ช่วงนี้หลายพื้นที่ กทม. และ ปริมณฑล กำลังประสบปัญหา น้ำประปาเค็ม เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า ในช่วงน้ำทะเลหนุนทำให้น้ำประปาเค็มได้จริง ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ บ้านไหนที่มีกลุ่มเสี่ยง อาทิ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจต้องเพิ่มความระวังในการบริโภค
หมอชี้! น้ำประปาเค็ม ถึงเอาไปต้มก็ไม่หาย
สืบเนื่องจากประเด็น น้ำประปาเค็ม ที่คาดว่าหลายพื้นใน กทม.และปริมณฑล ต้องประสบตลอดเดือนกุมภาพันธ์ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดี กรมอนามัย ได้เปิดเผยว่า ในปีที่แล้วและปีนี้มีการคาดการณ์เรื่องภัยแล้งและน้ำหนุนสูงจากทะเลเข้าสู่ระบบน้ำดิบ จึงทำให้คุณภาพน้ำดิบที่นำมาผลิตประปาได้รับผลกระทบ ส่งผลให้น้ำประปามีระดับค่าของความเค็มที่เรียกว่า “กร่อย” เพิ่มมากขึ้น ผู้ที่บริโภคน้ำประปาเป็นประจำอาจจะรับรู้ถึงรสชาติที่เปลี่ยนไปจากปกติบ้าง โดยความเค็มดังกล่าวมาจากเกลือ โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงที่ใช้ปรุงอาหาร
โดย องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่าปกติของน้ำดื่มที่สามารถบริโภคได้ว่า ในน้ำประปาควรมีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และคลอไรด์ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ถ้าพบ โซเดียม และ คลอไรด์เจือปนในน้ำมากเกินไป จะทำให้น้ำมีรสกร่อยถึงเค็มได้ ซึ่งทางโภชนาการและการแพทย์แนะนำว่า ควรรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยปัจจุบันน้ำประปามีโซเดียมประมาณ 100–150 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนปกติจะดื่มน้ำประปาจนได้รับโซเดียมเกินกว่าที่กำหนด แต่การดื่มน้ำกร่อยอาจได้รับโซเดียมเพิ่มเติมจากปกติได้ จึงควรลดปริมาณสารปรุงแต่งอาหารที่มีความเค็มลง เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส ผงปรุงรส งดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ขนมกรุบกรอบ มันฝรั่งทอด เป็นต้น หรือเปลี่ยนเป็นใช้น้ำดื่มบรรจุขวดแบบปิดสนิทแทน และให้สำรองน้ำประปาในช่วงที่ภาวะน้ำปกติเพื่อใช้ทดแทนในช่วงภาวะน้ำประปาเค็ม
แพทย์เตือน ให้ลูกกิน น้ำแช่ทองคำ เพราะเชื่อว่าผิวสวย วาสนาดี แต่ผลอาจร้ายกว่าที่คิด
เตือนแม่! ใช้น้ำต้มเดือดหลายครั้งชงนมให้ลูก อาจเสี่ยงโรคร้าย
WHO เผย! ขั้นตอนและ วิธีการชงนม ล้าง ฆ่าเชื้อ ที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ หากนำน้ำประปาที่มีความเค็มไปต้มด้วยอุณหภูมิที่ 100 องศาเซลเซียส สิ่งที่จะระเหยไปคือน้ำ แต่ตัวเกลือนั้นไม่ได้ระเหยไปด้วย เพราะฉะนั้น การทำให้น้ำระเหยออกไปมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้สัดส่วนของความเค็ม หรือความกร่อยเพิ่มมากยิ่งขึ้น เช่น จากเดิมน้ำ 1 ลิตรมีเกลือ 200 มิลลิกรัม แต่เมื่อผ่านการต้มจนน้ำระเหย จะทำให้เหลือน้ำน้อยกว่า 1 ลิตร แต่มีเกลือ 200 มิลลิกรัมเท่าเดิม ดังนั้นการนำ น้ำประปาที่มีรสเค็มรสกร่อยไปต้มจึงไม่ช่วยให้น้ำหายเค็มได้
กลุ่มคนบางกลุ่มที่มีร่างกายไวต่อระดับเกลือโซเดียมที่เพิ่มขึ้น เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต ตลอดจนผู้ป่วยโรคทางสมอง และสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก ไม่ควรบริโภคเกลือ โซเดียมมากเกินไป และควรเพิ่มความระมัดระวังในการดื่มน้ำประปาช่วงนี้ หากร่างกายได้รับปริมาณเกลือและโซเดียมมากไป อาจจะส่งผลเสียกับภาวะของโรคที่เป็นอยู่ได้
ในส่วนของกลุ่มผู้ป่วยโรคไตที่รับบริการฟอกไตที่โรงพยาบาลไม่ต้องกังวล เนื่องจากโรงพยาบาลทุกแห่งมีระบบการกรองแบบ Reverse Osmosis (RO) ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ มั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัย
สำหรับความรู้เกี่ยวกับ น้ำประปาเค็ม น้ำประปากร่อย ก็เป็นหนึ่งในเรื่องของ การส่งเสริม ความฉลาดในการดูแลสุขภาพ (HQ) ด้วย Power BQ เช่น การปลูกฝังเรื่องการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ให้ลูกได้มีกิจกรรม หรือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายของตัวเอง เป็นต้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถปลูกฝังให้ลูกได้ทุกวันผ่านกิจวัตรประจำวันต่างๆ เพื่อให้ลูกซึมซับและใส่ใจสุขภาพตัวเอง ซึ่งก็จะเป็นการสร้าง HQ ที่ดีในตัวลูกได้อย่างยั่งยืน เมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่ ก็จะกลายเป็นเด็กที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพของตัวเองและคนรอบตัวในครอบครัวได้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.bangkokbiznews.com,www.thaihealth.or.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อันตรายจากสาร BPA ในขวดน้ำดื่ม ที่แม่ท้องต้องระวัง
เช็คด่วน! พื้นที่น้ำประปาเค็ม คลอไรด์สูงเกินมาตรฐาน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ งดบริโภค
10 ข้อดีของการ ดื่มน้ำตอนท้องว่าง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่