Long Covid เสริมภูมิต้านทานด้วยอาหารและวิตามิน - Amarin Baby & Kids
Long Covid

หาย Covid กินอะไรดีช่วยฟื้นฟูร่างกาย ป้องกัน Long Covid

Alternative Textaccount_circle
event
Long Covid
Long Covid

โควิด -19 (Covid – 19) จะอยู่กับเราไปอีกนานแค่ไหน ไม่มีใครตอบได้ค่ะ ทำได้อย่างดีที่สุดก็คือการรักษาสุขอนามัย ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับการฉีดวัคซีน เพื่อลดความรุนแรงจากการป่วยโควิด สำหรับครอบครัวไหนที่ตอนนี้อาจจะมีลูก หรือผู้ใหญ่ในบ้าน ป่วย Covid กำลังรักษาอยู่ กองบรรณาธิการ Amarin Baby & Kids มีวิธีดูแลฟื้นฟูร่างกายหลังหายโควิด -19 ด้วยการรับประทานอาหารและวิตามิน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดภาวะ Long Covid มาแนะนำให้ค่ะ

Long Covid คืออะไร มีอาการอย่างไร

หลายคนยังสงสัยค่ะว่า Long Covid ลองโควิด คืออะไร อาการที่เป็นอยู่หลังจากหายโควิดจะใช่ลองโควิดหรือเปล่า ? สำหรับลองโควิด คือ ภาวะที่ร่างกายยังคงมีอาการของโรคบางอย่างเหลืออยู่ หลังจากหายป่วยโควิด ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย ก็เช่น

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
  • ปวดศีรษะ
  • ท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกหายใจไม่ค่อยอิ่ม
  • ไอเรื้อรัง
  • ผมร่วง
  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น
  • เครียด มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
  • การรับรสและกลิ่นผิดปกติ

อาการลองโควิด ทั้งหมดนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นทุกอาการนะคะ บางคนอาจจะมีแค่อาการไอ ท้องเสีย หรือรู้สึกอ่อนเพลีย อาการลองโควิดจะค่อย ๆ ดีขึ้นได้ใน 1-3 เดือนค่ะ

สงสัยไหมคะว่า… ใครเสี่ยงเกิดอาการ Long Covid ได้บ้าง ?

อาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 30-50% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ป่วยโควิดจะมีอาการลองโควิดกันทุกคนค่ะ และนี่คือกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการลองโควิดได้ หากป่วยจากโควิด-19

  1. ผู้หญิงวัยทำงาน
  2. กลุ่มผู้สูงอายุ
  3. คนที่ปอดอักเสบรุนแรงขณะติดโควิด
  4. คนที่มีภาวะอ้วน และมีโรคประจำตัว เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  5. เด็กเล็ก ในกรณีของเด็ก พบว่าหลังหายจากโควิด จะมีอาการที่เรียกว่า MIS-C เป็นอาการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันสูงผิดปกติ อาการที่แสดงจะคล้ายโรคคาวะซากิ เช่น มีไข้สูง ผื่น ตาแดง ปากแดง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตลูก ๆ อย่างใกล้ชิดหลังหายจากโควิด ถ้าพบอาการผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันทีค่ะ

Long Covid

เสริมภูมิคุ้มกันหลังหายโควิด ฟื้นฟูร่างกายต้องกินอะไร ป้องกันภาวะ Long Covid 

คำแนะนำจากคุณหมอสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย สำหรับผู้ป่วยหลังหายโควิด เกี่ยวกับอาหารที่ควรรับประทานเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และป้องกันอาการลองโควิด

เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้คุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ เลือกกินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนยแข็ง ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ รวมทั้งบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ได้แก่  โยเกิร์ต นมเปรี้ยว กินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น

กินวิตามินเสริม ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังป่วย Covid เสริมสร้างภูมิต้านร่างกายแข็งแรง ลดการเกิดอาการลองโควิด

1. กระเทียม (Garlic)

กระเทียมมีสารที่ชื่อว่า “อัลลิซิน” จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เมื่อเม็ดเลือดขาวมีมากก็จะช่วยบรรเทาและลดอาการภูมิแพ้ ฉะนั้นเพื่อเป็นการสร้างสมดุล เสริมภูมิต้านทาน และลดการเกิดภูมิแพ้ และยังมีส่วนช่วยป้องกันอาการ Covid Heart โดยช่วยป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นอาการที่พบได้โดยเฉพาะผู้ที่พักฟื้นร่างกายจากอาการเจ็บป่วยไม่สบายของผู้ป่วยโควิด แนะนำให้รับประทานกระเทียมบ่อย ๆ หรือถ้าจะให้สะดวกในทุกวัน จะกินเป็นสารสกัดเข้มข้นในรูปแบบ “น้ำมันกระเทียม” แคปซูลก็ได้เช่นกัน แต่ควรเลือกชนิดที่ไม่ใส่สารกันบูด หรือแต่งสี แต่งกลิ่น ก็จะช่วยให้สุขภาพดีในระยะยาวได้ด้วยค่ะ

2. น้ำมันปลา (Fish Oil)

น้ำมันปลา เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งสารสำคัญ คือ โอเมก้า-3 ซึ่งประกอบด้วย สารสำคัญ 2 ชนิด คือ EPA และDHA  เมื่อร่างกายได้รับจะเปลี่ยนเป็นสารต้านอักเสบที่ชื่อว่า Resolvins ที่สามารถลดภาวะการอักเสบในร่างกายเมื่อเกิดการติดเชื้อ เช่น ลดภาวะปอดอักเสบ ลดภาวะการเกิดลองโควิด และยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันหลอดเลือดต่างๆอุดตัน ซึ่งจะเป็นที่มาของอาการ Covid Heart ได้ สำหรับการบริโภคน้ำมันปลานั้น ควรเลือกน้ำมันปลาที่สกัดมาจากปลาทะเลน้ำลึกที่มีคุณภาพซึ่งมักเป็นปลาทะเลน้ำลึกในเขตหนาว เช่น ปลาทะเลน้ำลึกอย่างปลาแองโชวี่จากประเทศไอซ์แลนด์ เพราะบริเวณนั้นเป็นแหล่งทะเลน้ำลึกที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลภาวะ ทำให้คุณภาพปลามีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง และถ้าผ่านการรับรองการผลิตระดับยาสากลก็จะยิ่งปลอดภัยในการกินมากขึ้นนะคะ

3. โคเอ็นไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10)

โคเอ็นไซม์ คิวเทน มีความสำคัญในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ ทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานเป็นปกติ หากขาดโคเอ็นไซม์ คิวเทน จะทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง หรือเซลล์สมองทำงานผิดปกติ นอกจากความสำคัญในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ แล้ว ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ภายในร่างกายได้ รวมทั้งยังมีส่วนช่วยบำรุงเซลล์หัวใจ ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะ Covid Heart ที่เป็นหนึ่งในอาการลองโควิด อีกด้วย แต่ให้ดีควรเลือกโคเอ็นไซม์ คิวเทน (Q 10) ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีอีมัลแคป และอยู่ในแบบแคปซูลนิ่ม ก็จะทำให้การดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และเห็นผลในการกินมากขึ้นนะคะ

4. เวย์โปรตีน

โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายจะนำไปซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย  และเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารภูมิต้านทาน ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น  เมื่อร่างกายได้รับโปรตีนที่เพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้เชื้อโรค ไม่เจ็บป่วยบ่อยและฟื้นฟูร่างกายหลังป่วยได้เร็วขึ้น ซึ่งในการเลือกโปรตีนนั้น ควรเลือกเวย์โปรตีน ไอโซเลท ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ดูดซึมเร็ว ย่อยง่าย ไม่ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนในปริมาณที่มากขึ้น รวมทั้งมีส่วนประกอบของ Zinc และ Selenium จะยิ่งช่วยเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

5. โสม (Ginseng)

โสมเกาหลีสกัด มีจินซิโนไซด์ (Ginsenoside) คือ สารสำคัญที่ช่วยคลายความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย  ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า  กระฉับกระเฉง นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลให้ร่างกายแข็งแรง สำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูร่างกายหลังป่วยโควิด และลดการเกิดอาการ ลองโควิด แนะนำเป็นโสมเกาหลี เพราะช่วยลดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง มีสรรพคุณในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน สร้างสมดุลในร่างกาย และช่วยฟื้นฟูให้กลับมาแข็งแรง ซึ่งโสมมีหลากหลายรูปแบบ แต่ให้ดีควรเลือกรูปแบบแคปซูลนิ่มจะมีการดูดซึมที่ดีและโสมที่ดีควรอยู่ในรูปแบบสารสกัดมาตรฐาน ซึ่งเป็นสารสกัดที่ผ่านการปรับสัดส่วนของสารสำคัญให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ และเมื่อมีส่วนประกอบของวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ยิ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพกันเป็นอย่างดีในการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง

6. สมุนไพรวาเลอเรียน (Valerian)

การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ จะช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วยไม่สบายให้กลับมาแข็งแรงได้เร็วขึ้น  รากวาเลอเรียนได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับอย่างแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป มีสรรพคุณช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ทำให้นอนหลับได้ดี หลับง่าย หลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก และไม่ง่วงซึมหลังจากตื่นนอน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยคลายความวิตกกังวล  มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการเสพติด สารสกัดจากรากวาเลอเรียน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับที่ไม่อยากพึ่งยานอนหลับ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

7. วิตามินบี (Vitamin B)

การรับประทานวิตามินหลังหายป่วยจากโควิดมีส่วนสำคัญมาก ๆ นะคะ วิตามินอีกหนึ่งตัวที่อยากแนะนำให้กินหลังหายโควิด เพื่อป้องกันและลดอาการสมองล้าจากภาวะลองโควิด ก็คือ  วิตามินบี โดยเฉพาะ วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) ที่มีส่วนบำรุงสมองและระบบประสาท ช่วยคลายเครียด ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง และมีสมาธิดีขึ้น โดยแนะนำเลือกรับประทานสูตรที่ประกอบด้วยวิตามินบีปริมาณสูงครบถ้วนทั้ง 10 ชนิด

เพราะวิตามินบีแต่ละชนิดจะทำหน้าที่ส่งเสริมซึ่งกันเเละกันและเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ขนาดแนะนำของวิตามินบี แต่ละชนิดอยู่ที่ 25-300 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ยังควรเลือกวิตามินบีรวมสูตรสมดุล คือวิตามินบีแต่ละชนิดมีปริมาณเท่ากัน เพื่อไม่ให้ขัดขวางการ ดูดซึมซึ่งกันและกัน เพราะถ้าหากวิตามินบีชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป จะทำให้แย่งการดูดซึมวิตามินบีตัวอื่นได้

8. โพรไบโอติกส์ (Probiotics)

โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วยการดูดซึมอาหาร ป้องกันโรค ทั้งยังจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ป่วยลองโควิด-19 ให้รับประทานโพรไบโอติกส์ สำหรับผู้ที่มีอาการหลังหายจากการติดเชื้อไวรัส เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง

ด้วยความห่วงใยจากกองบรรณาธิการ Amarin Baby & Kids ขอให้ทุกครอบครัวมีสุขภาพดี ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และอย่าลืมดูแลสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงด้วยการเสริมวิตามินทุกวันนะคะ

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ คลิก https://www.megawecare.co.th/

 

 

 

 

เครดิตข้อมูล : กรมอนามัย  ,  RAMA  ,  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up