การดูแลท้องแฝด แม่ควรรู้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดได้ - amarinbabyandkids
การดูแลท้องแฝด

“ชาคริต” ว่าที่คุณพ่อเผย! “ได้ลูกแฝด” แต่สุดท้ายหลุดไปหนึ่งคน พบวิธีดูแลแม่เมื่อกำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด

event
การดูแลท้องแฝด
การดูแลท้องแฝด

อยากได้ลูกแฝด

สุดท้ายคุณหมอตวงสิทธิ์บอกเราว่า สิ่งสำคัญที่แม่ท้องแฝดควรรู้และระมัดระวังให้มากเมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้าย ได้แก่

1. มีสัญญาณเตือนต่างๆ ก่อนกำหนด

เพราะคุณแม่ท้องแฝดจะน้ำหนักมากขึ้น ทั้งจากน้ำหนักตัวเด็กและถุงน้ำคร่ำ จึงทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่ เจ็บท้อง มีน้ำเดินก่อนกำหนด มีเลือดออกเพราะรกเกาะต่ำ หรือบางรายท้องยังไม่แข็ง แต่ปากมดลูกเริ่มเปิดแล้ว แพทย์จะแนะนำให้นอนพักมากขึ้น คุณแม่ต้องระวัง แต่ก็ทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ

2. ต้องอัลตร้าซาวนด์เป็นระยะๆ

เพื่อให้มั่นใจว่าการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ปกติดี เพราะมีโอกาสที่เด็กจะเติบโตช้า ตัวเล็ก จนทำให้เสียชีวิตในระหว่างการตั้งครรภ์ได้

ความเสี่ยง ตั้งครรภ์แฝด

√ ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพราะอะไร?

  1. มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น เนื่องจากมดลูกขยายมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว
  2. เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาจมีปัญหาตามมาหลังคลอด ได้แก่ พัฒนาการช้า มีปัญหาระบบการหายใจ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เกลือแร่ในเลือดแปรปรวน มีเลือดออกในศีรษะ มีเลือดออกในปอด ฯลฯ ซึ่งทำให้ทารกต้องอยู่ในหออภิบาลทารกแรกคลอด ใส่เครื่องช่วยหายใจนานเป็นเดือน
  3. แม่เกิดภาวะรกเกาะต่ำ เพราะรกมีขนาดใหญ่มาก จึงมีโอกาสที่น้ำหนักจะถ่วงลงมาขวางช่องทางคลอด ทำให้คุณแม่ไม่สามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติ
  4. เกิดภาวะตกเลือดขณะคลอด ไม่ว่าจะคลอดเอง หรือผ่าคลอดก็ตาม
  5. การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในท้องแฝดกับท้องเดี่ยวให้ผลต่างกัน ไม่ว่าจะด้วยการใช้ยาหรือการเย็บกระชับปากมดลูก โอกาสที่จะยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดในท้องเดี่ยวจะได้ผลดีกว่า

ทั้งนี้คุณหมอตวงสิทธิ์ทิ้งท้ายว่า “การตั้งครรภ์แฝดเป็นภาวะแทรกซ้อน มีความเสี่ยงและจำเป็นต้องประคับประคองครรภ์เพื่อความปลอดภัยทั้งแม่และลูกอย่างระมัดระวัง ใส่ใจมากเป็นทวีคูณตลอดการตั้งครรภ์ และที่สำคัญคือ หลังคลอดแล้ว พ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกแฝดก็ไม่ใช่เรื่องสนุกเลย สำหรับคู่หรือครอบครัวที่ไม่มีพันธุกรรมแฝดและต้องการมีลูกครรภ์แฝดโดยตั้งใจ อยากให้ตระหนักอย่างรอบคอบมากๆ”

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids จากคอลัมน์ Pregnancy {28-41 weeks} ฉบับเดือนมกราคม 2558

ขอบคุณข้อมูลจาก: รศ.นพ.ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up