ประกันสังคม เพิ่มเงินคลอดบุตร-ฝากครรภ์ ให้แม่รับปีใหม่!! - Amarin Baby & Kids
ประกันสังคม

ประกันสังคม เพิ่มเงินคลอดบุตร-ฝากครรภ์ ให้แม่รับปีใหม่!!

Alternative Textaccount_circle
event
ประกันสังคม
ประกันสังคม

ข่าวดีรับปีใหม่สำหรับแม่ ๆ ทุกคน ประกันสังคม มอบของขวัญปีใหม่ 5 กล่อง เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร เพิ่มเงินค่าคลอดบุตร เพิ่มค่าฝากครรภ์ และลดเงินสมทบ!! อ่านรายละเอียดด่วน!!

ประกันสังคม เพิ่มเงินคลอดบุตร-ฝากครรภ์ ให้แม่รับปีใหม่!!

ก่อนหน้านี้ได้มีข่าวว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ ประกันสังคม ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรให้กับผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุ 0-6 ปี จากเดือนละ 600 บาท เป็นเดือนละ 800 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แม่เฮ! เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร จาก 600 เป็น 800 เริ่ม 1 มค. 64) ในวันที่ 24 ธันวาที่ผ่านมา ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ก็ได้ออกมาประกาศข่าวดีเพิ่มเติมว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 แก่ผู้ประกันตนในระบบกองทุนประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังต่อไปนี้

เงินสงเคราะห์บุตร
เงินสงเคราะห์บุตร
  1. เงินสงเคราะห์บุตร

เดิม สำนักงานประกันสังคม จะจ่ายให้กับผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เดือนละ 600 บาท ต่อคน โดยจ่ายคราวละไม่เกิน 3 คน

ใหม่ ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร ให้กับผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็น 800 บาทต่อคน โดยจ่ายคราวละไม่เกิน 3 คน

ในการนี้มีผู้ประกันตนได้รับประโยชน์จำนวน 1.362 ล้านคน คิดเป็นเงิน 13,739 ล้านบาท/ปี ใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดิม 3,432 ล้านบาท ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกันตนที่มีบุตรโดยจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

สำหรับระยะการจ่ายเงินกรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรที่ปรับเพิ่มของงวดเดือนมกราคม 2564 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นไป (จะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีจำนวน 800 บาท ในเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นไป)

2. ค่าคลอดบุตร

คลอดบุตรประกันสังคม

คลอดบุตรประกันสังคมเดิม เหมาจ่ายค่าคลอดบุตรครั้งละไม่เกิน 13,000 บาทต่อครั้ง

ใหม่ ปรับเพิ่มค่าคลอดบุตรเป็น 15,000 บาท ต่อครั้ง นอกจากนี้ ผู้ประกันตนหญิงที่เป็นคุณแม่ ยังมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท) เป็นระยะเวลา 90 วัน ซึ่งจะใช้สิทธิกับบุตรได้เพียง 2 คนเท่านั้น ถ้ามีบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานแล้ว ตัวอย่างเช่น มีเงินเดือน 15,000 บาท ก็จะได้เงินสงเคราะห์หยุดงานรวมทั้งหมด 22,500 บาท (7,500×3 เดือน)

การดำเนินการในครั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน พ.ศ.2563 ซึ่งในปี 2564 คาดว่า มีผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์ทดแทนจากกรณีคลอดบุตร 293,073 คน/ปี คิดเป็นเงิน 4,396 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคม จ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 586.146 ล้านบาท

** มีผลบังคับใช้ 1 มค. 64 ** 

3. ค่าฝากครรภ์

เดิม ประกันสังคม จะจ่ายค่าฝากครรภ์ โดยจะแบ่งจ่ายตามอายุครรภ์เป็นครั้ง ๆ ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
  • ครั้งที่2 อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
  • ครั้งที่ 3 อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

จ่าย 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ใหม่ ปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ เป็น 5 ครั้ง รวมเป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท

คาดว่าจะมีผู้ประกันตนได้รับสิทธิประมาณ 122,114 ครั้ง/ปี เป็นเงิน 36.6 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 17.89 ล้านบาท ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 รายชื่อหมอสูติ หมอฝากครรภ์ฝีมือดี ที่แม่ท้องบอกต่อ

4. เงินสมทบ

เดิม การจ่ายเงินสมทบของแต่ละฝ่าย มีดังนี้

  • นายจ้าง – 5%
  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 – 5%
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 – 9%

ใหม่ ปรับลดเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เหลือร้อยละ 3 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ลดลงเหลือ 278 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2564)

เพื่อช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วย แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง และผู้ประกันตน ในการจ่ายเงินสมทบรวมเป็นเงินจำนวน 15,660 ล้านบาท

5. สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน

คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามที่ ประกันสังคม กระทรวงแรงงานเสนอ โดยสาระของร่างดังกล่าว กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย และหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาด ของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เป็นผลกระทบให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

โดยให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างดังกล่าว มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ สั่งปิดพื้นที่ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทินมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน

ดังนั้น หากร่างกฎกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับจะทำให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จากการที่หน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตราย คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ จำนวน 700,727 ครั้ง ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย คิดรวมเป็นเงินกว่า 5,225 ล้านบาท

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขึ้นทะเบียนว่างงาน ผู้ประกันตน ประกันสังคม ทำได้อย่างไร?

ประกันสังคม
ประกันสังคม

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับของขวัญปีใหม่เอาใจแม่ ๆ จาก ประกันสังคม แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร การเลี้ยงดูบุตร การฝากครรภ์นั้น มีค่าใช้จ่ายมากกว่าที่ได้รับมาจาก ประกันสังคม อยู่มาก แต่อย่างน้อยเงินจำนวนนี้ก็สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับแม่ ๆ ได้ไม่มากก็น้อย และหากต้องการสอบถามรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อไปที่สายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธีเช็คเงินสมทบ-ค่าคลอดบุตร ผ่าน แอพเช็คประกันสังคม

วิธี เช็คสิทธิ์ประกันสังคม ง่ายๆ แต่ละมาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร?

เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร ไปที่ไหน เงินเข้าเมื่อไหร่ เช็กเลย!

ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม, Facebook สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, www.sanook.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up