5. การนวดมดลูกไม่สามารถแก้ไขปัญหามดลูกต่ำ เพราะไม่สามารถแก้ไขความอ่อนแอของเอ็นพยุงมดลูกหรือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแอ ทั้งนวดไม่ถึงตัวมดลูกที่เคลื่อนลงไปในช่องคลอด
6. โดยทั่วไปไม่ควรนวดมดลูกหลังไข่ตก หากประจำเดือนมาทุก 28 วัน ไม่ควรนวดมดลูกวันที่ 14 - 21 ของประจำเดือน เพราะการนวดที่รุนแรงอาจทำให้ไข่และอสุจิเคลื่อนไหวผิดทิศทาง เกิดปัญหาท้องนอกมดลูกได้
7. การนวดมดลูกที่เรียกว่าการโกยมดลูก เพื่อลดอาการปวดหลัง ปวดท้องน้อย และถ่วงท้องในคนตั้งครรภ์นั้นไม่ควรทำ เพราะอาจจะเกิดการแท้งลูกตกเลือด น้ำคร่ำแตก ทารกคลอดก่อนกำหนด ฯลฯ โอกาสเกิดอันตรายจากการนวดมดลูกจะสูงขึ้น หากเด็กทารกในครรภ์อยู่ในท่าไม่ปกติ เช่น ทารกท่าขวาง ท่าก้น มีภาวะรกเกาะต่ำ มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นต้น
8. สำหรับผู้ที่ให้ผู้อื่นนวดมดลูก ต้องระวังการนวดที่รุนแรงหักโหม หากรู้สึกเจ็บ ซึ่งเป็นการเตือนของร่างกาย ไม่ควรฝืนหรืออดทนเอา ควรบอกผู้นวดให้นวดเบา ๆ หรือหยุดนวดทันที
แต่ถ้าต้องการให้หายปวดประจำเดือนแบบถาวรละก็ คุณแม่ควรปรับอาหารการกิน และหันมารับประทานอาหารชีวจิตหรืออาหารสุขภาพ พร้อมกับออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยนะคะ
เครดิต: คอลัมน์เปิดห้องหมอสูติ นิตยสารชีวจิต และ Good Life Update
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่