วัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็ก
- วัคซีนบีซีจี (BCG) วัณโรคสามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการหายใจหรือเข้าทางบาดแผล เด็กจึงต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ที่บริเวณไหล่ซ้าย ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด เพื่อป้องกัน การอาเจียน มีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง และคอแข็ง
- ตับอักเสบบี (HBV) เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องไปพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์และตรวจเลือด หาภาวะการติดเชื้อโรคต่าง ๆ รวมทั้งพาหะไวรัสตับอักเสบบีด้วย เพราะโรคตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ตั้งแต่ในครรภ์ผ่านสายรก ถ้าคุณแม่มีเชื้อหรือพาหะ เด็กต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ตั้งแต่เกิด และอีกครั้งตอนอายุ 1 และ 6 เดือน หรือฉีดเป็น วัคซีนรวมกับคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน ตอนติดเชื้อแล้ว แรก ๆ จะไม่แสดงอาการ แต่เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเพื่อทำลายเซลล์ ตับจนตับ อักเสบ ตับแข็ง และเป็นโรคมะเร็งตับได้
- คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดเซลล์ (DTwP) โรคคอตีบ น้ำลายจากการไอ จาม หรือน้ำมูกของผู้ป่วย เป็นอีกสิ่งที่เด็กควรระวังพาหะ เพราะเมื่อเด็กได้รับเชื้อแบคทีเรียแล้วจะมีเยื่อสีขาวปนเทาอุดหลอดลม จนเกิดอาการเจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก ไอ มีไข้ต่ำ ๆ และหลอดลมอักเสบโปลิโอชนิดกิน (OPV) คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถรู้ว่าอาหารและน้ำดื่มที่ลูกรับประทานเข้าไปนั้นสะอาดแน่แท้แล้วหรือไม่ เพราะอาจมีเชื้อไวรัสโปลิโอเล็ก ๆ แฝงอยู่ในนั้น เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปทำลายเซลล์ประสาทไขกระดูกสันหลังและระบบประสาทต่าง ๆ จนกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพาตได้ เด็กต้องกินหรือหยอดวัคซีนชนิดนี้เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน แล้วต้องหยอด เพื่อกระตุ้นอีก 2 ครั้ง คือ 18 เดือน และในช่วง 4-6 ปี
- โปลิโอชนิดกิน (OPV) คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า อาหารและน้ำดื่มที่ลูกรับประทานเข้าไปนั้นสะอาดแน่นอนแล้วหรือไม่ เพราะอาจมีเชื้อไวรัสโปลิโอเล็ก ๆ แฝงอยู่ในนั้นก็เป็นได้ เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปทำลายเซลล์ประสาทไขกระดูกสันหลังและระบบประสาทต่าง ๆ จนกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพาตได้ ทำให้ลูกต้องกินหรือหยอดวัคซีนชนิดนี้เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน แล้วต้องหยอด เพื่อกระตุ้นอีก 2 ครั้ง คือ 18 เดือน และในช่วง 4-6 ปี
- หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR) โรคหัดและโรคหัดเยอรมัน แม้ทั้ง 2โรค จะมีชื่อเรียกคล้าย ๆ กัน แต่เกิดจากเชื้อไวรัสคนละตัว เมื่อติดเชื้อหัดเยอรมัน ลูกจะมีไข้สูง 1 -2 วัน และผื่นขึ้น 3-5 วัน แล้วยุบได้เองโดยไม่เหลือรอยทิ้งไว้แตกต่างจากหัด ที่เด็กจะมีไข้ 3-4 วัน และจะมีผื่นขึ้นทั้งตัวเมื่อยุบแล้วจะเหลือรอยสีน้ำตาลทิ้งไว้ แม้ว่าอาการหัดเยอรมัน จะรุนแรงน้อยกว่าหัด แต่หากมารดาติดเชื้อตั้งแต่ท้องอาจจะทำให้ลูกในครรภ์พิการได้ ลูกจึงควรรับการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 9-12 เดือน ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันได้ตลอดไป ส่วนโรคคางทูมนั้น เพียงแค่ผู้ป่วยโรคนี้ไอหรือจามใส่หน้า หรือเผลอไปสัมผัสสิ่งของจะทำให้เชื้อไวรัสเข้าร่างกายทำให้ต่อมน้ำลายบริเวณแก้มหน้าหู เหนือขากรรไกร (พาโรติด) บวมอักเสบ จนโย้ลงมากลายเป็นคางทูมได้ ทั้งนี้เด็กเล็กจะต้องฉีดวัคซีนแบบวัคซีนรวม 3 โรค เมื่ออายุ 9-12 เดือนขึ้นไป และฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้ง เมื่ออายุ 4-6 ปี
- ไข้สมองอักเสบเจอี (JE) โรคของสัตว์บางชนิดที่ระบาดมายังคนได้โดยติดต่อผ่านทางยุงตัวเล็ก ๆ ที่บินไปกัดสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบอยู่ ได้แก่ หมู วัว ม้า และควาย ทำให้ได้รับเชื้อไวรัสเข้ามาทางเลือด แล้วเมื่อยุงบินมากัดเด็กเชื้อเหล่านั้นจะเข้ามาในร่างกายของลูก ก็จะแบ่งจำนวนเพิ่มจำนวนเรื่อย ๆ จนทำให้ลูกรู้สึกปวดศีรษะ อาเจียน และมีไข้สูง ตลอดเวลา ถ้าเชื้อแบ่งตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขึ้นสมอง จนเป็นโรคไข้สมองอักเสบ ส่งผลให้เสียชีวิตได้ ลูกจะต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ 2 เข็ม ระหว่างอายุ 9-18 เดือน โดยฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2-2 1/2 ปี
ดังนั้น เมื่อถึงเวลาตามที่คุณหมอนัด อย่าลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนกันด้วยนะคะแม่ ๆ
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- วัคซีนรวม 6 โรค ปลอดภัย ไม่เจ็บตัวบ่อย ลดภาระค่าใช้จ่าย
- วัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี ที่พ่อแม่ต้องรู้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่