ลูกไม่สบาย

แม่เตือน! ลูกป่วยเป็น “ไวรัสไข้สูง” ตรวจหาอะไรก็ไม่เจอ!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่สบาย
ลูกไม่สบาย

อาการของไข้

  • ในระยะเริ่มต้นของการมีไข้ หรือที่เรียกกันว่า ระยะหนาวสั่น ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ซึ่งระยะเวลาในการสั่นอาจแค่ 2-3 นาที หรือนานเป็นชั่วโมงขึ้นอยู่กับสาเหตุ
  • เมื่ออุณหภูมิถึงระดับที่กำหนดแล้วจะไม่เกิดความรู้สึกร้อนหรือหนาวทั้ง ๆ ที่อุณหภูมิสูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ผิวหนังของผู้ป่วยจะเริ่มอุ่น ใบหน้าแดง รู้สึกร้อน การเผาผลาญมากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ร่างกายขาดน้ำ พบปัสสาวะน้อยลง เนื่องจากเสียน้ำมากจากกระบวนการระบายความร้อนออกจากร่างกาย การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง การดูดซึมอาหารไม่ดี เสียน้ำทางเหงื่อและทางการหายใจมากขึ้น จึงอาจทำให้มีอาการท้องผูก หากเกิดเป็นเวลานานเนื้อเยื่อร่างกายถูกทำลาย ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว กล้ามเนื้อไม่มีแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการซึม กระสับกระส่าย และปวดศีรษะ เมื่อสาเหตุของไข้ถูกกำจัดไปแล้ว อุณหภูมิของร่างกายจะลดลง รวมถึงลดการสร้างความร้อนภายในร่างกาย เลือดไปเลี้ยงผิวหนังได้มากขึ้น จึงมีการหลั่งเหงื่อออกมามากขึ้น
  • เมื่อมีไข้สูงหรือไข้สูงเกิน อาจส่งผลต่ออาการทำงานของสมองได้ ผู้ป่วยจึงอาจมีอาการสับสน กระสับกระส่าย เห็นภาพหลอน หรือมีอาการชักได้ในที่สุด ซึ่งอาการดังกล่าวนั้น จะพบมากในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

ทำอย่างไร เมื่อลูกมีไข้

เมื่อรู้สึกว่าลูกมีไข้ ให้คุณแม่ปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้

  • ให้ยาลดไข้  ซึ่งยาลดไข้ที่ดีที่สุดคือยาพาราเซตามอล เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อย และไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ส่วนยาจูนิเฟนมีผลดีในการลดไข้และป้องกันการชักจากไข้สูงได้ดีกว่าพาราเซตามอล แต่มีฤทธิ์ข้างเคียง คือ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • รีบเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้หลอดเลือดตีบและระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ ควรป้อนยาลดไข้ทันทีเมื่อมีไข้ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ 30 นาทีและออกฤทธิ์สูงสุด 1 ชั่วโมง คงสภาพได้ 4 ชั่วโมง ดังนั้นหากไข้สูงระหว่างมื้อยา ให้เช็ดตัวลดไข้ หากมีอาการหนาวสั่นควรให้ความอบอุ่นก่อนแล้วจึงเช็ดตัว
  • ให้ลูกดื่มน้ำให้มาก เพื่อเป็นการชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป
  • ใส่เสื้อผ้าโปร่ง ไม่ควรใส่เสื้อผ้ายืด เพราะทำให้ร่างกายระบายความร้อนออกได้ยาก
  • อยู่ในห้องที่มีอาการถ่ายเทได้สะดวก

เครดิต: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up