เช็คด่วน! พื้นที่น้ำประปาเค็ม คลอไรด์สูงเกินมาตรฐาน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ งดบริโภค
พื้นที่น้ำประปาเค็ม

เช็คด่วน! พื้นที่น้ำประปาเค็ม คลอไรด์สูงเกินมาตรฐาน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ งดบริโภค

Alternative Textaccount_circle
event
พื้นที่น้ำประปาเค็ม
พื้นที่น้ำประปาเค็ม

การประปานครหลวงออกโรงเตือน พื้นที่น้ำประปาเค็ม เหตุจากน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้น้ำประปาบางพื้นที่ ในบางช่วงเวลาอาจมีรสชาติเปลี่ยนไปจากปกติ ขอให้ประชาชนติดตามอัพเดทข้อมูลผ่านช่องทาง กปน. ออนไลน์ เตือน ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก รวมถึงผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำประปาช่วงน้ำทะเลหนุนสูง

แม่เช็คด่วน! พื้นที่น้ำประปาเค็ม คลอไรด์สูงเกินมาตรฐาน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ งดบริโภค

เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า สถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงในแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2564 ระดับน้ำทะเลหนุนสูงกว่าปกติ และคาดว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงกว่าปกติ ตลอดเดือน ก.พ. ซึ่งจะส่งผลกระทบได้ต่อรสชาติของน้ำประปาเหมือนที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้  จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน โปรดติดตามข้อมูลการคาดการณ์คุณภาพน้ำประปารายวัน ผ่านทาง facebook / twitter / IG / Line : MWAthailand /แอปพลิเคชัน MWAonMobile และ www.mwa.co.th เพื่อสำรองน้ำในช่วงปกติไว้สำหรับการบริโภค ทั้งยังชี้แจงให้ประชาชนมั่นใจว่า ทุกพื้นที่ให้บริการของ กปน. ทั้งกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ จะมีน้ำประปาใช้อย่างไม่ขาดแคลน เพียงแต่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาอาจได้รับผลกระทบจากรสชาติน้ำประปาที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างในบางวันและบางช่วงเวลาแต่น้ำประปายังคงสะอาดปลอดภัย

พื้นที่น้ำประปาเค็ม

43 พื้นที่ น้ำประคลอไรด์สูงเกินมาตรฐาน (เกิน 250 มล./ล.)

  1. อ.ปากเกร็ด
  2. ดอนเมือง
  3. สายไหม
  4. อ.เมืองนนทบุรี
  5. บางซื่อ
  6. หลักสี่
  7. จตุจักร
  8. สายไหม
  9. บางเขน
  10. ลาดพร้าว
  11. บึงกุ่ม
  12. คันนายาว
  13. คลองสามวา
  14. มีนบุรี
  15. หนองจอก
  16. วังทองหลาง
  17. ดินแดง
  18. ห้วยขวาง
  19. พญาไท
  20. ดุสิต
  21. บางพลัด
  22. บางกอกน้อย
  23. ป้อมปราบศัตรูพ่าย
  24. พระนคร
  25. บางรัก
  26. ปทุมวัน
  27. วัฒนา
  28. คลองเตย
  29. สาทร
  30. บางคอมแหลม
  31. ยานนาวา
  32. พระโขนง
  33. บางนา
  34. พระประแดง
  35. อ.เมืองสมุทรปราการ
  36. บางพลี
  37. บางเสาธง
  38. อ.บางบ่อ
  39. ลาดกระบัง
  40. สะพานสูง
  41. บางกะปิ
  42. สวนหลวง
  43. ประเวศ

ทั้งนี้ กปน. จะบริหารจัดการน้ำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด และจะมีการแจ้งข้อมูลให้ทราบล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนเตรียมตัวรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที

สำหรับวิธีดูกราฟคุณภาพน้ำประปา  ในช่วงภัยแล้งและน้ำทะเลหนุนสูง อาจทำให้น้ำประปาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ มีรสชาติกร่อยบ้างบางช่วงเวลา เรามีคำแนะนำการดูกราฟคุณภาพน้ำ ดังนี้

กราฟคุณภาพน้ำ

(red triangle button) กราฟสีแดง คือ ช่วงเวลา ที่ค่าคลอไรด์มากกว่า 250 มก./ล. หมายถึง เริ่มรับรู้รสชาติกร่อยของน้ำประปา แต่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ (ยกเว้นกลุ่มเสี่ยง)

(blue triangle button) กราฟสีน้ำเงิน คือ ช่วงเวลาที่ค่าคลอไรด์ต่ำกว่า 250 มก./ล. น้ำประปามีรสชาติปกติสามารถสำรองน้ำในช่วงเวลานี้ไว้ใช้บริโภคได้

โดยเราสามารถเช็กว่าน้ำประปาในขณะนี้อยู่ในช่วงมีรสกร่อยหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชั่น MWA onMobile เลือกเมนู คุณภาพน้ำ

กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรดื่ม “น้ำประปากร่อย”

รสเค็มอ่อนๆ ในน้ำประปา หรืออาจเรียกว่า “น้ำประปากร่อย” มาจากปริมาณของแข็งหรือเกลือแร่ต่างๆ โดยเฉพาะโซเดียมคลอไรด์ที่ละลายอยู่ในน้ำประปามีปริมาณมากเกินระดับปกติ ในภาวะปริมาณคลอไรด์ปกติ คลอไรด์จะมีความสำคัญในการควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกาย ปริมาณเลือด ความดันโลหิต และความเป็นกรดด่าง ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร แต่หากเราได้รับปริมาณคลอไรด์มากเกินไปอาจส่งผลต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะใน กลุ่มเสี่ยง (ตามคำแนะนำของกรมอนามัย)  ได้แก่

  1. ผู้ป่วยโรคไต
  2. ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  5. เด็กเล็ก
  6. ผู้สูงอายุ
  7. สัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก

คำแนะนำสำหรับกลุ่มเสี่ยง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำประปา ควรดื่มน้ำเปล่าจากขวดที่บรรจุน้ำสำหรับดื่มเฉพาะไปก่อน หรือหากที่บ้านมีเครื่องกรองน้ำ ชนิดที่สามารถกรองโซเดียม/คลอไรด์ได้ ก็ควรกรองน้ำก่อนดื่มทุกครั้ง หากมีความสงสัยว่าน้ำที่ดื่มจะอันตรายหรือไม่ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ประจำตัวได้

ทั้งนี้สำหรับเรื่อง การงดบริโภคน้ำประปาที่มีค่าคลอไรด์เกินมาตรฐาน ถือเป็นหนึ่งในเรื่องของ HQ : Health Quotient  คือ ความฉลาดในการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งคนที่มี HQ ดี จะรู้จักดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เช่น กินอาหารที่ดี ครบ 5 หมู่ ขับถ่ายดี ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายของตัวเอง ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มปลูกฝังและใส่ใจเรื่องสุขภาพ การดูแลร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันได้ทุกวัน เพื่อให้ลูกซึมซับและดูแลใส่ใจสุขภาพตัวเอง ซึ่งก็จะเป็นการสร้าง HQ ที่ดีในตัวลูกได้ ยิ่งในปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บมีเยอะขึ้น โรคใหม่ๆ แปลกๆ เชื้อโรคที่พัฒนาขึ้นจาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และมลภาวะต่างๆ เราจึงต้องสอนให้ลูกของเราฉลาดใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยต่างๆ รอบตัว เพราะการไม่มีโรค คือลาภอันประเสริฐนั่นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :  การประปานครหลวง,www.sanook.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เลือกน้ำดื่ม ให้ลูก ต้องรู้ให้จริง ถึงจะปลอดภัย!

ไขปัญหา! น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ ตากแดด..เป็นพิษหรือไม่?

น้ำสะอาดอากาศบริสุทธิ์ดีสำหรับลูกรัก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up