของคุณแม่
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของคุณแม่มี 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่