รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ถึงเรื่องดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า มั่วมาก ๆ ไขมันดังกล่าวเป็นไขมันที่อันตรายต่อสุขภาพจริง และเป็นที่รณรงค์กันในช่วงไม่กี่ปีนี้ให้ลดการบริโภคลง แต่หลัก ๆ แล้วมันไม่ได้มาจากน้ำมันพืชไปผ่านความร้อน ซึ่งไขมันดังกล่างเกิดขึ้นบ้างเมื่อน้ำมันพืชถูกความร้อนสูง ซ้ำ ๆ กัน แต่น้อยมาก ๆ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดด้านสุขภาพเยอะ เมื่อเทียบกับที่มาจากการผลิตโดยตรง
นอกจากนี้ยังได้กล่าวอีกว่า จริงแล้ว ไขมันที่ว่านี้เป็นผลพลอยได้จากพวกไขมันแข็งตัวที่ใช้น้ำมันพืชเป็นตัวตั้งต้น เช่น ครีมเทียม เนยเทียม มาการีน ซึ่งเอาน้ำมันพืชที่เป็นของเหลวในอุณหภูมิห้อง ไปผ่านปฏิกิริยาทางเคมี เติมไฮโดรเจนเข้าไปบางส่วนในโมเลกุลไขมัน ทำให้มันแข็งตัวขึ้น เพื่อใช้ทดแทนพวกเนยจริง แต่ดันมีไขมันไม่ดีตัวนี้แถมมาด้วย จึงเป็นเหตุให้คนรณรงค์ให้ลดการกินครีมเทียม เนยเทียม เป็นต้น
ดังนั้น น้ำมันพืชพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว ก็ไม่ได้จะมีไขมันที่ว่านี้แต่อย่างใด ขณะที่พวกน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มนั้น กลับเป็นตัวที่ต้องกังวลไม่ใช่น้อย เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวอยู่สูง ซึ่งอันตรายรองลงมาจากไขมันทรานส์ !! ส่วนน้ำมันทอดซ้ำก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้เกิดไขมันไม่ดีนี้ แต่หลัก ๆ คือจะทำให้เกิดสารที่ก่อมะเร็งได้ จึงเป็นสาเหตุที่ต้องเตือนไม่ให้ใช้กันนั่นเองละค่ะ
เครดิต: Kapook และเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่