LGBTQ มีเฮ!ใบรับการแจ้งชีวิตคู่แจ้งจดความรักไม่แยกเพศ - Amarin Baby & Kids
LGBTQ สมรสเท่าเทียม

LGBTQ มีเฮ!ใบรับการแจ้งชีวิตคู่แจ้งจดความรักไม่แยกเพศ

Alternative Textaccount_circle
event
LGBTQ สมรสเท่าเทียม
LGBTQ สมรสเท่าเทียม

LGBTQ มีลุ้น มีเฮ หากอยากแจ้งจดสัญญารัก วันนี้สามารถจดใบรับการแจ้งชีวิตคู่สำหรับคู่รักหลากหลายเพศได้แล้ว มีเงื่อนไข เตรียมตัวอย่างไรควงแขนคู่คุณแล้วไปกันเลย

LGBTQ มีเฮ! ใบรับการแจ้งชีวิตคู่ แจ้งจดความรักไม่แยกเพศ

ทะเบียนสมรส สัญญารักที่คู่รักมาร่วมกันแจ้งจดเพื่อให้ชีวิตคู่สมบูรณ์ขึ้น สำหรับกฎหมายของประเทศไทยยังคงจำกัดอยู่แค่เพศชาย เพศหญิงเท่านั้น แต่ในโลกปัจจุบันต้องยอมรับว่า สังคมได้เปิดกว้างมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และเริ่มยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ความรักก็เช่นกัน

LGBTQคืออะไร

กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือLGBTQ

  • L – Lesbian กลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง
  • G – Gay กลุ่มชายรักชาย
  • B – Bisexual หรือกลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
  • T – Transgender คือกลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือเพศหญิงเป็นเพศชาย
  • Q – Queer คือ กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดในเรื่องเพศ และความรัก

    LGBTQ ความรักไม่แบ่งเพศ
    LGBTQ ความรักไม่แบ่งเพศ

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดประเภทของโรคระหว่างประเทศ หรือ ICD ฉบับล่าสุด โดยย้ายหัวข้อ ‘การมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด’ ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม และย้ายไปอยู่ในหมวด ‘กรณีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศ’ เพราะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดนั้นไม่ถือว่าเป็นอาการป่วยทางจิต

เมื่อความรักไม่จำกัดเพศ สมรสเท่าเทียมจึงควรมี!!

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณา พรบ.สมรสเท่าเทียม หรือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เสนอโดยพรรคก้าวไกลมาตั้งแต่ปี 2563 มีจุดมุ่งหมายเดียวกันกับร่างสมรสเท่าเทียม ที่ภาคประชาชนออกมารณรงค์เมื่อปลายปี 2564 โดย ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายนำเสนอว่า

“เนื่องจากบทบัญญัติในประมวลแพ่งและพาณิชย์หลายมาตราขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 27 วรรคสาม ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุความแตกต่างเรื่องเพศ จึงเสนอให้มีการแก้ไขดังนี้

1.แก้ไขให้ชายหญิงหรือบุคคลสองคน ซึ่งเป็นเพศเดียวกันสามารถหมั้น สมรสกันได้ตามกฎหมาย

2.แก้ไขเพิ่มเติมหมวดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาและคู่สมรส และกำหนดให้ตัดคำว่าสามีและภริยา และให้เพิ่มคำว่าคู่สมรส

3.ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ซึ่งบุคคลสองคนสมรสกัน มีสิทธิ หน้าที่และความคุ้มครองตามกฎหมาย

4.แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 4 จากเดิมทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา เป็นทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

5.เรื่องสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถจัดการทรัพย์สินและหนี้สินร่วมกัน

6.เรื่องการสิ้นสุดการสมรส การเพิกถอนการสมรส การหย่าขาดจากการสมรส การจัดการทรัพย์สินหลังสิ้นสุดการสมรส การเรียกค่าทดแทน ค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังสิ้นสุดการสมรส

ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ LGBTQ
ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ LGBTQ

7.ให้คู่สมรสที่เป็นเพศเดียวกัน ซึ่งจดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

8.กรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้ฆ่าคู่สมรส กำหนดให้เป็นผู้ถูกจำกัดมิให้รับมรดก

9.คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายหรือคู่สมรสที่ร้างกันหรือแยกทางกันโดยมิได้หย่าร้างตามกฎหมาย มีสิทธิในการรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิต

การที่ชายหญิงตัดสินใจสร้างครอบครัว และจดทะเบียนสมรสใช้ชีวิตร่วมกัน โดยมีสิทธิ ศักดิ์ศรี และสวัสดิการ แต่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศกลับไม่มีสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้

กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ได้เป็นการเรียกร้องมากกว่าผู้อื่น แต่กลุ่มLGBTQกำลังบอกผู้มีอำนาจว่า พวกท่านพรากสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวจากพวกเราไป”

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com

ใบรับการแจ้งชีวิตคู่

ในวันวาเลนไทน์วันแห่งความรักปีนี้ (2565) ทางสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ได้สร้างความฮือฮาให้กับสังคมด้วยการจัดงาน “บางขุนเทียน แสงเทียนแห่งรัก” ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้ร่วมการบันทึกจดแจ้งคู่สมรสเพศเดียวกัน

นายพงษ์จักรินทร์ ถาวรพงษ์ ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน กล่าวว่า สำหรับการบันทึกจดแจ้งของ LGBTQมีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่กับ LGBTQในระหว่างที่รอกฏหมายมีผลบังคับใช้ในอนาคต ได้แสดงหรือต้องการให้รับรู้ถึงการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันเหมือนคนทั่วไป ทั้งนี้ การจดแจ้งดังกล่าว จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และการทำบันทึกจดแจ้งไม่ได้ใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีภาคเอกชนให้การสนับสนุน ทั้งวัสดุอุปกรณ์และใบเอกสารที่ออกให้ อย่างไรก็ตามใบบันทึกจดแจ้งจะไม่มีผลบังคับทางกฏหมายที่ผูกพันใดๆ แต่เป็นการแสดงออกให้เห็นว่ามี LGBTQจำนวนมากในประเทศไทย ที่ยังรอความเท่าเทียม

อีกหนึ่งคู่รัก LGBTQสัญชาติไทย และอเมริกัน คู่แรกที่ได้จดแจ้งชีวิตคู่ กล่าวว่า เห็นว่าการแต่งงานเพศทุกเพศสำคัญไม่ว่าจะเพศอะไร สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีการแบ่งแยก การจัดงานในวันนี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นนำร่องทางกฏหมาย ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตคู่สมบูรณ์ขึ้น เช่นในกรณีเจ็บป่วย เราไม่สามารถเซ็นต์ยินยอมให้รักษาได้เพราะโรงพยาบาลไม่ยินยอม เพราะต้องไปตามครอบครัวมาเซ็นต์ยินยอม ซึ่งถ้าข้อกฏหมายนี้ผ่าน เราก็สามารถให้เขาที่คอยอยู่กับเรามีสิทธิเซ็นต์ยินยอมได้ แต่ถ้ายังไม่มีการเริ่มก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ อย่างไรก็ตามอยากขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอนุมัติ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้มีผลบังคับใช้ ขอให้เห็นใจ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมในทุกๆ ด้าน

ที่มา : https://www.matichon.co.th
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆจาก สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆจาก สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

ไขข้อข้องใจ ใบรับการแจ้งชีวิตคู่

Question: การบันทึกจดแจ้งทำขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด?

Answer : เพื่อให้เป็นพื้นที่กับคนที่เป็น LGBTQในระหว่างที่รอกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ได้ในอนาคต ได้มีการแสดง หรือต้องการให้รับรู้ถึงการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน เหมือนบุคคลทั่วไป

Question : มีค่าใช้จ่ายในการจดแจ้งไหม?

Answer : ไม่มีค่าใช้จ่ายใดใด และผู้ที่มาจดทะเบียนสมรส และผู้ที่มาบันทึกจดแจ้ง จะได้รับของที่ระลึกจากผู้สนับสนุน

Question : มีผลบังคับทางกฎหมายหรือไม่ ?

Answer :  การบันทึกจดแจ้งไม่มีผลบังคับทางกฎหมายที่ผูกพันใดใด แต่เป็นการแสดงออกเพื่อส่งเสียงไปยังกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็น LGBTQให้ได้เห็นว่าคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากพอสมควรในประเทศไทย และกำลังรอความเท่าเทียมในทางกฎหมาย

Question : ใช้งบประมาณมาจากไหน ?

Answer : การจดทะเบียนสมรสปกติ เป็นการจดทะเบียนนอกสถานที่ใช้งบประมาณทางราชการปกติ สำหรับคู่ที่เป็นคู่รัก LGBTQมาจดบันทึกจดแจ้ง มีภาคเอกชนสนับสนุนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์ และแม้แต่ใบเอกสารที่ออกให้

จดทะเบียนสมรสที่ไม่ใช่ชายกับหญิงทำไม่ได้ในประเทศไทย
จดทะเบียนสมรสที่ไม่ใช่ชายกับหญิงทำไม่ได้ในประเทศไทย

Question : มีเจตนาหลอกลวง หรือเอากลุ่ม LGBTQมาล้อเล่นหรือไม่ ?

Answer : เจตนาจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อต้องการให้พื้นที่กับกลุ่มLGBTQที่สมัครใจอยากเข้ามาร่วมกิจกรรม และต้องการบันทึกจดแจ้ง ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ส่วนกลุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วยได้เร่งทำความเข้าใจว่าไม่ได้ต้องการให้กระทบความรู้สึก หรือเอามาเป็นเรื่องล้อเล่น แต่อยากให้มีความเท่าเทียมได้เกิดขึ้นจริงในสังคม

Question : มีผลกระทบอะไรกับร่างพ.ร.บ.ชีวิตคู่ และร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมหรือไม่ ?

Answer : ผลกระทบถ้าจะมี หวังว่าจะเป็นผลกระทบในเชิงบวกที่จะปักหมุดหมาย หรือส่งเสียงให้ดังเพื่อไปให้ถึงผู้ที่กำลังพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ หรือเป็นแรงกระเพื่อมให้สังคมยกประเด็นของกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาถกกันว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยควรมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม เหมือนกับหลายประเทศในโลก

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.petcharavejhospital.com/ www.facebook.com/pr.bangkhunthian

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง? จดออนไลน์ได้ไหม?

6 ข้อดี ของการ มีลูกต่างเพศ สิ่งที่ลูกชายลูกสาวได้เรียนรู้จากกันและกัน

ควรมี เซ็ก สัปดาห์ละกี่ครั้ง มากน้อยแค่ไหนถึงจะฟินและดีต่อชีวิตคู่

คุยเรื่องเพศกับลูก ต้องสอนยังไง จะเริ่มได้เมื่อไหร่ดี?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up