บัตรทอง ผู้ใช้มีเฮ! ไม่ต้องรอรับยานานอีกต่อไปที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยถือ สิทธิบัตรประกันสุขภาพ สามารถรับยาได้ที่ร้ายขายยาใกล้บ้าน สปสช.แจงเริ่ม 1 ตุลาคมนี้
มีเฮ!! ไม่เสียเวลารอ บัตรทอง รับยาที่ร้านขายยาใกล้บ้านได้แล้ว
ปัจจุบันในประเทศไทย มีสิทธิเพื่อเข้าถึงบริการทางการแพทย์จากภาครัฐอยู่ 5 ประเภท ได้แก่ สิทธิข้าราชการ สิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น สิทธิพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคม และสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่รู้จักกันดีว่า สิทธิบัตรทอง
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิ บัตรทอง
บัตรทอง เป็นสวัสดิการให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า คนทำงานรับจ้างที่ไม่มีสวัสดิการคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงานเช่นเดียวกับแรงงานในระบบที่มีสิทธิลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ เพื่อใช้สิทธิโดยไม่ต้องเสียค่าบริการ (ตรวจสอบสิทธิได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ www.nhso.go.th)
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มที่สิทธิบัตรทองให้ความคุ้มครองดังกล่าว สามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ จากนั้นสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิที่เลือก ตามถิ่นที่อยู่อาศัย หากการรักษาพยาบาลเกินศักยภาพของหน่วยบริการ แพทย์จะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค และสามารถขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี
สิทธิที่จะได้รับจาก บัตรทอง
- เจ็บป่วยทั่วไป ที่ไม่ใช่อาการฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิ เพียงยื่นบัตรประชาชน
- เจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรืออาการรุนแรงขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว (ตามนิยามทางการแพทย์) ให้เข้ารับบริการกับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุดโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรณีเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วม ให้ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ
- อุบัติเหตุ แบ่งเป็น 2 กรณี หากประสบอุบัติเหตุทั่วไป ให้ปฏิบัติเหมือนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่กรณีประสบอุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหมดก่อน ส่วนเกินจึงจะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้
- สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (สีแดง) ที่หากไม่รักษาทันทีมีโอกาสเสียชีวิตสูง ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤติ และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยมี 6 กลุ่มอาการที่เข้าข่าย ดังนี้1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตโดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังเวลา 72 ชั่วโมง ในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สามารถย้ายเข้าระบบหน่วยบริการได้ แต่หากปฏิเสธไม่ขอย้าย ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อไปเอง (หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามได้ที่ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) 02 872 1699 ตลอด 24 ชั่วโมง)
ที่มา : https://www.set.or.th
ผลสำรวจผู้ใช้สิทธิบัตรทองปี 2565 พบมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
26 ก.ย.2565 ทีมสื่อ สปสช. รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยมี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน มีมติรับทราบผลสำรวจความเห็นของประชาชน ผู้ให้บริการและองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนอยู่ที่ 97.69% ส่วนของภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน 97.62% และหน่วยบริการอยู่ที่ 86.19%
สำหรับสิ่งที่ยังไม่พึงพอใจ ด้านประชาชนและองค์กรภาคีเครือข่าย ต้องการให้สามารถไปรักษาที่หน่วยบริการได้ทุกที่ เพิ่มสิทธิการรักษาให้ครอบคลุมทุกโรค และสร้างการรับรู้ในหน่วยงานมากยิ่งขึ้น เพิ่มเติมการส่งเสริมและดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งขยายบริการให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่
นอกจากนี้ยังได้มีข้อเสนอต่อการระบบบริการของสิทธิบัตรทองด้วยเช่นกัน อาทิ สนับสนุนและส่งเสริมเพื่อลดความแออัดในการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลและระบบช่วยนัดหมาย ทบทวนระเบียบ กฎเกณฑ์ และงบประมาณ ขยายขอบเขตสิทธิประโยชน์เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ฯลฯ
พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากผลสำรวจในปี 2564-2565 นี้ไม่ว่าจะเป็นฝั่งของประชาชน หน่วยบริการ หรือภาคีเครือข่าย ต่างมีความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากประเด็นความพึงพอใจจากผลสำรวจ เช่น การลงทะเบียนสิทธิย้ายหน่วยบริการได้สิทธิทันที นโยบายผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว มะเร็งรักษาที่ไหนก็ได้ การเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่ผู้รับบริการจะได้รับ ฯลฯ
พญ.ลลิตยา กล่าวต่อไปว่า กระบวนการสำรวจความเห็นนี้เป็นสิ่งที่ทาง สปสช. ทำมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งแต่ละปีการได้เสียงสะท้อนกลับมา ทำให้รู้ว่าการดำเนินงาน นโยบาย และระบบบริการของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน และควรที่จะปรับปรุงในส่วนไหนเพิ่มเติม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อมุ่งสร้างระบบบริการที่ตอบโจทย์ให้กับทั้งประชาชน ผู้ให้บริการ และองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : https://prachatai.com
อ่านต่อ>> บัตรทอง ไม่หยุดพัฒนา เพิ่มบริการ “รับยาจากร้านขายยา” ลดการรอคอย คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่