ผศ.สมศรี กล่าวด้วยว่า หลังได้ทดลองในห้องปฏิบัติการแล้ว ยังได้ทดลองประสิทธิภาพของแกงเลียงในหนูทดลอง โดยศึกษาหาสารต้านความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ มะเร็งในระยะเริ่มต้น ว่าลดลงหลังรับแกงเลียงหรือไม่?
โดยนักวิจัยได้นำส่วนผสมของแกงเลียง มีกุ้งแห้ง หอมแดง กะปิ พริกไทย ฟักทอง บวบ ตำลึง ใบแมงลัก จากนั้นนำมาต้นทำเป็นอาหาร และนำไปแช่แข็ง จนนำมาปั่นละลายน้ำให้หนูทดลองกิน ในปริมาณ 2 ระดับ คือ 1 หน่วยบริโภค ของน้ำหนักตัวหนู และ 2 หน่วยบริโภค โดยเทียบกับหนูที่กินอาหารปกติที่ไม่ใช่แกงเลียง
ทั้งนี้ พบว่า หนูที่เป็นมะเร็งและกินแกงเลียงในปริมาณ 1 หน่วยบริโภคเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ปรากฏว่าเซลล์มะเร็งลดลงร้อยละ 45 ขณะที่หนู กลุ่มที่กินแกงเลียงปริมาณ 2 หน่วยบริโภค เซลล์มะเร็งลดลงร้อยละ 48
สรุปคือ ไม่ว่าจะกินแกงเลียงปริมาณเท่าไรไม่ได้มีผลแตกต่าง แต่สามารถลดเซลล์มะเร็งในลำไส้ลงได้ร้อยละ 45-48 ทั้งนี้ เป็นผลวิจัยในสัตว์ทดลอง จึงไม่แนะนำให้กินเพื่อรักษาโรคมะเร็งลำไส้ แต่แนะนำให้กินเพื่อเสริมการรักษา เพราะเบื้องต้นพบว่า อาจลดการขยายของเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลามได้ ซึ่งควรใช้ในแง่การป้องกันการเกิดโรคมากกว่า
ทุกคนในครอบครัวจะสามารถป้องกันมะเร็งได้อย่างไร?
มะเร็งเป็นโรคที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และจะพบได้สูงในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
“มะเร็ง” หรือทางการแพทย์เรียกว่า “เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย” เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่มีความผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้อร้าย และรุกรานไปยังอวัยวะส่วนข้างเคียง หรือแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่ห่างไกล ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด
Must read : 19 สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
ผลการวิจัยจากทั่วโลกยืนยันตรงกันว่าโรคมะเร็งร้อยละ 60 สามารถป้องกันได้ โดยการ
- ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี
- ตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม
- ฉีดวัคซีนป้องกันในมะเร็งบางประเภท
- ไม่สูบบุหรี่หรือยาเส้น
- ไม่ดื่มสุรา
- ไม่สำส่อนทางเพศ
- ปกป้องตัวเองจากแสงแดดจัด
- รับประทานอาหารที่ช่วยต้านมะเร็ง
- ผักและผลไม้บางประเภท ที่มีสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์ที่ก่อมะเร็ง เช่น คะน้า บร็อกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ผักโขม แครอท แอปเปิล ส้ม บีทรูท เห็ดหลินจือ
- ธัญพืช ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกจึงลดการเกิดโรคมะเร็งได้ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี ลูกเดือย งาดำ
- ดื่มน้ำสะอาดที่มีอุณหภูมิปกติไม่ร้อนหรือเย็น ให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยทำความสะอาดและขจัดสารพิษสิ่งสกปรกออกจากเซลล์ในร่างกาย
- ชาเขียว ที่ประกอบด้วยสารคาเทชินและสารเคมีอีกหลายชนิด ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง จึงช่วยป้องกันโรคมะเร็ง รวมถึงลดการเติบโตของมะเร็งได้ แต่ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหารจากพืชมากขึ้นทั้งผักและผลไม้ เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการขัดสีให้มากขึ้น
- ไม่รับประทานอาหารที่ผ่านกรรมวิธีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น อาหารปิ้งย่างและรมควัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อ่านต่อ >> “ คลิปวีดีโอสุดยอด “5 แกงไทย” ที่ฆ่าเซลล์มะเร็งได้” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่