อาการของโรค
ก่อนที่จะเกิดฝีในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการแบบปอดบวมทั่วไป 1-3 สัปดาห์ เมื่อมีฝีในปอดเกิดขึ้นผู้ป่วยจะไอ และมีเสมหะเป็นหนองจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น บ่อยครั้งมีเลือดปนด้วย ผู้ป่วยจะไข้ตลอดเวลา อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก
ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีฝีในปอดหนองอาจจะลุกลามเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด หรือถ้าฝีแตกเชื้อจะลุกลามเข้าไปตามกระแสเลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือถ้าเชื้อหลุดลอยเข้าไปในสมอง อาจเกิดฝีในสมองได้
วิํธีการรักษา
1.ฝึกการหายใจ โดยเน้นปอดบริเวณที่มีหนองให้มาก เพื่อเป็นการเพิ่มการขยายตัวของปอดส่วนนั้นได้อย่างเต็มที่
2.ทำ chest trunk mobilize คือ การหายใจเข้าออกพร้อมการขยับรยางค์บนอย่างเร็วๆ เพราหนองมีลักษณะเหนียวข้นกว่าเสมหะ การทำเร็วๆช่วยระบายหนองทางสายยางได้ดีขึ้น และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอก เพราโรคนี้มักเรื้อรังจนทำให้เกิดพังผืดยึดรั้ง ทำให้การขยายตัวของทรวงอกลดลง
3.Postural drainage คือการจัดท่าให้หนองไหลเข้าสู่ขวดระบายให้ได้มากที่สุด (ดังภาพ)
4.Percussion / vibration คือการเคาะปอดหรือการสั่นปอด เพื่อเป็นการเร่งระบายหนองออกทั้งนี้ สามารถรักษาทางกายภาพบำบัดโดยใช้หลายวิธีร่วมด้วย เช่น เคาะปอดในท่าที่ต้องระบาย เมื่อเคาะเสร็จให้ผู้ป่วยทำ chest trunk mobilize เพื่อเป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่คะ ในเมื่อมาถึงตอนนี้เราทราบกันแล้วถึงวิธีป้องกันไม่ให้ลูกหลานหรือแม้แต่ตัวเราเองต้องกลายเป็นเหยื่อของโรคดังกล่าวละก็ อย่าลืมนะคะ “ห้ามดมเห็ดสด และห้ามเข้าใกล้นกพิราบ โดยเด็ดขาดเลยละค่ะ
ขอบคุณที่มา: Khaosod และ firstphysioclinics
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- พ่อแม่ระวัง! โรคจูบ โรคติดต่อที่พบได้ในเด็กวัย 2 ปีขึ้นไป
- เตือนพ่อแม่! ร้อนนี้ระวังโรค พิษสุนัขบ้า ให้ดี
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่