น้อง มายู ดื้อ พ่อหนุ่มรับมือไม่ไหวพาพบจิตแพทย์ (มีคลิป) - amarinbabyandkids

พ่อหนุ่มเผย!“น้องมายู” ดื้อจนรับมือไม่ไหว ต้องพาพบจิตแพทย์ (มีคลิป)

event

ลูกดื้อ

วิธีแก้ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

1. ยอมรับทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกแต่ละวัยให้มาก โดยเฉพาะลูกในช่วงวัย 6 ขวบแรก หากพ่อแม่สอนและฝึกไม่ตามใจลูกทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง ลูกจะโตขึ้นมาโดยไม่ติดนิสัยเหล่านี้ตามมาด้วยนั่นเอง

2. หลังจากที่ลูกโตเกิน 3 ขวบ นิสัยเอาแต่ใจตัวเองควรที่จะค่อยๆ หายไป แต่ถ้ายังแสดงออกถึงความเอาแต่ใจอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อคูณแม่ควรพูดคุยกับลูกจริงจัง ว่าลูกควรเลิกพฤติกรรมอะไรบ้าง และมีท่าทีจริงจัง เพราะหากลูกดื้อโดยไม่รู้ตัวอยู่บ่อยๆ เช่น เมื่อสั่งแล้วลูกไม่ทำ พ่อแม่ก็จะทำให้เอง ลูกก็จะกลายเป็นคนเพิกเฉย ไม่ใส่ใจคำพูด ของพ่อแม่ไปในที่สุด

3. เมินเฉย ทำเป็นไม่สนใจเมื่อลูกน้อยเกิดอาการอาละวาด วิธีการเมินเฉยต่อพฤติกรรมนั้นเป็นวิธีการจัดการปัญหาที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง ให้ทำเป็นมองไม่เห็น หรืออุ้มเขาเข้าไปในห้องด้วยท่าทางสงบ ไม่แสดงกิริยาเกรี้ยวกราดหรือดุเขา ที่สำคัญห้ามตามเกมของลูกคุณเป็นอันขาด อย่าสัญญาว่าจะซื้อสิ่งของให้เพื่อเป็นเงื่อนไขให้เขาหยุดร้องไห้ เพราะนั่นยิ่งจะไปกระตุ้นพฤติกรรมที่การอาละวาดเมื่อต้องการทำตามใจตนเองให้มากขึ้น ซึ่งหากลูกน้อยของคุณได้เรียนรู้ว่าถึงแม้เขาจะโวยวายอาละวาดอย่างไร ก็ไม่มีทางได้ในสิ่งที่ต้องการ พฤติกรรมลูกงอแง เอาแต่ใจแบบนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายไปเองในที่สุด

4. ฝึกให้ลูกหัดพูด หัดช่วยเหลือตนเอง การสอนให้เด็กช่วยเหลือตนเองจะทำให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการเล่นและการรับฟังคนอื่นได้มากขึ้น โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ เมื่อจำเป็น ซึ่งคุณควรอดทนรอลูกเมื่อเขายังไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เช่น การติดกระดุม หรือใส่เสื้อผ้าเอง ควรเข้าไปช่วยเมื่อจำเป็นเท่านั้น เป็นอีกวิธีแก้นิสัยลูกงอแง เอาแต่ใจ อาละวาดได้

5. พูดคุยกับผู้ใหญ่ในบ้านเพื่อหยุดพฤติกรรมอาละวาด หากในบ้านของคุณมีทั้งปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่คอยเลี้ยงลูกของคุณอยู่ละก็ จงทำความเข้าใจกับทุกคนเพื่อให้ปฏิบัติกับเด็กเมื่อเขาเกิดอาการอาละวาดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากมีใครคอยตามใจแล้วล่ะก็ เด็กจะไม่เลิกพฤติกรรม เด็กงอแง เอาแต่ใจอาละวาดอย่างแน่นอน

6. สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีอยู่เสมอ มอบความรักความอบอุ่น กอดและบอกรักลูก ชมลูกอย่างจริงใจทุกครั้ง ที่มีโอกาส เพราะการที่ทำให้ลูกรู้ว่ามีคนรู้และเข้าใจ ลูกจะรู้สึกมั่นคงได้รับความรักตอบสนอง ทำให้เคารพและเชื่อฟัง

7. เสริมสร้างความมั่นใจและการแก้ปัญหาให้ลูก สอนลูกมีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ เพราะทุกอย่างไม่สามารถเป็นได้ดังใจ สอนให้ลูกรู้จักการรอคอย ควบคุมอารมณ์โกรธ และไม่ชมลูกเกินจำเป็น ควรให้คำชมเมื่อลูกทำความดี หรือสามารถทำสิ่งที่ยากได้สำเร็จ จงจำไว้ว่าการรักลูก ต่างจากการตามใจลูก แสดงความรักต่อลูก ด้วยการสอนให้ลูกเก่ง ซื่อสัตย์ ใส่ใจความรู้สึกของคนอื่น

8. ไม่เอาชนะลูกแบบตรงๆ ควรมีเทคนิคชักจูง ให้ลูกอยากทำ การบอกซ้ำๆ หรือคะยั้นคะยอ จะเร้าอารมณ์ทำให้เด็กต่อต้าน ผู้ใหญ่ไม่ควรคาดหวัง ให้เด็กทำตามทันที ควรให้เวลาและโอกาสด้วย รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการต่อล้อต่อเถียงที่จะนำไปสู่การทะเลาะวิวาท จนเกิดเหตุรุนแรง และลงเอยด้วยการทำโทษเด็ก การกระทำแบบนี้จะนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน เป็นเหตุสำคัญของการดื้อต่อต้าน

สุดท้ายมีคุณพ่อคุณแม่หลายคนคิดว่าเมื่อลูกดื้อเอาแต่ใจ ควรใช้วิธีลงโทษ ด้วยการตี แต่นั้นเป็นการแก้ไขที่ผิด วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้เด็กว่าง่ายคือ การให้เหตุผล เป็นวิธีที่ถูกต้อง คุณพ่อสามารถหาความรู้ว่าด้วยเรื่องการให้เหตุผลในเว็บไซต์ Amarin Baby & Kids หรือค้นหาจากเว็บเสิร์ชเอนจิ้น ด้วยคำค้นว่า จิตวิทยาเชิงบวก หรือ Positive Psychology ค่ะ 

นอกจากเรื่องการให้เหตุผลแล้ว หลักการที่จิตวิทยาเชิงบวกมักใช้ คือ ให้เด็กรับผิดรับชอบการตัดสินใจของตนเอง พูดง่ายๆ ว่าตนเองทำอะไรไว้ก็ต้องยอมรับผลที่เกิดขึ้นเสียดี ๆ ด้วยวิธีนี้เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้เองว่าพฤติกรรมที่พึงประสงค์ คืออะไร ซึ่งไม่ว่าพ่อแม่จะสอนหรือให้เหตุผลอะไร พ่อแม่ก็ต้องพูดตรงกัน นั้นจะยืนยันหลักการให้ลูกรับผิดรับชอบผลของการกระทำ ซึ่งสิ่งนี้คนเป็นพ่อแม่ยิ่งต้องการความอดทน มั่นคง และสม่ำเสมอ หมายถึงอดทนนานพอที่จะเห็นลูกค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตนเองว่า ถ้าทำอะไรแล้วจะเกิดอะไรขึ้นและทำอะไรน่าจะดีกว่า

อ่านต่อ  “บทความน่าสนใจ” คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up