ธนาคารไข่ หรือ ธนาคารที่มีไว้สำหรับ ฝากไข่ คืออะไร?
ศรายุธ อัสสมกร กรรมการผู้จัดการ ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน เล่าให้ฟังว่า ผู้หญิงที่มาใช้บริการฝากไข่มีด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรกคือ ฝากไข่ด้วยเหตุผลเชิงสังคม ประเภทที่สองคือ ผู้หญิงที่เสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม
“การฝากไข่ก็เหมือนกับการทำประกัน เป็นการเก็บไข่ไว้สำหรับใช้ในอนาคต เพราะผู้หญิงเกิดมาจะมีไข่อยู่จำนวนหนึ่ง ประเด็นคือ ทุกวันที่ไข่ตก เราไม่รู้ว่าไข่ที่ตกไปเป็นไข่ดีหรือไม่ดี และที่เหลืออยู่ก็ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดี การแช่แข็งไข่จึงเป็นการเพิ่มโอกาส เพราะด้วยเทคนิคเราสามารถกระตุ้นไข่ให้ออกมาในปริมาณที่พอเหมาะ พร้อมกับคัดสรรคุณภาพไข่ที่ดี ประมาณ 10-15 ใบ มาเก็บไว้โดยการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -150 องศาเซลเซียส”
ไข่ที่แช่แข็งไว้สามารถเก็บไว้ได้นานเท่าที่ต้องการ โดยที่คุณภาพของไข่ยังเหมือนเดิม เพราะที่อุณหภูมิ -150 องศาเซลเซียส ทำให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโต นั่นคือถ้าผู้ฝาก-ฝากไข่เมื่ออายุ 30 ปี แม้เวลาผ่านไป 10 ปี ไข่นั้นจะยังคงคุณภาพและอายุเท่าเดิม
ส่วนอีกกลุ่มคือ คนที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม เช่น มะเร็ง เพราะการรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการกดภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบกับไข่ นั่นคือแม้ผู้ป่วยจะหายจากมะเร็ง แต่รังไข่ไม่สามารถผลิตไข่ได้อีก เป็นต้น
ขอบคุณที่มา: ประชาชาติธุรกิจ และมติชนรายวัน
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่