พ่อแม่ควรส่งลูกเข้าโรงเรียนอายุเท่าไหร่กันแน่!
โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ได้ให้คำตอบเรื่องนี้ไว้อย่างตรงไปตรงมาและไม่เกรงใจกระแสสังคมคือ อย่างเร็วที่สุดก็ 6 ขวบ และแท้จริงแล้วควรมีข้อห้ามห้ามส่งลูกไปจากเรา (พ่อแม่) ก่อนอายุ 3 ขวบเสียด้วยซ้ำ
แต่ก็คงเป็นที่เข้าใจได้ว่า คุณพ่อคุณแม่คงต้านกระแสสังคมได้ยาก เพราะปัจจุบันนี้มีคุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ส่งลูกไปสถานรับเลี้ยงเด็กเร็วมาก หรือส่งลูกไปโรงเรียนอนุบาลเร็วมาก อีกทั้งได้มีเรื่องของการพาไปกวดวิชาเพื่อเข้าเรียนชั้นอนุบาลและการสร้างห้องอัจฉริยะสำหรับเด็กอนุบาล
จะเป็นอย่างไรก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการของเด็กเล็กไว้บ้าง ก็จะสามารถผ่อนหนักเป็นเบา หรือช่วยทุเลาความเสียหายจากเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นได้บ้าง ซึ่งสำหรับเด็กที่ไม่ชอบวิชาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก เพราะการเป็นพ่อแม่คือต้องให้เวลากับลูกมากที่สุด เล่นกับเขามากที่สุด และอ่านหนังสือให้เขาฟังก่อนเข้านอนตั้งแต่แรกเกิด ทำเท่านี้ทุกอย่างจะดีเอง
♥ Must read : รู้มั้ย? คุณพ่อ คุณแม่ ครอบครองลูกน้อยได้กี่ปี?
♥ Must read : 365 วัน เตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนเข้าอนุบาล
♥ Must read : ควรเลือกโรงเรียนอนุบาลที่วันๆ เอาแต่เล่นกับเด็ก ทำไม?
เหตุผลที่ไม่ควรให้ลูกไปพ่อแม่ก่อน 3 ขวบ
ซึ่งเหตุผลที่คุณหมอไม่อยากให้ลูกต้องจากคุณพ่อคุณแม่ไปก่อนอายุ 3 ขวบ เพราะในช่วง 3 ขวบปีแรก เด็กมีภารกิจที่ต้องทำหลายข้อ โดยแต่ละข้อนั้นต้องอาศัยคุณแม่หรือคุณพ่อหรือปกครองซึ่งอุทิศตนทำหน้าที่ช่วยเหลือเด็ก เพราะภารกิจเหล่านี้เขายังทำเองไม่ได้และคุณครูที่โรงเรียนก็ช่วยไม่ได้ด้วยเช่นกัน โดยมี 3 ภารกิจหลัก ดังต่อไปนี้
3 ภารกิจเหล่านั้นคืออะไร?
ภารกิจที่ 1 คือเรียนรู้ที่จะไว้ใจสิ่งแวดล้อมและโลก (Trust)
เด็กไว้ใจโลกจึงจะพัฒนาต่อไปได้ จากที่เอาแต่กินนมไปจนกระทั่งเดินจากแม่สู่โลกกว้าง โลกจะน่าไว้ใจต่อเมื่อโลกนั้นปลอดภัยอย่างยิ่งใน 12 เดือนแรกของชีวิต จึงเป็นหน้าที่ของแม่ที่จะเลี้ยง อุ้ม กอด ให้นม ห่มผ้า เปลี่ยนผ้าอ้อม เปิดพัดลม เปิดแอร์ หยิบมดออกจากตัวเขา ไล่แมลงและยุง ฯลฯ นี่คืองานของแม่หรือพ่อหรือใครหนึ่งคนที่รักเขาประหนึ่งลูกของตนเอง ไม่ใช่งานของครู
ภารกิจที่ 2 คือเรียนรู้ว่าแม่มีอยู่จริง พร้อมสร้างสายสัมพันธ์กับแม่ และสร้างตัวตน ตามลำดับ
การปรากฏตัวของคุณแม่เกือบตลอดเวลา การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการหายตัวไปเป็นบางครั้งเพราะในชีวิตจริงแม่ก็ไม่สามารถอยู่กับลูกได้ตลอดเวลา ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้ลูกรับรู้ว่าโลกนี้มีแม่แน่ๆ ต่อให้หายตัวไปบ้างเดี๋ยวก็กลับมา ก็ช่วยให้ลูกรับรู้ว่าเขาสามารถเดินเตาะแตะไปจากแม่ได้ อย่ากลัวว่าแม่จะหายไป หันมาดูเมื่อไรแม่ก็อยู่ตรงนั้นแหละ
♥ Must read : ลูกเข้าสู่ วัยทอง 2 ขวบ งอแงไร้เหตุผล เพราะอะไรต้องดู!
และครั้นเมื่อลูกใกล้อายุ 3 ขวบ เขาจะเป็นคนขึ้นมาจริงๆ เสียที เป็นมนุษย์ที่มีตัวตนของตนเองและเริ่มต้นที่จะเป็นอิสระจากคุณแม่ ซึ่งระหว่าง 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบนั้นเองจะเกิดกระบวนการที่สำคัญมากที่สุดครั้งหนึ่งของชีวิตมนุษย์นั่นคือกระบวนการแยกตัวเป็นบุคคลอิสระ (separation-individuation) และพร้อมจะไปจากคุณแม่ นั่นเอง
♦ ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เรื่องสำคัญที่สุดน่าจะเป็นสายสัมพันธ์ สายสัมพันธ์คือสายใยที่มองไม่เห็นโยงลูกไว้กับแม่ สายใยนี้ทอดไปได้ไกลแสนไกล และอยู่เหนือกาลเวลา นั่นแปลว่าถึงเวลาเขาไปโรงเรียน ไปหอพัก ไปเรียนต่างประเทศ สายใยนี้ยังคงยึดโยงลูกไว้กับแม่ แม้ว่าแม่ตายแล้ว สายใยนี้ก็ยังยึดโยงลูกไว้กับแม่ พูดสั้นๆ คือ แม่อยู่ในใจเสมอ ♦
สายสัมพันธ์ทำหน้าที่ดึงลูกมิให้ออกนอกลู่นอกทาง และทำหน้าที่ประหนึ่งสมอเรือที่คอยยึดโยงเรือมิให้ล่มยามพบพายุร้าย แต่ที่น่าห่วง คือ การสร้างสายใยนี้ หากยังไม่ทันเสร็จก็ส่งลูกไปโรงเรียนคล้ายๆ ส่งเรือกระดาษออกทะเลไปนั่นเอง และบัดนี้เมื่อลูก 3 ขวบแล้วก็จริง แต่ก็ควรถ่วงเวลาไว้อีกอย่างน้อย 2 ปีก็ดี ด้วยเหตุเพราะเขายังต้องการเวลาทำภารกิจที่ 3
♥ Must read : 5 ขั้นตอนฝึกสมอง ให้ลูกพร้อมแยกจากแม่เมื่อไปโรงเรียนวันแรก
ภารกิจที่ 3 คือเตรียมความพร้อมของสมอง
หมายถึงเตรียมสมองและวิธีคิดขั้นพื้นฐานให้พร้อมก่อนที่จะไปโรงเรียน วิธีคิดเหล่านี้คือวิธีคิดแบบเด็กๆ แต่วิธีคิดแบบเด็กๆ มิใช่เรื่องเหลวไหลดังที่คนส่วนใหญ่ประมาทกัน วิธีคิดแบบเด็กๆ คือวิธีทำงานขั้นพื้นฐานของสมอง เปรียบเสมือนระบบปฏิบัติการที่ดีและจะเป็นแพล็ตฟอร์มสำหรับวิธีคิดระดับสูงในวันข้างหน้า โดยมี 4 วิธีสำคัญ ดังนี้…
อ่านต่อ “วิธีคิดแบบเด็กๆ ที่ลูกเราควรมี พร้อม 7 ทักษะง่ายที่พ่อแม่ควรสอนลูกก่อนเข้าโรงเรียน” คลิกหน้า 3
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- ฝึกทักษะลูกก่อนเข้าโรงเรียน
- คำถามที่ควรถาม…หลังลูกกลับจากโรงเรียน
- คัมภีร์รับมือ 10 วิธี ทำให้ลูกอยากไปโรงเรียน ได้ผล 100%
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่