ฝุ่น PM2.5 ภายในบ้าน อันตรายที่คุณควรรู้!! - Amarin Baby & Kids
ฝุ่น PM2.5

ฝุ่น PM2.5 ภายในบ้าน อันตรายที่คุณควรรู้!!

Alternative Textaccount_circle
event
ฝุ่น PM2.5
ฝุ่น PM2.5

ฝุ่น PM2.5 ที่กำลังก่อปัญหาหนักในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า หากเราหลบอยู่แต่ในบ้าน จะสามารถหลีกเลี่ยงได้ไหม เรามีคำตอบจากคุณหมอมาฝากกัน

ฝุ่น PM2.5 ภายในบ้าน อันตรายที่คุณควรรู้!!

เมื่อปัญหาฝุ่นควันพิษยังไม่ได้รับการแก้ไข ในวันที่ค่า ฝุ่น PM2.5 กลับมาสูงอีกครั้ง ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียต่อปัญหาสุขภาพมากกว่า เราควรตระหนักถึงอันตรายของเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้กันได้แล้วหรือยัง??

ฝุ่น PM2.5อันตรายแค่ไหน??

มลพิษทางอากาศที่มีอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในปีพ.ศ. 2561 มีพื้นที่ 28 แห่งจาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) ที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานในบรรยากาศของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์และพื้นที่เมืองทั้ง 53 แห่ง ยังมีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินค่าตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อเด็กเล็ก
ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อเด็กเล็ก

จากการศึกษาโดย Institute for Health and Evaluation, University of Washington สนับสนุนโดย ธนาคารโลก พบว่า มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารเคมีหลายชนิดทั้งที่เป็นสารระคายเคืองไปจนถึงสารก่อมะเร็งจึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรค ได้แก่

  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคมะเร็งปอด
  • โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง สำหรับก๊าซโอโซนเป็นสารระคายเคืองปอด ทำให้ปอดติดเชื้อง่าย จึงเป็นปัจจัยร่วมอันก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ฝุ่น PM2.5 ถูกพิจารณาว่าเป็นมลพิษที่มีผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุดในบรรดามลพิษทางอากาศโดยทั่วไป เนื่องด้วยขนาดที่เล็กมาก PM2.5 สามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ และจากนั้นก็ไปทั่วร่างกาย ฝุ่น PM 2.5 นี้ยังสามารถรวมตัวกับสารมลพิษ เช่น สารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนัก และด้วยขนาดที่เล็กมากจึงสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูก ไปยังหลอดลม และลงลึกจนถึงถุงลมปอด ซึมเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวมากมาย จากข้อมูล State of Global Air ระบุว่า PM2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขโดยที่เด็ก คนสูงวัยและกลุ่มประชากรเสี่ยงในสังคมได้รับผลกระทบมากที่สุด

คุณกำลังก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 อยู่หรือไม่??

PM2.5 มาจากทั้งแหล่งกำเนิดปฐมภูมิ เช่น การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต และแหล่งกำเนิดแบบทุติยภูมิ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น ดังนั้น การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลและการผลิตทางอุตสาหกรรม เมื่อเกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศจะมีผลต่อการก่อตัวของ PM2.5 ขั้นทุติยภูมิอีกด้วย

มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM2.5
มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM2.5

รู้หรือไม่?? กิจกรรมในครัวเรือน ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้!!

การก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 แม้ว่าโดยหลัก ๆ แล้วจะเกิดจากการคมนาคม อุตสาหกรรม ต่าง ๆ มากที่สุด แต่ใช่ว่ากิจวัตรประจำวันของมนุษย์เราจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทำให้เกิดฝุ่นพิษได้ ดังนี้

  1. การสูบบุหรี่ บุหรี่ 1 มวน ประกอบด้วย ใบยาสูบ กระดาษที่ใช้มวน และสารเคมีหลายร้อยชนิด แต่เมื่อเกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมีกว่า 4000 ชนิด ในขณะที่ไม่มีการสูดควันปลายบุหรี่จะมีความร้อนสูงมาก และเมื่อควันที่ปลายบุหรี่เจออากาศ ก็จะทำให้สารบางชนิดเกิดปฎิกิริยากลายเป็นสารพิษ เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ ยิ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนมากขึ้น ก็จะจับตัวกับออกซิเจน กลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์
  2. การจุดธูปเทียน เมื่อเราจุดธูปจะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่าง ๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนเจนไดออกไซด์ และสารก่อมะเร็ง
  3. เครื่องถ่ายเอกสาร ในกระบวนการถ่ายเอกสาร ก๊าซโอโซนเป็นก๊าซหลักที่เกิดขึ้นจากการอัดและปล่อยประจุไฟฟ้าที่ลูกกลิ้ง และกระดาษ อีกทั้งก๊าซโอโซนบางส่วนยังเกิดจากแสงอัลตราไวโอเลต จากหลอดไฟพลังงานสูงในเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งก๊าซโอโซนนี้เป็นก๊าซที่มีความเป็นพิษสูง ทำลายสุขภาพมากที่สุดในบรรดาสารหรือก๊าซอันตรายต่าง ๆ นอกจากโอโซนแล้ว มลพิษจากกระบวนการถ่ายเอกสารที่พบมาก คือ สารประกอบอินทรีย์ระเหย VOCs (Volatile Organic Compounds)
  4. การหุงต้มด้วยถ่านไม้ หรือฟืน ซึ่งพบได้ในชนบทส่วนมาก หรือแม้แต่การเผาขยะ เป็นต้น

ใครว่าหลบแต่ในบ้านจะหลีกเลี่ยงฝุ่นพิษได้??

ต่อข้อคำถามดังกล่าว เราขออนุญาตนำความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.ภายในบ้าน จากคลิปดี ๆ ของ อ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จะมาเล่าถึงงานวิจัยที่แสดงว่า ค่าฝุ่น PM2.5 ภายนอกบ้านส่งผลต่อค่าฝุ่นภายในบ้านด้วย อีกทั้งยังพบว่ามีบางบ้านที่ภายในบ้านมีค่าฝุ่น PM2.5 สูงกว่าภายนอกอีกด้วย จริง ๆ แล้วฝุ่น PM2.5 ภายในบ้านเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะมีวิธีป้องกันมันได้หรือเปล่า มาฟังกัน

 

ขอขอบคุณคลิปดีๆ  จาก @mahidolchannel

อ่านต่อ >> วิธีป้องกันฝุ่นพิษจิ๋ว PM2.5 ทำได้อย่างไร คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up