จากข่าวล่าสุดที่ “น้องซีดี-กฤตไน เลาหประสาท” ที่รับบทเป็น “ตือ” จากภาพยนตร์ ตุ๊กแกรักแป้งมาก ล่าสุดน้องป่วยเป็นโรคโมยาโมยา โรคที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ 1 ในล้านคน และต้องทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกต่อหลอดเลือดสมองฝั่งซ้าย . . . โดยคุณแม่ของน้องซีดีได้โพสต์ Instagram : cd_kittanai ขอรับบริจาคเลือดให้กับน้อง ดังนี้ “คุณแม่และน้องซีดี ขอรับบริจาคเลือด เพื่อรักษาโรคโมยาโมยา โดยการผ่าตัดเปิดกะโหลก ต่อหลอดเลือดสมองฝั่งซ้าย 1 ในล้านที่คนไทยจะเจอโรคนี้ ขอผู้ใหญ่ใจดี มาบริจาคได้ตั้งแต่ วันที่ 23-24-25-26 ส.ค.58 เลือด กรุ๊ป บี ที่ รพ.รามาธิบดี ห้องบริจาคเลือด ศูนย์การแพทย์ตึกพระเทพ ชั้น 3 หรือ บริจาคได้ที่ คลังเลือด ตึกเก่า อาคาร 1 ชั้น 2 เวลา 8.30-16.30น .@ แจ้งชื่อ ดช..กฤตไน เลาหปราสาท HN.5004301 ( เบอร์คุณแม่ 061 362 6595 )”
ทำความรู้จักกับโรค “โมยาโมยา (Moyamoya disease)”
โรคโมยาโมยา – โรคที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดสมอง มีอัตราส่วนการเกิดโรคนี้เพียง 1 ในล้านคน โดยพบว่ามีอาการอุดตันของผนังหลอดเลือดแดงคาโรติด ซึ่งเป็นหลอดเลือดสำคัญที่ลำเลียงเลือดเข้าไปเลี้ยงสมอง หรืออาจพบว่า หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตันจนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ยากกว่าปกติ คำว่า “โมยาโมยา” มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า กลุ่มควันบุหรี่ เนื่องจากเมื่อหลอดเลือดสมองเกิดการอุดตันจนส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ หลอดเลือดสมองอื่นๆ จะเข้ามาเป็นกองหนุนเพื่อลำเลียงเลือดเข้าไปเลี้ยงสมอง จนทำให้เกิดเส้นเลือดสมองรายล้อมคล้ายกลุ่มควัน
ลักษณะของโรคโมยาโมยา
สาเหตุของโรค – อาจมาจากความผิดปกติของถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติที่เกิดจากโรคเนื้องอกทางพันธุกรรม โรคกลุ่มดาวน์ซินโดรม โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคหลอดเลือดแดงในไตตีบ เป็นต้น
พบบ่อยในวัยเด็ก แต่มีโอกาสเกิดโรคเพียง 1 ในล้านคน – รายงานจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่าโรคนี้เกิดบ่อยในเด็ก และก็เกิดกับผู้ใหญ่ได้ ส่วนมากพบในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา
สังเกตอาการที่อาจเป็นโรคโมยาโมยา – ระยะเริ่มแรก อาจมีอาการชัก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หรือมีลักษณะอาการของภาวะเส้นเลือดในสมองตีบตัน เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติไป กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความสามารถในการใช้หรือเข้าใจคำพูด สมองขาดเลือดชั่วคราว ความจำด้อยประสิทธิภาพ
การรักษาโรคในทางการแพทย์ – ทำการผ่าตัดสมอง เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงส่วนสมองที่ขาด หรือทำบายพาสในส่วนหลอดเลือดสมองที่ตีบตันเพื่อขยายหลอดเลือดให้ ลำเลียงเลือดเข้าสู่สมองมากขึ้นก็ได้ ทั้งนี้ผลการรักษาโรคโมยาโมยาในผู้ป่วยเด็กจะมีเปอร์เซ็นต์ดีกว่าผลการรักษา ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ทว่าแพทย์ก็ไม่สามารถการันตีผลการรักษาได้ 100% ว่าภายหลังจากการผ่าตัดแล้ว อาการของคนไข้จะกลับมาเป็นปกติได้หรือไม่ เพราะการรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมทั้งอาการของคนไข้แต่ละบุคคลด้วย
เครดิต: รูป moyamoya
- http://neurosurgery.stanford.edu/cerebrovascular/images/moyamoyavessle.jpg
- Instagram: cd_kittanai
- https://www.facebook.com/CDVIP
เรื่อง