วิธีคิดแบบเด็กๆ ที่สำคัญได้แก่
- animism คิดว่าอะไรเคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต ดังนั้นให้เขาเล่นตุ๊กตุ่นตุ๊กตาให้อิ่ม
- ego-centricism คิดว่าเรื่องราวรอบตัวล้วนเกี่ยวพันกับตัวเอง ดังนั้นเรายังต้องใช้เวลาช่วง 2-5 ขวบทำให้เขารู้ว่าเขามีบ้านและกติกาของบ้าน มีสังคมและกติกาของสังคมที่จะต้องเรียนรู้ เขามิใช่ศูนย์กลางของจักรวาลดังที่เข้าใจ
- magical thinking คิดเชิงเวทมนตร์ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่นี่คือวิธีคิดที่เปี่ยมล้นจินตนาการและไร้ขอบเขต เปรียบเสมือนทำสนามฟุตบอลกว้างไว้ก่อน อย่างอื่นว่ากันทีหลัง
- phenomenalistic causality คิดว่าเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดพร้อมกันเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน พูดง่ายๆ ว่าจับแพะชนแกะ ปล่อยเขาจับแพะชนแกะให้พอก่อนที่จะต้องไปพบเหตุและผลจริงๆ ที่โรงเรียน
และภารกิจทั้ง 3 ประการนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่ง 3 ขวบ จะเกิดอย่างเข้มข้นตั้งแต่ลูกอายุ 6 เดือนจนถึง 2 ขวบครึ่ง วิธีช่วยให้ลูกทำภารกิจ 3 ประการนี้สำเร็จก็ด้วยการที่พ่อหรือแม่ควรให้เวลาลูกอย่างมากที่สุด เล่นด้วยกันมากที่สุด และอ่านหนังสือนิทานก่อนนอนทุกคืน ของง่ายๆ นี่คืองานของแม่หรือพ่อหรือใครหนึ่งคนที่รักเขาประหนึ่งลูกของตนเอง ไม่ใช่งานของครู!!!
เรื่อง : นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
7 ทักษะที่ควรสอนให้เด็กเรียนรู้ก่อนเข้าโรงเรียน √
แลเมื่อทั้ง 3 ภารกิจ ดังที่กล่าวมาข้างต้นครบแล้ว ก่อนถึงวันแรกที่ลูกใส่ชุดนักเรียน Amarin Baby & Kids อยากจะชวนคุณแม่และลูก ๆ มาเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนกันหน่อย เพราะมีแค่อุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน เสื้อผ้าคงไม่พอ คุณแม่นั้นควรฝึกทักษะของลูกให้พร้อม ด้วย 7 ทักษะพื้นฐานง่ายๆ ดังนี้
♥ Must read : เช็กลิสต์และเตรียมของใช้ลูก ก่อนไปโรงเรียนอนุบาลวันแรก!
♥ Must read : สิ่งที่ต้องสอนลูกก่อนวัย 3 ขวบ เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าโรงเรียน
1. ฝึกจับดินสอ/เขียนชื่อตัวเอง
เด็ก ส่วนใหญ่จับดินสอผิดวิธี เพราะมักจะยึดเอาความสะดวกไว้ก่อน หากคุณแม่ไม่สอนวิธีจับดินสอที่ถูกวิธีให้กับลูก ลูกก็อาจจะติดนิสัย จับดินสอแบบผิด ๆ ไปจนโต ซึ่งคุณแม่ควรสอนวิธีจับที่ถูกวิธีให้กับลูกตั้งแต่ตอนนี้ โดยเริ่มจากใช้นิ้วกลางรองดินสอ และใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งบังคับทิศทาง ส่วนนิ้วนางกับนิ้วก้อยวางพักไว้บนโต๊ะ เห็นไหมล่ะว่าการจับดินสอแบบถูกวิธีนั้นไม่ยากเลย และยังได้ลายมือสวย ๆ เป็นของแถมอีกต่างหาก
♥ Must read : เทคนิคการฝึกสอนลูกวัยอนุบาลหัดเขียนชื่อตัวเอง
สำหรับการฝึกให้ลูกเขียนชื่อ คุณพ่อคุณแม่ ควรเขียนตัวอย่างชื่อเล่น ชื่อจริง และนามสกุล ให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง จากนั้นคุณแม่จับมือลูก ๆ แล้วลากเส้นตามตัวอักษร หรือจะทำชื่อเป็นเส้นประ แล้วให้ลูก ๆ ลากไปตามเส้นประก็ได้ ฝึกไปเรื่อย ๆ จนกว่าเขาจะเขียนคล่อง แล้วค่อยเปลี่ยนให้ลูกเขียนชื่อตัวเองบนกระดาษเปล่าดู ถ้าเขียนได้แล้ว แสดงว่าลูกของคุณพร้อมที่จะไปโรงเรียนได้แล้วค่ะ
2. การล้างมือ
เพราะการ ล้างมือเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะในชีวิตประจำวันคุณแม่ใช้มือจับสิ่งของต่าง ๆ มากมาย อาจมีเชื้อโรคติดมากับมือ ดังนั้นเพื่อช่วยป้องกันเชื้อโรคให้กับลูก ๆ ก็ควรสอนให้เขารู้จักวิธีล้างมือด้วย คุณแม่ควรสอนไปทีละขั้นตอน ทั้งวิธีฟอกสบู่ และวิธีล้างมือ เพื่อปลูกฝังสุขอนามันที่ดีให้กับลูก ๆ ของคุณ
♥ Must read : ฝึก “วินัย” ลูก ให้ความสามารถนำทางชีวิตด้วยตัวเอง
♥ Must read : 6 เทคนิคง่ายๆ ฝึกลูกนั่งกระโถน ก่อนวัย 1 ขวบ
3. การแต่งตัว
ใน เช้าที่เร่งรีบคุณแม่ทั้งหลายคงหัวปั่นกันน่าดู ถ้าไม่สอนให้ลูก ๆ ใส่เสื้อด้วยตัวเอง อาจจะเริ่มจากวิธีการสวมเสื้อยืดธรรมดาก่อน วิธีนี้จะช่วยให้เขาเรียนรู้การใส่เสื้อด้วยตัวเองได้ง่ายขึ้น และเมื่อลูก ๆ ใส่เสื้อยืดจนชำนาญ ก็เปลี่ยนจากเสื้อยืด เป็นเสื้อแบบที่มีกระดุม อย่างเช่น เสื้อเชิ๊ต หรือเสื้อโปโล เป็นต้น
♥ Must read : ฝึกลูกน้อยวัยขวบเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูป
♥ Must read : ฝึกลูก เลิกขวดนม ง่ายๆ ภายใน 1 ขวบ!! ป้องกันฟันผุ
4. การกินข้าว
หลาย ๆ โรงเรียนนิยมใช้จานหลุมมากกว่าจานธรรมดา เพราะสามารถใส่ทั้งอาหารคาว อาหารหวานได้ในถาดเดียว ดังนั้นคุณแม่ทั้งหลายก็ควรฝึกให้ลูก ๆ เคยชินกับการกินข้าวแบบจานหลุมด้วย
5. การเปิดปิดสิ่งของ
ควรสอนให้ลูกรู้จักวิธีเปิดปิดสิ่งของ ทั้งอาหารและสิ่งของ โดยเริ่มจากของง่าย ๆ อย่างเช่น วิธีเปิดกล่องสี วิธีเปิดฝาขวดนม วิธีแกะถุงขนม หรือวิธีแกะเปลือกลูกอม เพื่อให้เขาสามารถช่วยตัวเองได้ ในช่วงเวลาที่ไปโรงเรียน
6. การวาดรูป/ระบายสี
เริ่มสอนจากการลากเส้นง่าย ๆ ก่อน เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง และเส้นหยัก เมื่อลูกฝึกจนชินมือแล้ว ก็ต่อด้วยการวาดรูปทรงจากเส้นต่าง ๆ เช่น การใช้เส้นตรงวาดรูปสี่เหลี่ยม ใช้เส้นโค้งวาดรูปวงกลม เพื่อให้เขารู้จักการปะติดปะต่อเรื่องราวต่าง ๆ และถ้าอยากจะเพิ่มระดับให้ยากขึ้น ก็ฝึกให้ลูก ๆ วาดภาพบ้าน ภาพคน ภาพต้นไม้ก็ได้
ทั้งนี้การใช้สีสัน ต่าง ๆ นอกจากจะช่วยทำให้เด็ก ๆ จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีผลต่อความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย ดังนั้นคุณควรให้ลูกรู้จักกับการระบายสีตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่เขาจะเข้าโรงเรียนโดยเริ่มจากสีที่ใช้ง่าย ๆ อย่างเช่น ดินสอสี หรือสีเทียน และถ้าหากลูก ๆ ของคุณแม่ชอบการระบาย ก็อาจจะฝึกการใช้สีอื่น ๆ เช่น สีน้ำ หรือสีโปสเตอร์เพิ่มเติม
♥ Must read : รวมแบบฝึกหัดอนุบาล กว่า 60 แบบฝึก
7. การใช้กรรไกร
อาจ จะดูอันตรายเกินไปหน่อย ถ้าจะปล่อยให้ลูกใช้กรรไกรตั้งแต่ครั้งแรก ดังนั้นคุณแม่ควรฝึกการใช้คีมคีบของไปก่อน โดยเริ่มจากการคีบของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ช่วยคุณแม่คีบผักใส่หม้อต้มซุป หรือคีบของเล่นเล็ก ๆ เก็บใส่กล่องก็ได้ หลังจากที่ใช้คีมคีบของจนคล่องแล้ว ก็ให้ลูก ๆ ตัดของกับกรรไกรดูบ้าง ในช่วงแรกอาจจะให้ฝึกตัดซองขนมไปก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนมาตัดรูปทรงต่าง ๆ จากกระดาษก็ได้
สุดท้ายนี้ แท้จริงแล้ว ในทางปฏิบัติ ช่วง 4-5 ขวบเป็นเวลาที่เด็กจะได้ฝึกช่วยตนเองอย่างจริงจัง กินข้าว แปรงฟัน แต่งตัว ฝึกทำงานบ้านส่วนที่เป็นเรื่องของตัวเอง เก็บที่นอน เทกระโถน เก็บจานของตนเอง ฝึกทำงานบ้านส่วนที่เป็นของสาธารณะ ช่วยกวาดบ้านถูบ้าน ล้างถ้วยล้างจาน ซักผ้าตากผ้า และฝึกทำตามกติกาสังคมนอกบ้าน รู้จักรอคอย รู้จักเข้าคิว รู้จักแบ่งปัน เรื่องเหล่านี้ที่จริงแล้วเราควรทำมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เขาใช้มือใช้เท้าได้ดี และเข้มข้นขึ้นทุกปีที่ผ่านไป ผลลัพธ์สุดท้ายที่เราจะได้คือเขาภูมิใจที่ช่วยตนเองและควบคุมอารมณ์ตนเองได้ นี่จึงเป็นความพร้อมที่แท้ก่อนไปโรงเรียน
ส่วนในทางทฤษฎี เด็กๆ จะพร้อมปะทะมนุษย์คนอื่นได้อย่างดีคือเพื่อนๆ ที่โรงเรียนเมื่ออายุมากกว่า 6 ขวบขึ้นไป เรียนรู้วิธีปะทะสังสรรค์ ทะเลาะเบาะแว้งตบตี และคืนดีช่วยเหลือกันและกัน ธรรมชาติของพัฒนาการจะเป็นผู้ดูแลพฤติกรรมเหล่านี้ให้เองเพราะเด็กๆ อยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอยู่แล้ว ส่งไปโรงเรียนเร็วเกินไปเขาทำเรื่องพวกนี้ไม่เป็น เกิดปัญหาอารมณ์แทรกซ้อนเสียเปล่าๆ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- ควรรู้! 20 เรื่องสำคัญ ที่พ่อแม่ต้องบอกครู และคุณครูอยากบอกกับพ่อแม่
- 30 คำถามหลังเลิกเรียน ไขปริศนาปัญหาที่โรงเรียนลูก
- 16 ภาพทั้งฮาและน่ารัก ของเด็กๆ ก่อน VS หลัง ไปโรงเรียนวันแรก
- คำถาม 15 ข้อ ที่พ่อแม่ควรถามลูกเพื่อให้เข้าใจลูกมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : sotiya.ac.th