ความรักกับคนอะไรเกิดก่อนกัน ? เริ่มรู้สึกถึงอารมณ์รักเมื่อรู้ความ หรือเป็นสัญชาตญาณติดตัวมาตั้งแต่ลืมตาดูโลก และ “ความรักของเด็ก” เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสถานการณ์ทางสังคมกันแน่
ความรักเป็นเรื่องมีเหตุผล
#ความรัก มีหลักการและเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ อย่างทฤษฎีจิตวิทยาวิวัฒนาการ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ใช้ในการอธิบายสภาวะจิตใจของคน ว่าการที่มีความรู้สึกเช่นนี้ มีพฤติกรรมแบบนี้ มีผลมาจากอะไร นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสารเคมีในสมองที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก รวมถึงการทำงานของระบบฮอร์โมน อย่างโดปามีน สารแห่งความสุขที่จะหลั่งออกมาเมื่อรู้สึกพึงพอใจ, อะดรีนาลีน สารที่กระตุ้นให้รู้สึกตื่นเต้นหรือเขินอาย, เซโรโทนิน สารที่ส่งผลต่อการแสดงออก ทำให้เกิดพฤติกรรมบางอย่างแบบไม่รู้ตัว เช่น เผลอยิ้มออกมา
ความรักของเด็กในแต่ละช่วงวัย
#ความรัก คืออารมณ์ที่อธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ความรักของเด็กๆ จะเป็นไปตามธรรมชาติ ที่เกิดจากสถานการณ์แวดล้อม ทั้งจากครอบครัว สังคม รวมทั้งการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง เด็กจะรู้สึกรักผู้ที่ดูแลตั้งแต่วัยทารก พอโตขึ้นหน่อยก็จะเริ่มมีความรักต่อสิ่งของ เช่น ของเล่น ตุ๊กตา หรือบุคคลอื่นที่นอกเหนือไปจากพ่อแม่ แต่การแสดงออกถึงความรักต่อผู้อื่นนั้น ขึ้นอยู่กับความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ ครอบครัวใกล้ชิดที่มีต่อกัน หากเด็กๆ ไม่ได้รับความรัก หรือทางกลับกันได้รับแต่แรงกดดัน ความเกลียดชัง อารมณ์ด้านความรักของเด็กจะไม่พัฒนา และนำไปสู่การออกไปหาความรักจากนอกบ้าน เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา
ในส่วนของจิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น Erik Erikson ได้จำแนกพัฒนาการของเด็กไว้ ดังนี้
- ระยะที่หนึ่ง ช่วงอายุ 1 ขวบ เป็นช่วงระยะของความไว้วางใจหรือความไม่ไว้วางใจ ในระยะนี้ถ้าเด็กได้รับความรักความอบอุ่น ความเอาใจใส่ เด็กจะมีพัฒนาการด้านความไว้วางใจต่อผู้อื่น ถ้าเด็กไม่ได้รับในสิ่งที่ต้องการ เด็กจะเกิดความสงสัย ความกลัว และความไม่ไว้วางใจผู้อื่น
- ระยะที่สอง ช่วงอายุ 2 ขวบ คือช่วงระยะความเป็นตัวของตัวเองและความสงสัย ถ้าเด็กมีโอกาสได้สำรวจ ทดลองทำในสิ่งที่ตัวเองสงสัยใคร่รู้ เด็กจะมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัวเอง มีความสามารถในการควบคุมตนเอง หากถูกขัดขวางหรือไม่มีโอกาส เด็กจะสงสัยในความสามารถตัวเอง และเกิดความไม่กล้า
- ระยะที่สาม ช่วงอายุ 3-5 ขวบ เป็นช่วงระยะของความคิดริเริ่มหรือความสำนึกผิด หากมีการกระตุ้นให้เด็กแสดงความสามารถอย่างมีเป้าหมาย เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทางกลับกันหากถูกตำหนิ ถูกห้ามอยู่เป็นประจำ เด็กจะไม่กล้าตัดสินใจ เพราะกลัวจะทำอะไรผิด
- ระยะที่สาม ช่วงอายุ 6-11 ขวบ เด็กจะอยู่กับการเรียน การปฏิบัติตนตามกฎระเบียบต่างๆ เป็นระยะที่ควรฝึกระเบียบวินัย การรู้จักหน้าที่ แต่ไม่ควรกดดันจนเด็กๆ รู้สึกล้มเหลว เพราะจะส่งผลทำให้เด็กรู้สึกว่าตนมีปมด้อย
- ระยะที่สาม ช่วงอายุ 12-19 ขวบ ช่วงระยะของความเอาการเอางาน หรือความรู้สึกมีปมด้อย เป็นช่วงวัยรุ่นซึ่งเพื่อนๆ จะเข้ามามีบทบาท และยังเป็นช่วงของการเรียนรู้ที่จะมีเอกลักษณ์ของตนเอง ถ้าเด็กไม่สามารถสร้างเอกลักษณ์ของตนเองได้ ก็จะเกิดการเลียนแบบผู้อื่น
#เด็กต้องการความรักเสมอ เมื่อเด็กเริ่มจำความได้จะรู้สึกถึงความรักความอบอุ่น อยากได้รับความรัก เด็กที่ได้รับความรักจากพ่อแม่ พี่น้อง คนในครอบครัว เด็กๆ จะมีอารมณ์แจ่มใสคงที่ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่รู้สึกอิจฉาผู้อื่น ซึ่งตรงกันข้ามกับเด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น
#เด็กต้องการความปลอดภัย เด็กต้องการความเสมอต้นเสมอปลาย หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกระทันหัน เด็กจะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จนรู้สึกไม่ปลอดภัย
#เด็กต้องการสังคม เด็กทุกคนต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
#เด็กต้องการอิสรภาพ เด็กต้องการทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ และมีอิสระตามความสามารถของตน
“เพราะความรัก ความเอาใจใส่เป็นสิ่งสำคัญ คนที่ขาด #ความรัก ไม่ว่าจะในฐานะผู้ให้หรือผู้รับ อาจรับรู้ได้ถึงการขาดหายไปของส่วนสำคัญของชีวิต”
มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้การเลี้ยงดูเด็กที่ขาดพ่อแม่และญาติมิตร ลักษณะครอบครัวทดแทนถาวรระยะยาว เด็กๆ จะได้รับการเลี้ยงดูจากแม่โสสะด้วยความรักความเอาใจใส่ และเติบโตท่ามกลางสายสัมพันธ์ของพี่น้องชายหญิงในบ้านแห่งความรักของเด็กทุกคน ซึ่งอยู่ร่วมกันในชุมชนหมู่บ้านเด็กที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน อีกทั้งเด็กๆ จะได้รับการศึกษาสูงสุดตามความสามารถ ปัจจุบันมีเด็กอยู่ในการดูแลของครอบครัวโสสะประมาณ 700 คน ในหมู่บ้านเด็กโสสะ 5 แห่งทั่วประเทศไทย ได้แก่ บางปู สมุทรปราการ, หาดใหญ่ สงขลา, หนองคาย, เชียงราย และภูเก็ต
…เราไม่เพียงแต่รับเด็กเข้าสู่ครอบครัว
หากแต่เราเน้นสร้างครอบครัวที่อบอุ่นให้เป็นของเด็กทุกคน…
ชมคลิป แล้วจะรู้ว่าเด็กๆ อยากได้อะไรที่สุด
ร่วมสนับสนุน
คุณแม่โสสะ และเด็กๆ ทุกคนให้เติบโตด้วยความรักอย่างพึ่งพาตนเองได้อีกครั้ง