ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นของการตั้งครรภ์แฝด
เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์แฝด คนในครอบครัวทุกคนจะดีใจ ถือว่าเป็นเรื่องของความโชคดีที่ตั้งครรภ์ครั้งเดียวได้ลูกพร้อมกัน 2 คน แต่ในทางการแพทย์แล้วการตั้งครรภ์แฝดถือเป็นความซับซ้อนอย่างหนึ่ง เป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ ได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว ทั้งในระยะฝากครรภ์/ก่อนคลอด ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
– ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะฝากครรภ์/ก่อนคลอด ได้แก่
- คลื่นไส้ อาเจียน มากกว่าปกติ เหนื่อยเพลียมาก
- การแท้งบุตร อาจแท้งออกมา 1 คนแล้วตั้งครรภ์ต่ออีก 1 คน หรือ แท้งทั้ง 2 คน
- มารดามักมีภาวะซีด ได้ง่าย
- มีโอกาสมีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์สูงกว่าครรภ์ปกติ
- เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์สูงกว่าครรภ์ปกติ (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง เบาหวานกับการตั้งครรภ์)
- รกเกาะต่ำ ทำให้เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เพิ่มโอกาสการแท้งบุตรและการคลอดก่อนกำหนด
- เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
- ทารกน้ำหนักตัวน้อย
- ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาในการคลอดปกติ อาจต้องผ่าท้องคลอด
- สายสะดือทารกพันกัน ในกรณีอยู่ในถุงการตั้งครรภ์เดียวกัน เป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือ ระหว่างคลอดได้สูง
- ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิดสูงกว่าครรภ์ปกติ
- ทารกในครรภ์เจริญเติบโตผิดสัดส่วนกัน แต่ละคนเจริญเติบโตได้ไม่เท่ากัน คนที่เจริญเติบโตได้ไม่ดี จึงอาจเสียชีวิต หรือมีความพิการ
- ทั้งนี้ทารกอาจมีการถ่ายเทเลือดให้กัน (Twin-to-twin transfusion syndrome ) คือทารกใช้รกอันเดียวกัน เลือดของคนหนึ่งจึงสามารถไหลสู่ร่างกายของอีกคนได้ ส่งผลให้ทารกเกิดภาวะขาดเลือด เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติ พิการ หรือเจริญเติบโตด้อยกว่าเกณฑ์ จึงเพิ่มโอกาสมารดาเกิดการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด หรือความพิการแต่กำเนิดของทารกได้
- ทารกเสียชีวิตในครรภ์ 1 คน หรืออาจเสียชีวิตทั้งหมด
– ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะคลอด ได้แก่
- การดำเนินการคลอดผิดปกติ ล่าช้า อาจต้องผ่าท้องคลอด
- ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ต้องผ่าท้องคลอด
- รกลอกตัวก่อนกำหนด จึงส่งผลให้เกิดทารกคลอดก่อนกำหนดได้สูง
– ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะหลังคลอด ได้แก่
- ตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกขยายตัวมากเกินไป ทำให้การหดรัดตัวไม่ดี แผลในมดลูกจากการหลุดลอกของรกจึงติดได้ไม่ดี เลือดจึงออกจากแผลได้มาก
- ติดเชื้อหลังคลอดได้สูง
√ การดูแลตนเองเมื่อมีครรภ์แฝด
– ด้านทั่วๆไป
- เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ต้องรีบไปฝากครรภ์
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลที่ดูแลให้ถูกต้อง ครบถ้วน
- น้ำหนักมารดาควรเพิ่มขึ้น 15-20 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์ (ในสตรีที่ไม่อ้วนผิดปกติ)
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรพักผ่อนให้มากกว่าปกติเพื่อลดโอกาสคลอดก่อนกำหนด
- งดการทำงานหนักเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
- เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องจะขยายมากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยวมาก การเคลื่อนไหวจะลำ บาก จึงต้องระวังเกี่ยวกับอุบัติเหตุ
อ่านต่อ >> “การดูแลตนเองเมื่อมีครรภ์แฝดในเรื่องอาหาร และการคลอด” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่