หาก “ลูก” ของเรา พลาดพลั้งถูกคนล่วงละเมิดทางเพศไปแล้วผู้เป็นพ่อเป็นแม่ก็คือ “ควรจะทำอย่างไรดี?”
1.ขั้นแรกคือต้องตั้งสติก่อน อย่าโวยวาย ตระหนกตกใจ โกรธเคืองให้ลูกเห็น เพราะจะทำให้ลูกตกใจกลัว ไม่กล้าเล่าความจริง ต้องรับฟังและเชื่อที่เด็กเล่าไว้ก่อน
2.หากสามารถเก็บรวบรวมหลักฐานการล่วงละเมิดทางเพศได้ ให้เก็บไว้ และถ่ายภาพร่องรอยบาดแผลของเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศไว้ (หากทำได้) แล้วพาไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล โดยที่ยังไม่ต้องชำระร่างกายเด็ก
3.พยายามดูแลสภาพจิตใจและร่างกายของลูก โดยช่วงเวลานี้คุณพ่อคุณแม่ต้องอยู่เป็นเพื่อนลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อปลอบประโลมลูก ไม่ให้ทำร้ายตัวเอง หากลูกมีสภาพจิตใจที่บอบช้ำมาก ให้พาลูกไปพบจิตแพทย์ เพื่อเยียวยาอาการโศกเศร้า
4.แจ้งความ คือ การจัดการทางกฎหมายที่ดีที่สุด ไม่ควรปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และให้เจ้าหน้าที่ตรวจตราสอดส่องพื้นที่บริเวณนั้น ๆ มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นตกเป็นเหยื่ออีก
- หากไม่ทราบว่าจะช่วยเหลือลูกได้อย่างไรจึงจะดีที่สุด ควรปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านนี้โดยตรง เพื่อให้ช่วยเยียวยา บำบัดสภาพจิตใจให้ลูกได้ทันท่วงที โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
- สภาทนายความ thaiitlaw.com โทร 0-2629-1430
- มูลนิธิเพื่อนหญิง or.th โทร 0-2513-1001
- ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเด็ก org/th โทร 0-2412-1196
- มูลนิธิปวีณาฯ or.th โทร 0-2577-0500-1 , 0-2577-0496-8
- มูลนิธิผู้หญิง org โทร 0-2433-5149 , 0-2434-6774
- สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี (บ้านพักฉุกเฉิน) apsw-thailand.org/socialworker_TH.htm โทร 0-2929-2301-5
- มูลนิธิมิตรมวลเด็ก 0-2245-9904, 0-2245-8072
- ศูนย์ประชาบดี callnet โทร 1300
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
นอกจากนี้ อีกคำถามที่คุณพ่อคุณแม่อดกังวลใจไม่ได้ ก็คือ หากลูกของเราที่ถูกละเมิดทางเพศยังเด็กอยู่มาก เขาจะจำความได้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แล้วจะเกิดผลกระทบอะไรต่อลูกในอนาคตบ้างหรือไม่
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้มีข้อมูลที่น่าสนใจในหนังสือคู่มือ อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็กทางเพศ โดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมูลนิธิมิตรมวลเด็ก และศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเด็ก 2537 จัดทำขึ้น โดยอธิบายว่า เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศจะได้รับผลกระทบมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับบุคลิกของเด็ก และประเภทของการถูกกระทำ โดยแบ่งเป็น
- กรณีที่ไม่รุนแรง เช่น การให้เด็กดูอวัยวะเพศ ใช้คำพูดลามกเล้าโลม กรณีนี้ อาจทำให้เด็กมีปัญหาด้านอารมณ์ และจิตใจชั่วครั้งชั่วคราว ได้แก่
- อาย กลัว สับสนตกใจง่าย
- รู้สึกผิด กระวนกระวาย
- กลัวถูกรังเกียจ
- ระแวงผู้ใหญ่และคนแปลกหน้า
- สนใจเรื่องเพศผิดปกติ หรือชอบจับคลำอวัยวะเพศของผู้อื่น
- กรณีรุนแรง คือผู้ล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กเป็นพ่อ แม่ ญาติใกล้ชิด หรือเด็กถูกกระทำโดยวิธีรุนแรง อาจมีผลต่อเด็กด้านต่าง ๆ คือ
2.1 ด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายของเด็กมีบาดแผล ฟกช้ำ เนื่องจากการถูกทำร้าย หรือมีปัญหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์
2.2 ด้านอารมณ์ ทำให้เด็กฝันร้าย ซึมเศร้า กังวล กรีดร้อง หรือพยายามทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย หวาดกลัวผู้ล่วงเกินทางเพศ หรือผู้ที่มีลักษณะคล้ายผู้ล่วงเกิน หรือบางกรณีก็อาจคลอเคลียกับบุคคลดังกล่าวนี้มากผิดปกติ
2.3 ด้านพฤติกรรม เด็กอาจมีอาการซึมเศร้า ผลการเรียนแย่ลง ก้าวร้าว หนีออกจากบ้าน ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่าย หรือหวนกลับไปสู่พฤติกรรมต่ำกว่าวัยของตนอย่างกะทันหัน อาจหันไปพึ่งเสพยาเสพติด สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองบ่อยผิดปกติ ยั่วยวน หรือสำส่อนทางเพศ
อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากผลกระทบที่เด็กได้รับเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ล่วงละเมิดไปแล้วหลายปี ทำให้บางครั้งนานจนดูเหมือนว่า เหตุการณ์นั้นไม่น่าจะมีผลอะไรต่อเด็ก แต่จริง ๆ แล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ยังฝังอยู่ในใจของเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหมั่นเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกอยู่เสมอ เพราะลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้น เมื่อลูกย่างเข้าสู่วัยรุ่น หรือเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้
ดังนั้นแล้ว หากลูกของคุณพ่อคุณแม่คนใด เกิดโชคร้ายเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นเอาใจใส่ ปลอบใจ และดูแลสภาพจิตใจของลูกให้ดีที่ดีสุด และที่สำคัญควรจะแจ้งความ เอาผิดผู้กระทำผิดทางกฎหมาย เพื่อไม่ให้เด็กคนแล้วคนเล่าต้องตกเป็นเหยื่อของใครอีก
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- อย่าปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว อันตรายไม่รู้ตัว
- กลยุทธ์แก๊งลักเด็ก พ่อแม่ควรรู้ และระวังตัว!!
- เรื่องดีให้ข้อคิดสะกิดใจ ลูกสาวเอาลูกอมยัดหมอนทุกๆคืน สุดท้ายแม่มาเจอและเพิ่งรู้สาเหตุที่แท้จริง…
ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.kapook.com