สาหร่าย กินเท่าไหน ถึงจะปลอดภัย!
แม้สาหร่ายมีสารอาหารและแร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมาย ซึ่งอาจทำให้มีผลดีต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการแนะนำให้ใช้สาหร่ายเพื่อรักษาหรือป้องกันโรคใด ๆ ผู้บริโภคจึงควรรับประทานสาหร่ายในปริมาณพอเหมาะ และคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพเสมอ โดยควรระมัดระวังปริมาณสารประกอบที่อาจเพิ่มขึ้นจากอาหารหรือขนมที่มีสาหร่ายเป็นส่วนประกอบ เช่น เกลือ น้ำตาล และน้ำมันค่ะ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดก็คือ ไอโอดีน
เนื่องจาก สาหร่ายนั้น ประกอบไปด้วยไอโอดีนจำนวนมาก โดยในสาหร่าย 1 กรัม จะมีไอโอดีนประมาณ 16-2,984 ไมโครกรัม แตกต่างกันไปตามชนิดของสาหร่าย ดังนั้น หากรับประทานมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ผู้บริโภคจึงควรคำนวณปริมาณการบริโภคสาหร่ายให้เหมาะสม
ในแต่ละวัน ควรบริโภคมากน้อยเพียงใด วันนี้ เราจะมาดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
- ทารกแรกเกิด-อายุ 6 เดือน 110 ไมโครกรัม/วัน
- ทารกอายุ 7-12 เดือน 130 ไมโครกรัม/วัน
- เด็กอายุ 1-13 ปี 90-120 ไมโครกรัม/วัน
- วัยรุ่นอายุ 14-18 ปี และผู้ใหญ่ 150 ไมโครกรัม/วัน
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร 220-290 ไมโครกรัม/วัน
นอกจากนี้ การบริโภคสาหร่ายปริมาณมากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาวาร์ฟาริน หรืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการแพ้ทางผิวหนัง โรคผิวหนังเหลือง โรคคอพอก และอาจมีผลต่อลำไส้ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือกำลังเผชิญภาวะใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคสาหร่ายและพืชทะเลอื่น ๆ ทุกครั้ง เช่น ผู้ป่วยไทรอยด์ เพราะอาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้ หากได้รับไอโอดีนปริมาณมากและเข้มข้นจนเกินไป และผู้ที่ให้นมบุตรยิ่งควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะไอโอดีนอาจถูกส่งผ่านทางน้ำนมแล้วส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ของทารกได้ค่ะ
ขอบคุณที่มา: Pobpad
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่