ลูกชอบกรี๊ด

หมอแนะ! รับมือให้ถูก เมื่อ ” ลูกอาละวาด “

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกชอบกรี๊ด
ลูกชอบกรี๊ด
ลูกอาละวาด
เครดิต: Parents Partner

 

แค่คำถามก็โดนใจคุณแม่หลาย ๆ คนที่กำลังประสบปัญหาคล้ายกันนี้อยู่แล้วใช่ไหมละคะ ถ้าอย่างนั้นเราไปอ่านคำแนะนำของคุณหมอผู้เชี่ยวชาญกันเลยค่ะ
คุณหมอรับรู้ได้ถึงความรู้สึกของคุณแม่ว่ากำลังเหน็ดเหนื่อยและเครียดกับพฤติกรรมที่ท้าทายนี้ของลูกมากขนาดไหน ทำไมถึงเรียกว่าท้าทาย?! นั่นเป็นเพราะ คุณแม่จะต้องเลี้ยงดูลูกอ่อนวัยเพียง 4 เดือน ไปพร้อม ๆ กับลูกสาวที่มีอายุ 3 ขวบกว่านี่แหละค่ะ ที่ถือเป็น “เรื่องท้าทาย” เพราะคุณแม่กำลังเผชิญอยู่กับพายุลูกใหญ่ของเด็กช่วงวัย 3 – 4 ปีที่กำลังมีน้อง นอกจากลูกจะรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังโดยแย่งความรักไปแล้ว ยังรู้สึกสับสนและกำลังหาทางปรับตัวอยู่เช่นเดียวกัน แต่พวกเขาไม่รู้ว่าจะทำเช่นไร ดังนั้น สิ่งที่คุณแม่ควรทำได้ก็คือ ทำความเข้าใจ พร้อมกับเตรียมรับมือให้ถูกต้องและเหมาะสมตามพฤติกรรมของลูกนั่นเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่น
  • เมื่อลูกเริ่มร้องกรี๊ด 

    • สาเหตุ: จากกรณีของคุณแม่นั้น สาเหตุที่ลูกร้องกรี๊ดออกมา นั่นเป็นเพราะเพื่อนมาจับของเล่นหรือของที่เป็นของลูกอยู่ ทำให้เขารู้สึกไม่พอใจ เพราะเด็กวัยนี้ จะเริ่มมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ หวง และไม่อยากที่จะแบ่งปันอะไรกับใคร
    • วิธีแก้ปัญหา: ในขณะที่มีเพื่อนมาบ้าน ไม่สำคัญว่าเด็ก ๆ กำลังต่างคนต่างเล่น หรือว่าเล่นด้วยกัน คุณแม่จะต้องแก้ปัญหาด้วยการให้เพื่อนนั้น นำของเล่นที่เป็นของเขาเองติดตัวมาด้วยหนึ่งชิ้น และตกลงกติกาการเล่นด้วยการแบ่งปันกันและกัน จะไม่มีการแย่งของเล่นออกจากมือเพื่อน เว้นเสียแต่ว่า เพื่อนจะเล่นเสร็จแล้ว เพราะทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเล่นของเล่นทุกชิ้นเหมือนกัน แต่จะต้องรักษาของให้ดี นอกจากนี้ จะต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลเด็ก ๆ ตลอดเวลา เพื่อจะได้ค่อย ๆ ปลูกฝังและสอนทักษะการเข้าสังคมให้กับเด็ก ๆ ด้วย
  •  ลูกชอบออกคำสั่ง

    • สาเหตุ: ลูกเลียนแบบสิ่งที่เขาเห็นทุกวันนั่นคือ พฤติกรรมของผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่โรงเรียน แต่สิ่งที่ลูกพบก็คือ ผู้ใหญ่กลับบอกให้เขาพูดดี ๆ ทั้ง ๆ ที่ผู้ใหญ่เองก็ยังทำไม่ได้ในบางครั้ง ทำให้ลูกไม่ยอมทำตาม พองอแงมาก ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็จะตัดความรำคาญด้วยการทำตามในสิ่งที่ลูกสั่งให้ทำ จนทำให้ลูกติดกลายเป็นนิสัย และเรียนรู้ไปโดยปริยายว่า ถ้าเขาสั่งให้ทำคุณพ่อคุณแม่ก็จะทำ
    • วิธีแก้ปัญหา: จากประสบการณ์คุณหมอก็มักจะแนะนำให้คุณแม่หลาย ๆ ท่านใช้วิธีถามคำถามลูกก่อนว่า ที่พูดพูดมานั้น “หนูสั่งหรือว่าหนูขอ” แล้วก็บอกให้ลูกเลือกระหว่าง “เพราะถ้าหนูสั่งคุณแม่ก็จะไม่ทำตาม เพราะไม่มีใครชอบถูกสั่ง” “แต่ถ้าหนูขอ คุณแม่ก็จะต้องขอคิดดูก่อนว่าทำได้หรือไม่” เด็กหลายคนจะรู้สึกว่าการที่คุณแม่พูดมาแบบนั้น ไม่ได้เป็นการบังคับให้เขากำลังพูดดี ๆ แต่เขาสามารถเลือกได้ว่า จะสั่งหรือว่าขอ เท่านี้ละค่ะ ลูกก็จะให้การร่วมมือกับเรามากขึ้นไปเอง

อ่านคำแนะนำของคุณหมอเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไป

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up