เปิดโพย! รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไร ไม่ให้ขาดทุน - Page 4 of 4 - Amarin Baby & Kids
รีไฟแนนซ์บ้าน

เปิดโพย! รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไร ไม่ให้ขาดทุน

Alternative Textaccount_circle
event
รีไฟแนนซ์บ้าน
รีไฟแนนซ์บ้าน

สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนรีไฟแนนซ์ 

 1. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ ก่อนจะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ควรรวบรวมค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นก่อน ได้แก่

  • ค่าใช้จ่ายให้กับสถาบันการเงินแห่งเดิม ได้แก่ ค่าปรับในกรณีไถ่ถอนหลักประกันก่อนระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งระยะเวลาโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 3 ปีนับจากวันเริ่มกู้ โดยจะคิดค่าปรับประมาณ 2-3% ของยอดหนี้
  • ค่าใช้จ่ายให้กับสถาบันการเงินแห่งใหม่ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าธรรมเนียมการใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ และค่าธรรมเนียมการทำประกันอัคคีภัยเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง หากยังมีกรมธรรม์เดิมอยู่ เราก็สามารถแจ้งยกเลิกการโอนผลประโยชน์จากสถาบันการเงินเดิม แล้วเปลี่ยนเป็นยกผลประโยชน์ให้กับสถาบันการเงินแห่งใหม่ได้
  • ค่าใช้จ่ายให้กับกรมที่ดิน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ และค่าอากรแสตมป์อีก 0.05%

2. ผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการรีไฟแนนซ์  หากเหตุผลหลักในการรีไฟแนนซ์คือต้องการลดอัตราดอกเบี้ยให้เราจ่ายน้อยลง เราก็ต้องมาดูผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินจากการลดดอกเบี้ย  เช่น หากมียอดหนี้ที่ต้องการโอน 1 ล้านบาท  ปัจจุบันเสียดอกเบี้ยอยู่ที่ 7.13% ต่อปี สถาบันการเงินแห่งใหม่เสนอการรีไฟแนนซ์ที่อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 3 ปี ที่ 3.45% ต่อปี คิดเป็นส่วนต่างดอกเบี้ย 3.68% ต่อปี  เท่ากับว่าเดิมที่ต้องเสียดอกเบี้ยรวม 3 ปี (คิดแบบลดต้นลดดอก) ประมาณ 206,317 บาท หากใช้อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (คิดแบบลดต้นลดดอก) เท่ากับ 98,074 บาท นั่นคือ เราจะสามารถประหยัดได้ถึง 108,523 บาทเลยทีเดียว

3. เงื่อนไขอื่นๆ เช่น

  • พิจารณายอดหนี้คงเหลือและระยะเวลาผ่อนชำระ หากยอดหนี้เหลือไม่มาก และเหลือระยะเวลาผ่อนเพียง 1-2 ปี การรีไฟแนนซ์อาจเป็นการตัดสินใจที่ได้ไม่คุ้มเสีย  อาจใช้เงินโบนัสมาโปะหรือปิดหนี้เลยจะดีกว่า
  • พิจารณาเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยคงที่ สถาบันการเงินบางแห่งมีเงื่อนไขกำหนดให้การผ่อนค่างวดรายเดือนได้ไม่เกิน 2 เท่าของยอดผ่อนชำระต่อเดือน โดยกำหนดเงื่อนไขค่าปรับในกรณีชำระหนี้ก่อนกำหนด เท่ากับว่า ต่อให้เรามีเงินมากพอ ก็ไม่สามารถลดยอดหนี้ได้ในระยะเวลาที่ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ซึ่งหากชำระมากกว่าค่างวดที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับในส่วนที่จ่ายเกิน
  • พิจารณาค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินเรื่องหรือเกิดขึ้นหลังจากรีไฟแนนซ์ เช่น ค่าเดินทาง ค่าเสียเวลา หรือหากเรามีโครงการที่จะขายบ้านในช่วงระยะเวลาก่อน 3 ปี สถาบันการเงินแห่งใหม่อาจมีค่าธรรมเนียมในการปิดบัญชีก่อนกำหนด ซึ่งมักจะคิดในอัตรา 2-3% ของวงเงินกู้

มาถึงตอนนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็คงจะทราบและเข้าใจดีกันแล้วนะคะว่า รีไฟแนนซ์คืออะไร แล้วควรจะต้องพิจารณาอะไรบ้าง ถ้าหากตัดสินใจได้แล้ว ก็อย่าลังเลค่ะ ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยแต่อย่างน้อยเราก็ได้บ้านหรือคอนโดมาเป็นของขวัญให้กับตัวเองได้สมใจ

เครดิต: Nation TV

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up