ในครั้งนั้น ผศ.นพ. ธีระ กลลดาเรืองไกร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้มีการแจ้งผลสรุปจากเหตุการณ์ดังกล่าวโดย ซึ่งทางคุณหมอ Pranya Sakiyalak ได้นำข้อมูลแมาผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยให้เครดิตโพสต์จาก ผศ.นพ. ธีระ กลลดาเรืองไกร เกี่ยวกับ สรุปการทดลองว่าด้วยเรื่องคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ในรถที่ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนี้
1. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เกิดขึ้นได้จาก การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องจักร, เครื่องยนต์ ไอเสียรถยนต์ ควันไฟไหม้
2. เป็นก๊าซที่ไม่สี ไม่มีกลิ่น และไม่ระคายเคือง ทำให้ไม่ทราบเลยว่า มีก๊าซนี้อยู่ในบริเวณนั้น
3. เมื่อหายใจเข้าไป จะเข้าไปแย่งจับกับเม็ดเลือดแดง แทนที่ของออกซิเจน จึงทำให้ไม่มีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะสมอง
4. ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว (91%) , มึนหัว (77%), คลื่นไส้อาเจียน(47%) อาการอื่นๆ เช่น สับสน ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้
5. ถ้าจำเป็นต้องจอดรถ สตาร์ทรถไว้ และเปิดแอร์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่