หมอภัทรชี้! เทรนด์พ่อแม่มือใหม่เน้นใช้เทคโนโลยีตอบโจทย์การมีบุตร หวังสร้างลูกแข็งแรงสมบูรณ์ สร้างประชากรคุณภาพ พร้อมชวนคนรุ่นใหม่วางแผนและให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร ลดความเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรม
รศ. นพ.ภัทรภูมิ โพธิ์พงษ์ สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก ได้เปิดเผยข้อมูลในงาน “โรงพยาบาลนครธน อยู่เคียงข้างทุกช่วงเวลาของชีวิต” กับช่วงกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “เทคโนโลยีเติมเต็มความสมบูรณ์ของครอบครัว” ว่า ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะเรื่องของจำนวนประชากรที่ลดลง ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรในแต่ละช่วงวัยจึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่โลกต้องเผชิญเรื่องของสังคมผ้สูงอายุ
ดังนั้นการเพิ่มจำนวนประชากรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความท้าทาย รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงพยายามในการวางแนวทางกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการกระตุ้นหรือสร้างความตระหนักในการร่วมกันเพิ่มจำนวนประชากรให้มากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น โดยเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวไปจนถึงระดับชาติในการร่วมวางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการอำนวยประโยชน์และสร้างความสามารถในการมีบุตรที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นสังคม มากกว่าการเพิ่มแต่เพียงจำนวนเท่านั้น
ซึ่งในทางการแพทย์คุณภาพหมายถึงประชากรที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง ด้านของสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสและลดภาระของสังคมในอนาคต ทั้งนี้พบว่าเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคน Generation Y และ Generation Z ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างมีความตื่นตัวในการวางแผนเรื่องของการมีบุตรมากขึ้น ทั้งคนที่กำลังสร้างครอบครัวและคนที่ยังไม่มีครอบครัว เนื่องจากมีการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้น และสามารรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจะเกิดขึ้นได้ รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีมากขึ้นนั่นเอง
“เทรนด์ในอนาคตบอกได้เลยว่า คนรุ่นใหม่จะมีความสนใจและใส่ใจในตัวเองและครอบครัว มีการวางแผนมากขึ้น โดยเฉพาะการมีบุตร เราจะเห็นว่าคนจะแสวงหาความรู้แสวงหาเทคโนโลยีในการช่วยเรื่องของการมีบุตรมากขึ้น ไม่เฉพาะผู้มีบุตรยาก หรือมีปัญหาสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นกลุ่มที่ต้องการมีบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีการวางแผน ดังนั้นในอนาคตคนจะมาฝากไข่ ฝากอสุจิมากขึ้น เป็นตัวช่วยเพิ่มความสามารถในการมีบุตร ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการช่วยเรื่องการวางแผนการมีบุตรนั้นมีไว้สำหรับทุกคนและทุกวัย”
รศ. นพ.ภัทรภูมิกล่าวและว่า…
อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเป็นการเตรียมตัวในการสร้างประชากรหรือมีบุตรที่มีคุณภาพนั้นคือการตรวจสุขภาพการก่อนมีบุตร นับเป็นเรื่องที่มีสำคัญและมีความจำเป็น เป็นอย่างมาก เพราะเป็นจุดแรกในการคัดกรองและรู้ถึงสุขภาพทั้งด้านกรรมพันธุ์และยีนส์ด้อยที่อาจไม่ได้มีการแสดงอาการ หากแต่จะเป็นจุดเริ่มต้นปัญหาของโรคภัยต่าง ๆ ได้สำหรับบุตรในครรภ์หากทั้งพ่อและแม่มียีสต์ด้อยที่ตรงกัน แล้วไม่ทราบล่วงหน้านั่นเอง โดยเฉพาะประเทศไทยโรคเลือด หรือ ธาลัสซีเมีย ถือเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่สามารถถ่ายถอดทางพันธุ์กรรมได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่คู่สมรสที่ต้องการวางแผนการมีบุตรต้องให้ความสำคัญ
รศ. นพ.ภัทรภูมิ กล่าวทิ้งท้ายว่า การตรวจสุขภาพของคู่สมรสทั้งชายและหญิง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยในเรื่องของการมีบุตร จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวของทุกคนต่อไปในอนาคต แต่จะเป็นเรื่องจำเป็น ทางรอดมากกว่าทางเลือก ซึ่งเชื่อมั่นว่าหน่วยงานภาครัฐเองก็อาจจะมีแนวทางในการส่งเสริมเรื่องเหล่านี้ให้กับภาคประชาชนในการร่วมกันสร้างประชากรที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณในอนาคต