พม. จ่อตั้งศูนย์ระดับจังหวัด จับตา สูบบุหรี่ในบ้าน โดนดำเนินการตามกฎหมาย!
จากข่าวดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากฎหมาย ไม่ได้ห้ามสูบบุหรี่ในบ้าน โดยเด็ดขาดนะคะ กฎหมายนี้ มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่บุคคลในครอบครัว ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ซึ่ง “ความรุนแรงในครอบครัว” ตามกฎหมายฉบับนี้ หมายความว่า การกระทำใด ๆ ที่บุคคลในครอบครัวได้กระทำต่อกันโดยเจตนาให้เกิดหรือในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ เสรีภาพ หรือชื่อเสียงของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อานาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ
กรณีของการที่ สูบบุหรี่ในบ้าน จะเข้าข่ายความผิดตาม พรบ.ฉบับนี้ ก็ต่อเมื่อ ควันบุหรี่ส่งผลกระทบให้คนในบ้านเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ป่วย และได้ผ่านกระบวนการในการตรวจสอบและพิสูจน์อย่างแน่ชัดจนสามารถยืนยันได้ว่าควันบุหรี่ทำให้คนในบ้านป่วยจริง ถึงจะเข้าสู่กระบวนการปรับพฤติกรรม คือเข้ารับการบำบัดและเลิกบุหรี่
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าแม้จะไม่ได้ห้าม สูบบุหรี่ในบ้าน แต่หากการสูบบุหรี่กระทบต่อสุขภาพของครอบครัว ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว เพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมายต่อไปได้ ตามที่ นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) อธิบายว่า
สาระสำคัญเพื่อแก้ไขป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว นอกจากจะมีการระบุถึงการทำความรุนแรงทางกาย ตรงนี้ผิดกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ก็ยังมีถ้อยคำว่า หรือการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งตีความได้มากมาย เช่น สมมติพ่อดื่มเหล้าอาละวาดจนลูกไม่ได้นอนหลับพักผ่อน จนทำให้ป่วย การใช้งานเด็กมากเกินไปจนเป็นเหตุให้ป่วย และการสูบบหรี่ในบ้าน ซึ่งมีผลกระทบให้คนใกช้ชิดได้รับควันบุหรี่มือสอง และเกิดการเจ็บป่วย ทั้งหมดล้วนจัดเป็นความรุนแรง ถ้าคนข้างบ้านเห็นพฤติกรรมแบบนี้ก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าทีเพื่อให้เข้าไปตรวจสอบ และส่งให้แพทย์พิจารณาว่าเป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากการกระทำของคนในบ้านหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่ามีข้อมูลจริงว่ามีผู้ป่วยจากพิษของบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด ทั้งนี้หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเกิดจากบุหรี่จริงก็จะมีการส่งฟ้องศาลเพื่อพิจารณา อาจจะเป็นการสั่งให้ปรับพฤติกรรม หรือจำกัดบริเวณการสูบเป็นต้น หากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีการลงโทษที่แรงขึ้น
เมื่อถามว่าจำเป็นต้องให้มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจริงๆก่อน แล้วถึงจะสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ ถือเป็นช่องว่างหรือไม่ นายเลิศปัญญา กล่าวว่า ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยก่อน แต่จริงๆ กฎหมายนี้เป็นคุณ เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้คนในครอบครัวกระทำการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว และเนื่องจากเป็นเรื่องภายในครอบครัวเราเองคงไม่สามารถที่จะไปสั่งห้ามไม่ให้เขาสูบบุหรี่ในบ้านตัวเองได้ จึงไม่น่าจะเป็นลักษณะของการรุกเข้าไป แต่อย่างไรก็ตาม หากทางเจ้าหน้าที่พบเห็นการกระทำที่เสี่ยงเช่นนี้สามารถเข้าไปพูดคุย ทำความเข้าใจให้เห็นถึงอันตรายทีจะเกิดขึ้น และให้ความรู้เรื่องการปรับพฤติกรรมได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คนในบ้านเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ และแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเกิดจากบุหรี่จริง ก็จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้
“หลังจากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ส.ค. นี้ จะมีการตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว โดยปรับการทำงานจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเข้ามาทำตรงนี้ โดยมีการวางแผนการทำงานร่วมกันในระดับจังหวัด ดูแล เข้มงวดทั้งเรื่องของสุรา ยาสูบ ยาเสพติด ในพื้นที่ด้วย” นายเลิศปัญญา กล่าว
จะเห็นได้ว่าควันบุหรี่มีผลต่อสุขภาพต่อบุคคลรอบข้างจริง โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งเป็นบุคคลที่คุณพ่อคุณแม่รักที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ สูบบุหรี่ในบ้าน หรือสูบขณะที่ลูกอยู่ก็ตาม ควันบุหรี่ก็สามารถติดตามเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ส่งผลต่อสุขภาพของลูกได้เช่นกัน ดังนั้น การเลิกบุหรี่ จึงเป็นทางแก้ที่ดีที่สุดค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอเอาใจช่วยคุณพ่อทุกคนนะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
อย่าปล่อยให้บุหรี่เป็นจุดเริ่มต้น “ดับอนาคตลูก”
ควันบุหรี่มือสาม ทำร้ายลูกได้ 20 เท่า!!
ปอด อักเสบ ติดเชื้อ เพราะควันบุหรี่มือสอง
SIDS หรือไหลตายในเด็ก ภัยเงียบของลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : ส.ส.ส., Sanook, Bangkokbiznews
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่