ดังนั้นแล้วจากที่คุณแม่ถามมาว่าปีนักษัตรที่ลูกเกิดนั้นคือปีอะไรกันแน่ ที่ต้องระบุไว้ในสูติบัตรคือวันที่ 25 ม.ค. 2559 เวลา 23.19 น. ปีวอก จึงถูกต้องแล้ว เพราะนับตามปฏิทินหลวง ไม่สามารถดูตามปฏิทินไทยหรือจันทรคติไทยได้ เป็นแบบที่ใช้ในการบันทึกสูติบัตรปัจจุบันนั่นเอง (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539)
ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจกล่าวได้ว่าจะใช้ปีนักษัตรแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ทำการใด เช่น พยากรณ์ทางโหราศาสตร์แบบไทย จะใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ คือเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , พยากรณ์โหราศาสตร์แบบจีน ก็ควรต้องใช้ปีนักษัตรแบบจีน เป็นต้น
สำหรับปีนักษัตร คำถามเรื่องนี้จะเกิดกับผู้ที่เกิดช่วง เดือนธันวาคม ถึง เดือนเมษายน เพราะเป็นช่วงที่ปีนักษัตรทับซ้อนกันนั่นเอง
♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥
ทั้งนี้หากพูดถึงปีนักษัตรที่เกิด เพื่อดูในเรื่องของการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม หรือศาสตร์โบราณของไทย ที่ต้องใช้วันเดือนปีเกิดตามปฏิทิน บ่อยครั้งมีความสับสนว่าเกิดวันใด เพราะบางครั้งวันเกิดตามโหราศาสตร์ที่ผู้พยากรณ์ใช้ตั้งต้น ไม่ตรงกับวันเกิดปีเกิดตามสูติบัตร ปฏิทิน หรือตามที่เข้าใจ
ถ้าย้อนไปประมาณ 100 กว่าปี ประเทศไทยยังใช้ปฏิทินจันทรคติอยู่ ชื่อเดือน มกราคม ยังไม่มีใครรู้จัก ผู้คนยุคจะรู้จักวันแรมค่ำ เดือนอ้ายยี่ ปีชวด ฉลู เท่านั้น คนรุ่นปู่ย่า รุ่นทวดจะจำวันเกิด เช่น วันศุกร์ เดือนยี่ ปีกุน และหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้วันเดือนปีตามสากล วันทางจันทรคติก็เหลือใช้เฉพาะกลุ่มเช่น ทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม ศาสนา ส่วนอื่นๆจะใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลเกือบทั้งหมด
Must read : ดวงเด็ก 12 ราศี
Must read : ลักษณะนิสัยของพ่อแม่ทั้ง 12 ราศี
หากจะใช้ตำราโหราศาสตร์ พิธีกรรม แบบเก่าก็ควรต้องเข้าใจหลักปฏิทินแบบเก่าด้วย จะนำเงือนไขปฏิทินสุริยคติปัจจุบันมาใช้ไม่ได้ ต้องเปรียบเทียบหาวันเวลาที่ถูกต้องก่อนใช้ สำหรับความเข้าใจในเรื่องการใช้ปฏิทินสุริยคติและจันทรคติ หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 เรื่องหลักๆ ดังนี้
1. วันเวลาเกิด
ครั้งโบราณไม่มีนาฬิกา การนับวัน จะถือเอาเวลาพระออกบิณฑบาต คือเวลาเช้า สามารถมองเห็นลายมือบนฝ่ามือชัดเจนด้วยตาเปล่า(ไม่ใช้แสงไฟช่วย) หรือเห็นลายใบไม้ชัดเจน ให้นับเป็นวันใหม่ ซึ่งก็คือใช้เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือประมาณเวลา 06.00น. เป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนวันใหม่
ดังนั้นการนับรอบวันที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม ศาสตร์โบราณต่างๆของไทย จะใช้ปฏิทินจันทรคติไทย โดยถือรอบวันตามดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นหลัก คือ เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือตั้งแต่เวลา 06.00น.-05.59น.(ก่อนอาทิตย์ขึ้นอีกวัน) แตกต่างจาก รอบวันตามสากลซึ่งปฏิทินสุริยคติ หรือเป็นแบบที่ใช้ในสูติบัตร รอบวันจะเริ่ม 00.01น.- 24.00น.
การนับรอบวันจันทรคติจะใช้แบบนั้นทั้งหมด จะมีวันพุธที่แยกย่อยคือ เกิดวันพุธ ช่วงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ถึง ดวงอาทิย์ตก ประมาณเวลา 06.00น.-17.59น. จะเรียกว่า วันพุธกลางวัน หากเกิดช่วงเวลาหลังดวงอาทิย์ตกในวันพุธ ถึง ก่อนอาทิตย์ขึ้นวันรุ่งขึ้น (พฤหัสบดี) ประมาณเวลา 18.00น.-05.59น. จะเรียกว่า วันพุธกลางคืน หรือ วันราหู
เช่น ตามสูติบัตร บอกว่าท่านเกิดอาทิตย์เวลา 04.13น. แต่เมื่อนับตามปฏิทินจันทรคติไทยจะถือว่าเป็นวันเสาร์อยู่ เพราะยังไม่เลยเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ 06.00น. ซึ่งเป็นช่วงย่างเข้าวันอาทิตย์จริงๆ ตามจันทรคติ , ตามสูติบัตร บอกว่าท่านเกิดพฤหัสบดีเวลา 05.13น. แต่เมื่อคิดตามหลักปฏิทินจันทรคติถือว่าเป็นวันพุธอยู่ เพราะยังไม่เลยเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ 06.00น. และเป็นวันพุธกลางคืน เพราะอยู่ช่วงเวลาหลังดวงอาทิย์ตกในวันพุธ ถึง ก่อนอาทิตย์ขึ้นวันรุ่งขึ้น(พฤหัสบดี) 18.00น.-05.59น.
สรุปเป็นหลักการง่ายๆ ก็คือ หากเวลาเกิดตามสูติบัตร อยู่ระหว่าง หลังเที่ยงคืนถึง ก่อนเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ 06.00น. สูติบัตรบอกว่าเกิดวันอะไรให้ย้อนมาหนึ่งวัน ก็จะได้วันทางจันทรคติ ที่ใช้สำหรับโหราศาสตร์ แต่หากเวลาเกิดตามสูติบัตรอยู่ช่วงเวลาอื่นใช้วันจันทรคติ แบบเดียวกับสูติบัตรได้เลย ยกเว้น วันพุธกลางคืน ให้ดูเงื่อนไขเพิ่มเติมข้างต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2. ปีนักษัตร
การเปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด,ฉลู,ขาล,เถาะ) มีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย (๑) ตามปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้ในการบันทึกสูติบัตรปัจจุบัน (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539) , เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์-ฮินดู ใช้ในการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์แบบไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ช่วงเวลาเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ตามสูติบัตร จะไม่ตรงกันกับแบบคติพราหมณ์ ) , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ใน วันสังขารล่อง หรือ วันสงกรานต์ ตามแบบทางภาคเหนือ , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ตามปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร
ปีนักษัตรจีน โหราศาสตร์จีนจะเปลี่ยนปีนักษัตรในวันสารทลิบชุน(立春) สารทแรกของจีน ตาม ปฏิทินโหราศาสตร์จีน ปีนั้นๆ และมีใช้วันตรุษจีนเป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร
จะใช้ปีนักษัตรแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ทำอะไร เช่น บันทึกสูติบัตร จะใช้ปีนักษัตรตามปฏิทินหลวง เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) , พยากรณ์ทางโหราศาสตร์ต่างๆของไทย จะใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์-ฮินดู เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , พยากรณ์โหราศาสตร์จีน ดูดวงจีนโป๊ยหยี่สี่เถี่ยว(八字四柱) ดูหลักปี ปีชง ปีฮะ ใช้ปีนักษัตรจีนตาม ปฏิทินโหราศาสตร์จีน เป็นต้น…
การคำนวณวันเดือนปีเกิดตามปฏิทินนี้ ตัดรอบวันตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง(กรุงเทพฯ) ในวันนั้นๆ และ เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ ในวัน ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์-ฮินดู (ไม่รวมตัดเวลาท้องถิ่น)
ดังนั้นเฉพาะท่านที่เกิดช่วงเวลาประมาณ 05:30-07:00น. หรือเกิดในวันพุธช่วงเวลาประมาณ 17:30-19:00น. โดยเงื่อนไขข้างต้นอาจอยู่ระหว่างเปลี่ยนวัน หากใช้วันนั้นๆ ตั้งต้นพยากรณ์แล้วไม่ตรงตัวท่าน ให้ตรวจสอบเพิ่มเติมเรื่องการปรับเวลาท้องถิ่น จุดอ้างอิงสถานที่เกิดโดยละเอียด เพื่อตรวจสอบดวงชะตา
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : www.myhora.com