พ่อแม่ต้องรู้! 2 วิธีสังเกต ลูกป่วยไวรัสโรต้า

Alternative Textaccount_circle
event

 

 

คุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบกันใช่ไหมละคะว่า ผู้ใหญ่เป็นไวรัสโรต้ากันได้ด้วยหรือ? คำตอบคือ “ได้ค่ะ” ที่สำคัญตอนนี้ระบาดหนักในผู้ใหญ่กันเสียด้วยละค่ะ

ลูกป่วยไวรัสโรต้า

นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาและที่ปรึกษากรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทบทวนมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ซึ่งโดยปกติพบมากในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมานี้ พบว่ามีรายงานในผู้ใหญ่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจติดเชื้อจากการดูแลเด็กที่ป่วย หรือติดจากการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเชื้อไวรัสโรต้ามักจะพบมากในช่วงฤดูหนาว

ทั้งนี้ ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วยจากโรคอุจจาระร่วงประมาณ 1 ล้านคน ใกล้เคียงกันทุก ๆ ปี โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นในช่วงปลายปีจนถึงต้นปี 2561 นี้ และจากการสุ่มตรวจพบว่ามีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ และพบมากในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า เกิดจากการรับเชื้อที่มากับอาหารและน้ำโดยตรงเข้าทางปาก หรือโดยอ้อมหลังการสัมผัสกับเครื่องใช้หรือของเล่นต่างๆที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อไวรัส โดยจะมีอาการภายใน 1-3 วัน และผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้นานกว่าสัปดาห์หลังเริ่มมีอาการ

ส่วนอาการของโรคคือ มีไข้ อาเจียน และท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการขาดน้ำ หากรับการรักษาไม่ทันหรือไม่เหมาะสม อาจเกิดอันตรายได้ ทั้งนี้ จากข้อมูลยังพบอีกว่า สามารถมีการติดเชื้อซ้ำได้หลายครั้ง โดยครั้งหลัง ๆ อาการจะน้อยลง

อ่านต่อ >> วิธีสังเกตลูกป่วยไวรัสโรต้า

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up