เกณฑ์ใช้ ยารักษาโควิด19 ระดับไหนจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์ - Amarin Baby & Kids
ยารักษาโควิด19

เกณฑ์ใช้ ยารักษาโควิด19 ระดับไหนจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์

Alternative Textaccount_circle
event
ยารักษาโควิด19
ยารักษาโควิด19

เกณฑ์ใช้ ยารักษาโควิด19 ระดับไหนจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์

ปัจจุบันนอกจากการรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 แล้ว ยังมี ยารักษาโควิด19 ออกมาหลายตัว สำหรับรักษาผู้ที่ติดเชื้อโควิด19 ยาที่เรารู้จักและใช้รักษากันมาตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาก็คือ ยาฟาวิพิราเวียร์ ล่าสุดทางกรมการแพทย์ได้ออกเกณฑ์ในการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ และยารักษาโควิด19ตัวอื่น ๆ ขึ้นมา ลองไปดูกันค่ะว่า ป่วยระดับไหนเราถึงจะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ค่ะ

เกณฑ์ใช้ ยารักษาโควิด19 ของผู้ป่วยทั่วไปอายุมากกว่า 18 ปี

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งผู้ที่มีอาการและไม่แสดงอาการ แบ่งเป็นกลุ่มตามความรุนแรงของโรคและปัจจัยเสี่ยงได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี(Asymptomatic COVID-19)

o ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation)
o ให้ดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น favipiravir เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง
o อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ(Symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors for severe disease)

o อาจพิจารณาให้ favipiravir ควรเริ่มยาโดยเร็วที่สุด ตามดุลยพินิจของแพทย์
o หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ oxygen

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่

1) อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
2) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) (GOLD grade 2 ขึ้นไป) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
3) โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)
4) โรคหัวใจและหลอดเลือด (NYHA functional class 2 ขึ้นไป รวมโรคหัวใจแต่ก าเนิด
5) โรคหลอดเลือดสมอง
6) เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
7) ภาวะอ้วน (น้ าหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.)
8) ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)
9) ภาวะภูมิคุ้มกันต่ า (เป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบ าบัดหรือยากดภูมิหรือ corticosteroid equivalent to
prednisolone 15 มก./วัน นาน 15 วัน ขึ้นไป)
10) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4 cell count น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.

ยารักษาโควิด19
ระดับไหนจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์

การให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยกลุ่มที่ 3

แนะนำให้ยาต้านไวรัสเพียง 1 ชนิด โดยควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดีให้ยาโดยพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่ ประวัติโรคประจำตัว ข้อห้ามการใช้ยา ปฏิกิริยาต่อกันของยาต้านไวรัสกับยาเดิมของผู้ป่วย (drug-drug interaction) และการบริหารเตียง ความสะดวกของการให้ยารวมถึงปริมาณยาสำรองที่มี

  • ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ให้ยา Favipiravir 
  • มีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อ ให้ยา Molnupiravir หรือ Remdesivir หรือ Nirmatrelvir/ritonavir หรือ Favipiravir
  • มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 2 ข้อ ให้ยา  Remdesivir หรือ Nirmatrelvir/ritonavir หรือ Molnupiravir

 

ยารักษาโควิด19 ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งผู้ที่มี
อาการและไม่แสดงอาการ ให้ใช้ยาในการรักษาจ าเพาะดังนี้ โดยมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเหมือนผู้ใหญ่

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic COVID-19)

  • แนะนำให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง (Mild symptomatic COVID-19 without pneumonia
and no risk factors)

  • แนะนำให้ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4 (Mild symptomatic COVID-19 pneumonia but with risk factors) ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ ได้แก่ อายุน้อยกว่า 1 ปี และภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ โรคอ้วน (น้ำหนักเทียบกับความสูง (weight for height) มากกว่า +3 SD) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน กลุ่มโรคพันธรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์
เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า

  • แนะนำให้ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน อาจให้นานกว่านี้ได้หากอาการยังมาก โดยแพทย์พิจารณาตามความ
    เหมาะสม

ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมการแพทย์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อัปเดทล่าสุด ATK ขึ้น 2 ขีด ลูกติดโควิดพ่อแม่ควรทำยังไง

อัปเดท คนท้องติดโควิด รักษาอย่างไร?

ควร กินอะไรเสริมภูมิ บรรเทาอาการลูกน้อยจากลองโควิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up