ข้อควรปฏิบัติสำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้า
การพาตัวเราเองให้ออกห่างจากภาวะซึมเศร้า เชื่อว่าใครหลายๆ คนอาจทำได้ยาก อาจเพราะด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่างที่นำพาให้ต้องประสบกับอาการซึมเศร้าในชีวิต และไม่รู้จะหาทางออกให้ตัวเองอย่างไร ผู้เขียนมีข้อควรปฏิบัติง่ายๆ เพื่อดูแลตัวเองจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งคำแนะนำนี้ผู้เขียนอนุญาตนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้มาจาก นพ.พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์[8] ซึ่งคุณหมอได้ชีแนะไว้ดังนี้…
- อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป หรือรับผิดชอบมากเกินไป
- แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมทั้งจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำเท่าที่สามารถทำได้
- อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
- พยายามทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
- เลือกทำกิจกรรมที่จะสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น หรือเพลิดเพลินและไม่หนักเกินไปเช่นการออกกำลังเบาๆ การชมภาพยนตร์ การร่วมทำกิจกรรมทางสังคม
- อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออกจากงาน การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่รู้จักผู้ป่วยดี และ ต้องเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาเหตุการณ์นั้นอย่าง ที่ยงตรง มีความเป็นกลาง และ ปราศจากอคติที่เกิดจากอารมณ์มาบดบัง ถ้าเป็นไปได้ และ ดีที่สุด คือ เลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าภาวะโรคซึมเศร้าจะหายไปหรือดีขึ้น มากแล้ว
- ไม่ควรตำหนิ หรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถทำ ได้อย่างที่ต้องการ เพราะ ไมใช่ความผิดของผู้ป่วย ควรทำเท่าที่ตนเองทำได้
- อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะ ซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเองเพราะโดยแท้จริงแล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของโรค หรือ ความเจ็บป่วย และ สามารถหายไปได้เมื่อรักษา
- ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลายเป็นคนที่ต้องการ ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นแต่ก็อาจมีบุคคลรอบตัวๆ ที่ไม่เข้าใจในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย และ อาจสนองตอบในทางตรงกันข้ามและกลายเป็น การซ้ำเติมโดยไม่ได้ตั้งใจ[8]
บทความแนะนำ คลิก >> อย่ารู้สึกผิดเลยถ้าแม่ลูกวัย 1 ขวบจะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ ก็สามารถเกิดภาวะป่วยซึมเศร้าได้เช่นกันค่ะ แนะนำว่าเมื่อพบว่าตัวเอง หรือคนในครอบครัวมีอาการเริ่มต้นว่าจะเป็นซึมเศร้า ขอให้รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที และจะได้หายขาดโดยเร็ว ที่สำคัญกำลังใจจากครอบครัว และคนรอบข้างก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่ป่วยซึมเศร้า …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
สามีเขียนเหตุผล 15 ข้อที่ทำให้เขารักภรรยาผู้มีอาการของโรคซึมเศร้า
ซึมเศร้าหลังคลอด อาการ ที่แม่หลังคลอดควรรู้ !
10 สัญญาณ แม่ท้องกำลังเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1,2,3,4,5,6,7โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
8 นพ.พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์. จิตแพทย์แนะ 9 วิธี ต้านซึมเศร้า. โรงพยาบาลมนารมย์
ข้อมูลและภาพบางส่วนจาก : www.thairath.co.th