หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้ ไม่ผิด - Amarin Baby & Kids
หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้ ไม่ผิดกฎหมาย

Alternative Textaccount_circle
event
หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้
หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

ก่อนหน้านี้เป็นประเด็นที่พูดถึงว่าการทำแท้งในประเทศไทย ผิดกฎหมายหรือไม่ ? ล่าสุดได้มีประกาศออกมาแล้วนะคะว่า หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามนี้ค่ะ

 

หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

ประกาศแล้ว ราชกิจจานุเบกษา โปรดเกล้าฯ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำแท้งได้ ตามหลักเกณฑ์ มาตรา 305

จากเดิม “มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ทั้งนี้ให้ใช้ข้อปฏิบัติต่อไปนี้แทนใน “มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด

  1. จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น
  2. จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
  3. หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ
  4. หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์
  5. หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ซึ่งตามข้อปฏิบัติ 1-4 คุณแม่ตั้งครรภ์ที่จะขอให้มีการยุติการตั้งครรภ์ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แจ้งไว้ ถึงจะไม่มีความผิดทางกฎหมาย และการร้องขอให้ทำแท้ง อายุครรภ์ต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์

ส่วนข้อปฏิบัติที่ 5 ให้รายละเอียดไว้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ยังไม่เกิน 20 สัปดาห์ หากมีความต้องการที่จะยุติการตั้งครรภ์ หลังจากได้มีการตรวจครรภ์แล้ว จะต้องอยู่ในดุลพินิจจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์เท่านั้น

หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

การแท้งที่ไม่ปลอดภัย ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ

ข้อมูลจากสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ทุกประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการแท้งที่ไม่ปลอดภัยในลำดับต้น ๆ ปัญหานี้แตกต่างจากปัญหาสาธารณสุขอื่น ๆ และสัมพันธ์กับปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ ศีลธรรม จริยธรรม ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม การเมือง และกฎหมาย โดยการแท้งเป็นการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม การแท้งที่ไม่ปลอดภัย การแท้งที่ไม่ครบ (Incomplete abortion) การแท้งซ้ำซ้อน (Inevitable abortion) และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการแท้งยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในอันดับต้น ๆ ของประเทศที่ควรจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยแบ่งออกเป็น

  1. การแท้งเอง (Spontaneous abortion) หมายถึง การสิ้นสุดลงของการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้เกิดจากการชักนำด้วยวิธีการใด ๆ และอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์
  2. การทำแท้ง (Induced abortion) หมายถึง การสิ้นสุดลงของการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการชักนำด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์โดยอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์ และไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และไม่จำกัดอายุครรภ์โดยทารกในครรภ์มีหรือไม่มีชีวิต

หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

การแท้งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการแท้ง เช่น

ไม่ว่าจะเป็นการแท้งเองหรือการทำแท้ง ควรอยู่ภายใต้การดูแลและรักษาของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความสะอาดและปลอดภัยนะคะ

Good to know …8 โรคติดต่อทางพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ ควรตรวจให้รู้ก่อนตั้งครรภ์

1.โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

2.โรคผิวเผือก (Albinism)

3.โรคพร่องเอนไซม์ G6PD

4.โรคเด็กดักแด้ (Epidermolysis Bullosa)

5.โรคดาวน์ซินโดรม

6.โรคเท้าแสนปม (Neurofibromatosis)

7.โรคฮีโมฟีเลีย

8.ตาบอดสี

การวางแผนการตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพทั้งคุณพ่อคุณแม่ก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยทางสุขภาพของลูกน้อยในอนาคตค่ะ

อ้างอิงข้อมูล : amarintv.com , thairath.co.th และ rh.anamai.moph.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ทำแท้ง อันตรายไหม? สธ.เปิดสายด่วนรับปรึกษาทำแท้งถูกกฎหมาย

ทำอย่างไร ให้ห่างไกลจาก แท้งซ้ำ

ความเชื่อของคนไทย แม่ท้องให้นมลูกเสี่ยงแท้ง!?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up