โรคเมลิออยโดสิส อันตรายถึงตาย อย่าปล่อยให้ลูกเล่นดิน - amarinbabyandkids
อย่าปล่อยให้ลูกเล่นดิน

อย่าปล่อยให้ลูกเล่นดิน เสี่ยง โรคเมลิออยโดสิส

Alternative Textaccount_circle
event
อย่าปล่อยให้ลูกเล่นดิน
อย่าปล่อยให้ลูกเล่นดิน

จากการเตือนของกรมควบคุมโรค ที่มีการพยากรณ์ให้เฝ้าระวัง 4 โรคที่จะระบาดในปี 2560 นี้ หนึ่งในโรคที่สำคัญคือ โรคเมลิออยโดสิส ซึ่งจากข้อมูลในปี 2559 พบว่ามีผู้ป่วย 3,171 คน และเสียชีวิต 6 คน ซึ่งพบมากในช่วงฤดูฝน คาดว่าในปีนี้ จะมีผู้ป่วยถึง 3,000 คน

โรคเมลิออยโดสิส โรคระบาดปี 2560

โรคเมลิออยโดสิส นี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ติดต่อได้จากการสัมผัสดิน หรือน้ำที่ปนเปื้อน อาจเข้ามาทางบาดแผล หรือจากการสำลัก หรือจากการกลืนน้ำ หรือหายใจเอาฝุ่น หรือละอองของดินที่มีเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งเชื้อนี้อยู่ในซากสัตว์ที่มีอยู่ในดิน หรือน้ำ และมีระยะเวลาในการฟักตัวเพียงสั้นๆ แค่ 2 วัน หรืออาจจะนานเป็นปี ขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อ และการแสดงอาการของโรค

ในประเทศไทย พบโรคเมลิออยโดสิสมากในภาคอีสาน อาการนั้นมีตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย ไปจนถึงมีเนื้อตาย แผล ฝี มีจุดหรือหนองที่ปอด ตับ หรือม้าม หรือมีฝีที่อวัยวะภายใน เนื้อเยื่อปอดอักเสบตาย หรือติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรวดเร็วไปจนถึงเสียชีวิต

กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเมลิออยโดสิส ได้แก่ เด็ก และผู้ใหญ่ ที่มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง ไตเรื้อรัง มะเร็ง ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องนานๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีการติดเชื้อที่รุนแรง ผู้ที่มีอาการเลือดเป็นพิษเฉียบพลัน จะมีอัตราการป่วยตายสูงถึง 40-60% และมักจะเสียชีวิตภายใน 24-48 ชั่วโมง

เมลิออยโดสิส

โรคเมลิออยโดสิส พบบ่อยในไทย แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้จักชื่อ

โรคนี้ฆ่าคนไทยตายแล้วมากกว่า 1,000 คน ซึ่งมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย ฉี่หนู ไข้หวัดนก และไข้เลือดออกรวมกันเสียอีก แต่โรคนี้ยังไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการป้องกัน และไม่รู้จักโรคติดเชื้อนี้เลยด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่คนไทยส่วนใหญ่ ต้องสัมผัสดิน และน้ำ ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคนี้อยู่ตลอดเวลา

ในปัจจุบัน จากการสำรวจอย่างไม่เป็นทางการพบว่า มีผู้ป่วยประมาณ 2,000-3,000 คน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการรายงานโรคเมลิออยโดสิสมากที่สุดในโลก และพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ซึ่งได้สมญานามว่า Capital of melioidosis

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “เชื้อก่อโรค และอาการของโรคเมลิออยโดสิส” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up