แม่ติดลูก

แม่ติดลูก หรือลูกติดคุณ 5 สัญญาณบอกที่คุณควรเช็ก

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ติดลูก
แม่ติดลูก

 

แม่ติดลูก

4 วิธีฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง

เพราะลูกไม่ใช่สมบัติของเรา วันนึงที่เขาโตขึ้นเขาก็จะต้องมีชีวิตเป็นของตัวเอง จริงอยู่แค่คิดก็ทำเอาใจหาย แต่ถ้าหากเราสามารถฝึกจิตใจของเราให้เข้มแข็งในวันนี้ อนาคตเราก็สามารถอยู่กับความจริงได้โดยที่ไม่รู้สึกเสียใจเลย และนี่คือวิธีฝึกจิตใจให้เข้มแข็งก่อนลูกห่างไกลยามพวกเขาโตโดย นายแพทย์อิทธิฤทธิ์ จากเพจ Dad Mom and Kids ค่ะ

1. ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติ คุณไม่มีสิทธิไปครอบครองความคิด หรือชีวิตของลูก คุณนัวเนียกับลูก ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมามาก นั่นถือเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่เมื่อถึงวัยที่คุณต้อง “กัดฟัน” ตีตัวออกห่างมาบ้าง คุณก็ต้องทำ เมื่อลูกอยู่ชั้นประมาณ ประถมศึกษาปีที่ 1 ตอนปลายเป็นต้นไป คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกมีอิสระได้บ้าง แน่นอนว่าคุณยังต้องเป็น “ผู้จัดการส่วนตัว” ในเรื่องส่วนใหญ่ของลูกอยู่ แต่ต้องห้ามใจไม่ไปผูกใจกับลูกมาก ๆ เรื่องไหนที่เขาต้องทำเองก็ต้องฝึกเขา เรื่องไหนที่พ่อแม่ยังคงต้องกำกับอยู่ ก็ยังต้องทำไป

2. เมื่อลูกเข้าวัยรุ่น กรุณาอย่าเป็นพ่อแม่ที่เอาแต่ใจตัวเอง พ่อแม่ที่ชอบลดตัวเป็นวัยรุ่น อยากไปไหนกับลูก อยากแสดงความรักกับลูกแบบที่อยากทำนั้นอาจไม่ใช่เรื่องที่ดีมากเท่าไหร่ คุณหมอเล่าว่า “ผมเคยเห็นคุณแม่ท่านหนึ่ง เมื่อเจอลูกชายวัยรุ่นก็วิ่งเข้าไปจับแก้ม แล้วดึงตัวมากอดพร้อมกับงอเข่ายกเท้าไปด้านหลัง แบบเดียวกับในหนังรักที่นางเอกดีใจเมื่อเจอคู่รัก ผมเห็นแล้วอึ้งไปประมาณสิบวิ โห… ต้องกอดลูกด้วยท่าทางน่ารักขนาดนั้นเลยเหรอ? ส่วนคุณลูกก็ได้แต่ทำหน้าแปลก ๆ แบบไม่รู้จะวางตัวยังไง หากอยากกอดหอมลูก อย่าทำนอกบ้านเลย วัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่ชอบ อย่าเป็นผู้ใหญ่ที่ทำอะไรตามใจตัวเอง เพราะพ่อแม่จะยิ่งเป็นทุกข์จากการที่ลูกวัยรุ่นเขาไม่เอาด้วยแล้ว”

3. หาเป้าหมายในชีวิตของคุณเอง หนึ่งปัญหาระดับโลก คือ คนทั่วไปไม่มีเป้าหมายของชีวิต อย่าคิดว่าแค่การมีงานทำ มีเงิน มีครอบครัว นี่คือจุดสูงสุดแล้ว คุณหมอกล่าวว่า จริง ๆ ไม่ใช่เลย มันเป็นแค่เหตุการณ์หนึ่งที่ต้องพบ และมันก็จะผ่านไป การหาเป้าหมายชีวิตถือว่าไม่ง่าย คนที่มีชีวิตเพื่อลูกอย่างเดียว มักจะติดลูกมากเกินไป และพอถึงวัยที่ลูกควรแยกออกไปได้ ก็มักทำใจไม่ได้ คนกลุ่มนี้มักทำทุกอย่างเพื่อให้ติดลูกต่อไปโดยไม่รู้ตัว ได้โปรดอย่าทำอย่างนั้น เพราะไม่มีใครรู้สึกสงบสุขเลย แถมยังเป็นการทำร้ายลูก ไปลดทอนศักยภาพลูกโดยไม่ได้ตั้งใจอีกด้วย ดังนั้น หาเป้าหมายในชีวิตของตนเองให้เจอ เมื่อชีวิตคุณมีเป้าหมาย คุณจะไม่ได้ติดลูกจนเกินไป

4. ฝึกตัวเองไม่ให้ติดลูกมากตั้งแต่ลูกยังเล็ก คุณหมอเล่าว่า ทั้งคุณหมอและภรรยานั้นรักไม่ได้รักลูกน้อยไปกว่าพ่อแม่ท่านไหน ๆ เลย แต่ทุกวันนี้เราต้องพยายามหาสมดุล เพื่อให้ลงตัวกับทั้งเราและลูก มันเป็นศิลปะที่ไม่ง่ายนักหรอก แต่หน้าที่ของพ่อแม่คือ ต้องทำให้ลูกก้าวออกไปยืนด้วยตัวเองให้ได้อย่างสง่างาม

ไม่มีใครหรอกที่ไม่รักลูก และไม่ต้องการที่จะเห็นลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา แต่ถ้าหากความรักและความเป็นห่วงนั้นมันมีมากเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะค่อย ๆ หยุดความห่วงที่มีมากเกินไป และค่อย ๆ เริ่มปล่อยให้ลูกได้รู้จักการใช้ชีวิต และมีความคิดเป็นของตัวเอง ด้วยการเฝ้าดูและห่วงใยลูกอยู่ห่าง ๆ ก็ได้นะคะ

เครดิต: นายแพทย์อิทธิฤทธิ์ จากเพจ Dad Mom and Kids

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up