รับ เงินเยียวยาโควิด ม.33 ม.39-40 ทำยังไง ได้เงินวันไหน - Amarin Baby & Kids
เงินเยียวยาโควิด

เช็กสิทธิรับ เงินเยียวยาโควิด ม.33 ม.39-40 ต้องทำยังไง ได้เงินวันไหน?

Alternative Textaccount_circle
event
เงินเยียวยาโควิด
เงินเยียวยาโควิด

เงินเยียวยาโควิด – อัพเดท มาตรการเยียวยาของรัฐบาล สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐ  ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และ ล่าสุดประกาศเพิ่มอีก 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งหมด 13 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์สถานการณ์โควิด-19  จาก 9 กลุ่มอาชีพ ได้แก่

  • ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
  • การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
  • การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์
  • กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
  • กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
  • ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
  • การก่อสร้าง
  • กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
  • ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

เช็กสิทธิรับ เงินเยียวยาโควิด ม.33 ม.39-40 ต้องทำยังไง ได้เงินวันไหน?

โดย รัฐบาลกำหนดวันรับเงินเยียวยา 2,500 – 5,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งแบ่งเป็นรายละเอียดในการรับเงินดังนี้

  • กลุ่มลูกจ้าง ม.33 ได้รับเงินเยียวยา 2,500 บาท และลูกจ้างที่ตกงาน จ่ายชดเชยให้ 50 % ของค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท เริ่มโอนเงิน 6 ส.ค. นี้ แต่สำหรับลูกจ้างใน 3 จังหวัดที่รัฐประกาศเพิ่ม ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา จะได้รับโอนเงินหลังจากวันที่ 6 ส.ค. เป็นต้นไป
  • กลุ่มนายจ้าง ม.33 ได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาท/ลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน เริ่มโอนเงิน 6 ส.ค. นี้
  • กลุ่ม ม.39 และ 40 ที่เป็นกลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระ ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท  ต้องลงทะเบียนภายในเดือน ก.ค.นี้ เมื่อมีการลงทะเบียนครบแล้วคาดว่าจะเริ่มโอนเงินได้หลังจากวันที่ 6 ส.ค. เป็นต้นไป

* สำหรับลูกจ้าง และนายจ้าง ม.33 ที่ไม่ได้อยู่ใน 9 กลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบที่รัฐบาลประกาศ จะไม่เข้าเกณฑ์ในการได้รับเงินเยียวยา

เงินเยียวยาโควิด
เงินเยียวยาโควิด

รายละเอียด ลูกจ้าง แรงงาน ม.33 (ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย จากการปิดกิจการชั่วคราว)

สำหรับลูกจ้าง แรงงาน ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33  ที่ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยจากการปิดกิจการชั่วคราวจะได้รับเงินอัตโนมัติผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับบัตรประชาชน จะได้รับเงินชดเชยการว่างงานกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย 50 % ของรายได้ แต่ไม่เกิน 7,500 บาท แต่ในกรณีที่นายจ้างยินดีจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนจะรับเงินเยียวยาก้อนนี้ไม่ได้ แต่นายจ้างหรือเจ้าของกิจการต้องไปลงทะเบียนผ่านระบบ E- service ของกระทรวงแรงงาน แจ้งลงทะเบียนว่าต้องหยุดกิจการ โดยลูกจ้างต้องกรอกแบบฟอร์ม ชื่อ ข้อมูลส่วนตัวและบัญชีธนาคาร รวบรวมผ่านนายจ้างให้นายจ้างนำไปยื่นแก่สำนักงานประกันสังคมผ่าน e- service

รายละเอียด ลูกจ้าง ม.33 (ที่ไม่โดนหยุดกิจการ แต่อยู่ใน 9 กลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ)

สำหรับลูกจ้างสัญชาตไทยทุกคน ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33  ใน 9 กลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ จะได้รับเงินเยียวยา คนละ 2,500 บาท (1เดือน) สำหรับ 10 จังหวัดแรก (กทม. ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ) จะได้รับเงินอัตโนมัติผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับบัตรประชาชน ตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. 64 เป็นต้นไป สำหรับอีก 3 จังหวัด (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา) ที่ครม.เพิ่งอนุมัติ จะได้รับเยียวยา 2,500 บาท ในวันที่ 15 ส.ค. 64 โดยประมาณ ผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับบัตรประชาชน

เงินเยียวยาโควิด

รายละเอียด นายจ้าง ม.33 (ใน 9 กลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ)

สำหรับนายจ้าง ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ใน 9 กลุ่มกิจการ ในพื้นที่ล็อกดาวน์ จะได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน แต่ไม่เกิน 200 คน
สำหรับนายจ้างมาตรา 33 ใน 10 จังหวัดแรก (กทม. ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา )  ได้เยียวยาเข้าบัญชี วันที่ 6 ส.ค. 64  แต่สำหรับนายจ้างมาตรา 33 ใน 3 จังหวัด  (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา) ที่ครม.เพิ่งอนุมัติ จะได้รับเงินเยียวยาเข้าบัญชี วันที่ 15 ส.ค. 64 โดยประมาณ

มาตรา 33 ทั้งลูกจ้าง นายจ้าง ตรวจสอบสิทธิออนไลน์ คลิก >> https://www.sso.go.th/eform_news/

รายละเอียด อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ม. 39-40 

กลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 39 มาตรา 40 กลุ่มอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ที่อยู่ในกลุ่ม 9 กิจการอาชีพ และยังประกอบอาชีพ ในพื้นที่ 13 จังหวัด จะได้รับเงินเยียวยา คนละ 5,000 บาท (1เดือน) โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้

  • มาตรา 39  หรือ ผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน  นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน หากว่างงานเกิน 6 เดือน หรือไม่มีการยื่นเรื่องขอปลี่ยนมาตรา จาก ม.33 เป็น ม.39 ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออก จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ โดยผู้ที่อยู่ในมาตรา 39 แล้ว จะได้รับเงินโอนอัตโนมัติผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับบัตรประชาชนหลังวันที่ 6 ส.ค. เป็นต้นไป
  • มาตรา 40 หรือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ  สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเข้าระบบประกันสังคม มาตรา 40 สามารถลงทะเบียนเป็นผู้ประกันได้ที่ https://www.sso.go.th/section40_regist/  ภายในเดือน ก.ค. 64 เท่านั้น และจะได้รับเงินอัตโนมัติผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับบัตรประชาชน หลังวันที่ 6 ส.ค. เป็นต้นไป

* สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนสมัครมาตรา 40 ที่ถือบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน หรือสวัสดิการแห่งรัฐต่าง ๆ เมื่อสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 แล้วจะไม่มีผลกระทบกับสิทธิเดิมต่างๆ  โดยสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง และสวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ ที่เคยได้รับได้เหมือนเดิม แต่สิทธิประโยชน์ที่ได้เพิ่ม คือ มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท จากสำนักงานประกันสังคม เป็นต้น 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : mgronline.com , bangkokbiznews.com , prachachat.net , today.line.me

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รวมคำถามพบบ่อย คนท้องกับโควิด โดยคุณหมอโอฬาริก

แนวทางปฏิบัติตัวช่วงโควิด สำหรับ คนท้อง แม่หลังคลอด ทารกแรกเกิด

วิธีเช็กความ เสี่ยงติดโควิด-19 อาการแบบไหนต้องรีบไปตรวจหาเชื้อ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up