ขวัญบนหัว บอกนิสัยของลูกน้อยได้! - amarinbabyandkids

ขวัญบนหัว บอกนิสัยของลูกน้อยได้!

event

ขวัญบนหัว

ประเพณีเรียกขวัญ

ชาวล้านนามีความเชื่อว่าเด็กทารกที่เกิดมาใหม่ขวัญจะอ่อนบางครั้งในตอนกลางคืนจะร้องไห้ไม่ยอมหยุด เพราะมีพ่อเกิดแม่ก๋าย (พ่อแม่ในอดีตชาติ)มาแวะดูลูกหลานที่ท่านส่งมาเกิดว่าเป็นอย่างไรบ้างมาอยู่กับพ่อแม่ นี้สบายดีหรือไม่จึงมาหยอกล้อเด็กหรือบางครั้งอาจเป็นผีตายโหงไม่มีที่สิงสถิตมารบกวนเด็กให้ตกใจร้องไห้ไม่ยอมหยุด

ผู้ใหญ่ในบ้านจะเอาข้าวเหนียวมาปั้นแล้วจิ้มไปที่ตัวเด็กแล้วโยนทิ้งไปทำ 3 ครั้งติดต่อกันพร้อมกับพูดว่า“ผีตายห่าตายโหงจะไปมาคุยเด็ก” (คุย ภาษาเหนือหมายถึงรบกวน)

ผู้ใหญ่จะเอามือป้ายไปที่ส้นเท้าตนเองแล้วเอาไปป้ายที่หน้าผากของเด็กจากนั้นจะผูกข้อมือเด็กด้วยด้ายสายสิญจน์ถ้าเป็นเด็กผู้หญิงจะผูก 5 เส้นแต่ถ้าเป็นเด็กผู้ชายจะผูก 7 เส้นเอาห่อพริกห่อเกลือดอกไม้และธูป 2 ดอกนำมาบนบานศาลกล่าวใกล้ ๆ กับเด็กขอให้เด็กหยุดร้องไห้ ถ้าเด็กหยุดร้องอีก 3 วันตนจะเลี้ยงผี

จากความเชื่อที่ว่าก่อนเด็กจะเกิดมามีผีหรือผู้เป็นพ่อแม่ในอดีตเป็นผู้ดูแลก่อนผู้หญิงจะเกิดลูกผีจะเป็นผู้ปั้นรูปร่างลักษณะของเด็กแล้วผีจะคอยดักจับวิญญาณใส่รูปที่ปั้นเพื่อให้มีชีวิตแล้วผีจึงส่งเด็กเข้าสู่ท้องแม่ ดังนั้นเมื่อเกิดลูกออกมาพ่อแม่จึงกลัวว่าผีจะมาเอาลูกคืนไปจึงมีพิธีกรรมที่เรียกว่าทำขวัญ 3 วันขึ้นมา

ผู้เฒ่าผู้แก่จะจัดทำบายศรีมีเทียนไข 1 เล่ม มีโถใส่กระแจะแป้งเจิมหน้ามีน้ำในขันเป็นน้ำอุ่นกับช้อนเล็กๆสำหรับตักน้ำให้เด็กกินเมื่อถึงเวลาผู้ทำพิธีอาจเป็นปู่ย่าตายายหรือญาติผู้ใหญ่จะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยสวดคาถาชุมนุมเทวดาแล้วยกบายศรีตั้งตรงศีรษะที่เด็กนอนซึ่งจะมีผู้อุ้มอยู่นั่งข้างหน้าผู้ทำพิธี

โดยจะนำเด็กที่ใส่กระด้งแกว่งไปมาพร้อมกับพูดว่า

“3 วันลูกผี 4 วันลูกคนลูกของใครมาเอาไปเน้อ” แล้วจะมีผู้เฒ่าผู้แก่คนหนึ่งนำเงินโบราณ หรือเบี้ย มาซื้อ

เด็กไปพร้อมกับพูดว่า  “ฉันรับซื้อเป็นลูกฉันเอง” จะเรียกหญิงผู้เฒ่าที่รับซื้อเด็กนี้ว่าแม่ซื้อ

จากนั้นผู้ทำพิธีจะหยิบด้ายสายสิญจน์ขึ้นมาลูบลงบนแขนขาของเด็กเบาๆ ข้างละเส้นและลูบข้างตัวเด็กข้างละเส้นเรียกว่าฟาดเคราะห์ เพื่อแยกสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ให้ออกจากตัวเด็กจากนั้นนำด้ายทั้ง 4 เส้นไปเผาไฟ จากเทียนไขที่จุดไว้ แล้วหยิบด้ายเส้นใหม่ขึ้นมาให้พรแก่เด็กแล้วกล่าวว่า “ขวัญเอ๋ยขวัญมาอยู่กับเนื้อกับตัว”

พร้อมขมวดปมไว้ตรงกลางด้าย แล้วนำด้ายนั้นไปผูกข้อมือข้อเท้าทั้งสองข้างของเด็กเจิมแป้งกระแจะที่หน้าผากตักน้ำอุ่นในขันให้เด็กกิน 3 ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี

บางครั้งเวลาเด็กเล็กหกล้ม ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะปลอบโดยใช้มือลูบหลังแล้วพูดว่า “ขวัญเอ๋ย ขวัญมาขวัญอยู่กับเนื้อกับตัว” เด็กๆ จะหยุดร้องไห้ ถือว่าเป็นการเรียกขวัญอย่างหนึ่งเหมือนกัน

ขวัญบนหัว

นอกจากการฮ้องขวัญเพื่อเรียกกำลังใจแก่ผู้ป่วยให้หายแล้วการฮ้องขวัญยังเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพ เช่น การฮ้องขวัญสำหรับบุคคลสำคัญผู้มาเยือนในถิ่นตนเป็นการให้เกียรติ

  • ฮ้องขวัญผู้อาวุโส เป็นการฉลองครบครบวันเกิดเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลมีอายุยืนนานเพื่อเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานต่อไป
  • ฮ้องขวัญในพิธีสำคัญ เช่น ฮ้องขวัญลูกแก้ว หรือนาคที่จะบวชในพุทธศาสนา เพื่อให้จิตใจบริสุทธิ์ก่อนบวช
  • ฮ้องขวัญคู่บ่าวสาวที่ตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน เพื่อเป็นการเตือนสติ เสริมกำลังใจในการฟันฝ่าอุปสรรคในชีวิตคู่
  • ฮ้องขวัญในงานศพ เพื่อเรียกขวัญญาติให้อยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ให้ไปกับผู้ตาย และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนและ

ความเชื่อของ ขวัญ กับ จิตวิญญาณมนุษย์

“ขวัญ” ในที่นี้มีความหมายว่า จิต หรือ วิญญาณที่ไม่มีตัวตน ที่มีอยู่กับชีวิตของคนเราทุกคน มีอยู่กับสิ่งของทรัพย์สินของคนเราทุกชนิด ซึ่งมีในความเชื่อของคนทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งจิตหรือขวัญหน่วยเดียว แต่ฝังกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง หรือทุกส่วนของคน, สัตว์, สิ่งของ และจะต้องอยู่ตลอดเวลา ถ้าขวัญอยู่คู่กับร่างกาย เจ้าของขวัญจะมีความสุขสบาย แต่ถ้าหากเมื่อใดขวัญออกห่างไปจาก ร่างกายคน ก็จะส่งผลให้คนนั้นมีอาการอ่อนแอ เจ็บป่วยและอาจเสียชีวิตไปในที่สุด

สำหรับคนที่มีขวัญอ่อน มักเจ็บป่วยอยู่เสมอ เนื่องจากการประสบอุบัติเหตุ เมื่อขวัญออกห่างไป ความหายนะก็เข้ามาแทนที่ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวคนสมัยก่อนที่เล่าต่อๆ กันมา การที่ร่างย้ายจากสถานะหนึ่งไปอยู่อีกสถานะหนึ่งหรือย้ายจากที่หนึ่ง (ที่อยู่อาศัย) ไปอยู่อีกที่หนึ่งโดยกะทันหัน เช่น การไปทำงานในต่างถิ่น การไปเที่ยวสนุกสนาน จนลืมตัว เหล่านี้ก็ทำให้ขวัญเหินห่างจากร่างได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ขวัญออกจากร่างกาย หรือให้ขวัญกลับเข้าร่างเดิม ดังนั้นผู้ใหญ่ในครอบครัวต้องทำพิธีเรียกขวัญให้กลับเข้าสู่ตัว เพื่อให้เจ้าของขวัญอยู่ดีมีสุข ซึ่งมีขั้นตอนและพิธีกรรมต่างๆ ตามแบบอย่างของคนแต่ละท้องถิ่นเคยปฏิบัติกันมา

อ่านต่อ >> ความหมายของขวัญบนหัวตามจำนวน” คลิกหน้า 3


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.openbase.in.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up