มีคุณแม่คนหนึ่ง ทำงานอยู่ที่ อบต. ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด โดยตรง โดยคุณแม่เล่าว่า การขึ้นทะเบียนนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำได้ ถ้ามีกำหนดคลอดไม่เกิน 30 กันยายน 2560 ซึ่งจะได้รับเงินเดือนละ 600 บาท ตลอดระยะเวลา 3 ปี และขึ้นทะเบียนก่อนได้
เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ยังไม่คลอดลูกน้อย สามารถขึ้นทะเบียนก่อนได้ และเมื่อคลอดลูกน้อยแล้ว ก็ให้นำสำเนาสูติบัตรไปยื่นที่เจ้าหน้าที่ อบต. ในเขตพื้นที่ที่คุณแม่อาศัยอยู่ แต่คนที่จะมีสิทธิขึ้นทะเบียนได้นั้น จะต้องไม่ใช่ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ประกันสังคม สวัสดิการรัฐ และรายได้รวมของครอบครัวต้องไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท หรือ 36,000 บาทต่อปี เช่น
ถ้าในบ้านมีคน 5 คน มีคนทำงานเพียงคนเดียว เดือนละ 15,000 บาท ก็เท่ากับ 15,000 x 12 = 180,000 / 5 คน = 36,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาท ก็จะมีสิทธิ์ที่จะสามารถลงทะเบียนได้
คุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิ์
1.คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่ยากจน หรือมีความเสี่ยงต่อความยากจน
2.เด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2560
3.สัญชาติไทย (บิดาและมารดา หรือบิดา หรือมารดา มีสัญชาติไทย)
4.มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน
5.ครอบครัวมีสภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม ไม่มีรถส่วนบุคคล หรือเป็นเกษตรกรที่มีที่ดินไม่เกิน 1 ไร่
6.ไม่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิ์ประโยชน์อื่นจากรัฐ เช่น เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และไม่อยู่ในความดูแลของรัฐ บ้านพักเด็กและครอบครัว รวมถึงสถานสงเคราะห์ของรัฐ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่