วางแผนค่าใช้จ่ายการคลอดลูกในยุคนี้! เพื่อคุณพ่อคุณแม่มือใหม่โดยเฉพาะ
ครอบครัวที่มีความพร้อมอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อย่างที่ใคร ๆ คิด เพราะกว่าจะเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ได้ ต้องมีการแบกรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่แสนหนักอึ้งไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับครอบครัวที่ไม่ได้มีพื้นฐานฐานะที่ดีมาก่อน และหากต้องมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาอีกด้วยยิ่งแล้วใหญ่ไปเลยทีเดียว เพราะเป็นการเพิ่มภาระที่หนักเข้าไปอีก
ดังนั้นการที่จะสร้างครอบครัวให้พร้อมสมบูรณ์ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากที่จะต้องวางแผนค่าใช้จ่ายให้มั่นคง ก่อนที่จะมีลูก จะได้ไม่ต้องมานั่งวิตกกังวล หรือเครียดแต่อย่างใดนั่นเอง
และยิ่งในยุคปัจจุบันนี้คุณพ่อคุณแม่อาจต้องวางแผนค่าใช้จ่ายกันให้ยาวสักหน่อย เพราะค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูก 1 คนให้เติบโตนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลย นอกจากการทุ่มเทใจในการเลี้ยงลูกแล้ว เงิน ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะมาอำนวยความสะดวกให้คุณ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ลูกเติบโตขึ้นก็ตาม ซึ่งก่อนที่ลูกจะเติบโตขึ้นมาช่วยคุณพ่อคุณแม่ใช้เงินนั้น ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ก็ต้องมีรายจ่ายจิปาถะกันแล้ว
จำแนกรายจ่ายที่จำเป็น… คือ
- ค่าตรวจครรภ์ ตลอดการตั้งครรภ์ (ตามกำหนดที่คุณหมอนัดตรวจ)
- เสื้อผ้า ชุดคลุมท้อง
- ค่าใช้จ่ายในการคลอด
- ของใช้ลูกน้อยที่จำเป็นต้องใช้ และเตรียมให้ล่วงหน้า
- เงินสำรองในกรณีฉุกเฉินต่างๆ เช่น ลูกเกิดการเจ็บป่วย
การเตรียมพร้อมก่อนวันคลอด
หากมีการฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลเอกชน แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล 3-4 เท่าตัว แต่ในกรณีนี้อยากให้คุณแม่ดูที่ตัวคุณหมอ และความสะดวกในการเดินทางเป็นหลักเมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะไปฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลใด ก็ขอให้ศึกษารายละเอียดค่าใช้จ่ายที่จะตามมา
⇒ Must read : จัดกระเป๋าเตรียมคลอด และเตรียมของใช้เด็กแรกเกิด
⇒ Must read : วางแผนคลอด เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
หากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลเมื่อคุณแม่ เลือกฝากครรภ์กับโรงพยาบาลรัฐบาล ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตั้งแต่ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายา ค่าอัลตร้าซาวนด์จะไม่แพง ข้อดี ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งมีแพทย์ที่เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา และที่สำคัญที่สุดเลยคือคุณแม่ที่ทำงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่มากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น คนไข้เยอะต้องรอคิวตรวจค่อนข้างนาน และมีขั้นตอนในการทำธุระต่าง ๆ กับทางโรงพยาบาลหลายขั้นตอน เช่น จ่ายเงิน รับยา ตรวจเลือด และที่สำคัญที่สุดเลยนั่นคือจำนวนห้องพักพิเศษมีน้อย อาจจะต้องอยู่ห้องรวม ถ้าห้องพักพิเศษเต็ม
ส่วนรายจ่ายต่างๆ ในโรงพยาบาลรัฐ มีการแจ้งไว้อย่างเรียบร้อยเป็นเอกสารบริเวณหัวเตียง หรือถ้าไม่มี คุณแม่สามารถขอดูได้จากพยาบาล ซึ่งมีการแจงไว้อย่างละเอียด เช่น ค่าคลอดธรรมชาติ ค่าผ่าตัดคลอด ยาบล็อคหลัง ยาสลบ ค่ายาต่างๆ ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าเตียงทารกแรกเกิด ฯลฯ ค่าใช้จ่ายมักจะเริ่มในหลักพัน แต่ถ้ามีการผ่าคลอด ก็ขึ้นไปหลักหมื่นต้น ๆ
ซึ่งหากคุณแม่ที่ต้องการความสะดวกสบายจะทำการเลือกโรงพยาบาลเอกชน ก็จะมีหลายระดับให้คุณแม่เลือก ในแต่ละแห่งก็จะมีความหลากหลาย ทั้งเรื่องการบริการ และราคาแตกต่างกันออกไป โดยข้อดีของโรงพยาบาลเอกชนนี้คือคนเข้ารับบริการไม่มากเหมือนโรงพยาบาลรัฐไม่ต้องรอคิวนานได้รับความสะดวกสบายในเรื่องต่างๆ มีของใช้เบื้องต้นสำหรับเด็กอ่อนให้ครบครัน และมีแพทย์ที่เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ส่วนข้อเสียก็มีไม่น้อยเช่นกันนะคะดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายสูง ไม่สามารถเบิกได้
2. มีการคิดค่าใช้จ่ายจิปาถะค่อนข้างมาก ฉะนั้นคุณแม่ควรศึกษาในรายละเอียดให้ดีก่อน
ปัจจุบันโรงพยาบาล เอกชนต่างมีการโฆษณาเชิญชวน ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการคลอด ที่เราได้ยินกันว่าเป็นแพ็กเกจคลอด มีหลายรูปแบบให้เลือก คือ การคลอดธรรมชาติ การผ่าตัดคลอด ซึ่งในแต่ละแพ็กเกจก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยไปอีก เช่นจะใช้ยาบล็อกหลังหรือไม่ หรือต้องนอนพักโรงพยาบาลได้กี่วัน ค่าพยาบาลทารกแรกคลอด ค่าตรวจพิเศษ ฯลฯ
ซึ่งคุณแม่ที่เลือกรูป แบบค่าใช้จ่ายในลักษณะนี้ ต้องดูหมายเหตุได้ดีเสียก่อน เพราะ มีการคิดค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ที่ว่ามาค่อนข้างมาก ไม่เช่นนั้น หลังจากคลอดลูกน้อยเรียบร้อยแล้วต้องจ่ายสตางค์ อาจมีอาการตกใจ งงว่าค่าอะไรที่เพิ่มบ้าง เรื่องแบบนี้ถ้าคุณแม่สงสัย ก็ควรสอบถามทันที ค่าใช้จ่ายในการคลอด โรงพยาบาลเอกชน เริ่มจากหลักหมื่น ไปจนถึงหลักแสนก็เป็นได้ ถ้าเป็นโรงพยาบาลชั้นนำ ทั้งนี้ตัวแปรที่สำคัญ ในส่วนของกรณีฉุกเฉิน เช่น เลือกแพ็คเกจคลอดธรรมชาติเอาไว้ ราคา 25,000 บาท แต่เมือถึงเวลาจริง คุณแม่จำเป็นต้องผ่าคลอด ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มอีกเท่าตัว เพราะในส่วนของค่าอุปกรณ์การแพทย์ รวมถึงห้องพักที่ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น
⇒ Must read : ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงตอนคลอด ต้องจ่ายเท่าไร?
⇒ Must read : ฝากครรภ์ฟรี! คลอดบุตรฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
♦ แนวทางในการกำหนดเงินก่อนคลอด!
- คำนวณค่าใช้จ่ายตลอดการตั้งครรภ์ไว้คร่าวๆ เช่น ตั้งครรภ์ช่วง 4-5 เดือนแรกต้องไปหาคุณหมอเดือนละ 2 ครั้ง
- ถ้าคุณแม่เลือกโรง พยาบาลเอกชน จะรู้ว่าค่าใช้จ่ายในการคลอดอย่างต่ำเป็นเงินเท่าไหร่ ก็ควรเผื่อเพิ่มไว้อีกจำนวนหนึ่ง เผื่อเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้เงินเพิ่ม
อย่างไรก็ดีถึงแม้เด็กแรกเกิด จะยังไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ก็ควรมีเงินเก็บในกรณีที่ลูกไม่สบาย หรือต้องซื้อของใช้ ซึ่งในปัจจุบันของใช้เด็กอ่อนมีให้เลือกมากมาย หลากหลายคุณภาพ และหลายหลายราคาให้คุณแม่ได้เลือกหามาใช้ ตามความพอใจและกำลังเงิน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องคำนวณดี ๆ ว่าสิ่งใดจำเป็นและไม่จำเป็น เพื่อเก็บเงินบางส่วนนั้นไปเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่สำคัญกว่า
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ของใช้ทารกแรกเกิด 11 อย่างที่ไม่จำเป็นต้องซื้อ
- ของใช้เด็กหมดอายุ เมื่อไหร่ จะรู้ได้อย่างไร?
- ค่าใช้จ่ายสำหรับลูก ตั้งแต่ แรกเกิด – ป.ตรี ต้องใช้เงินเท่าไหร่? รู้หรือยัง?
ขอบคุณข้อมูลจาก : moneyhub.in.th